ผู้เขียน หัวข้อ: หลากวิธี การหารอยรั่วของน้ำยาแอร์ในระบบปรับอากาศ  (อ่าน 5536 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การตรวจสอบด้วยก๊าซไนโตรเจน



วิธีทำนั้นคือการเติมสารความเย็นเข้าไปในระบบของเครื่องปรับอากาศเล็กน้อย จากนั้นเติมก๊าซไนโตรเจนแรงดันสูงจากไนโตรเจนเข้าสู่วงจรทำความเย็นที่มีแรงดันประมาณ 350 -400 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เพื่อหารอยรั่วโดยที่ไม่สิ้นเปลืองน้ำยาแอร์ซึ่งในการตรวจเช็คในลักษณะนี้จะทำได้โดยช่างผู้ชำนาญงานเท่านั้น

การตรวจสอบด้วยฮาไลด์ทอร์จ



วิธีนี้จะตรวจสอบรอยรั่วโดยการไล่ตามท่อ รอยต่อหรือส่วนต่างๆ ซึ่งหากเจอรอยรั่วต่างๆ จะทำให้เปลวไฟเย็นในในกระบอกฮาไลด์ทอร์จเปลี่ยนสี ซึ่งเช่นเดียวกันควรตรวจสอบด้วยช่างชำนาญการ

การตรวจสอบด้วยเครื่องอิเล็กทรอนิกส์

การตรวจหารอยรั่วที่มีระบบแสง และเสียงทำให้รอยรั่วตามท่อซึ่งหากพบระบบจะส่งสัญญาณเตือนด้วยเสียงหรือแสงให้ได้รับทราบ ซึ่งเป็นอีกการตรวจสอบที่ควรทำด้วยช่างผู้ชำนาญการ

การตรวจสอบด้วยฟองสบู่



การตรวจสอบทำได้ด้วยการใช้ฟองน้ำหรือแปรงทาสีซึ่งจุ่มฟองสบู่หรือน้ำยาล้างจานบนผิวท่อน้ำยาแอร์โดยเฉพาะรอยต่อเพื่อสังเกตว่ามีรอยรั่วหรือไม่ หากพบเจอรอยรั่วจะมีฟองอากาศผุดขึ้น ถ้ามีการรั่วซึมควรรีบแก้ไขและทิ้งเอาไว้สัก 2-3 ชั่วโมง จากนั้นตรวจสอบอีกครั้ง

การตรวจสอบด้วยวิธีการฟังเสียง
วิธีการนี้จะคล้ายๆ กับการอัดก๊าซไนโตรเจนเข้าไปในท่อแล้วหากมีเสียงลมออกมาแสดงว่าบริเวณดังกล่าวมีรอยรั่วในบริเวณดังกล่าวนั่นเอง

การตรวจสอบและแก้ไขการรั่วซึมของเครื่องปรับอากาศนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างที่จะต้องใช้ความรู้และความชำนาญของช่างผู้แก้ไขเป็นอย่างยิ่ง การปรับปรุงแก้ไขหรือตรวจหารายรั่วด้วยตัวเองนั้นอาจจะเกิดอันตรายขึ้นได้ เพราะหลายครั้งที่เราเคยได้ยินข่าวว่ามีการระเบิดหรือเกิดไฟฟ้าช๊อตได้ ฉะนั้นเราควรที่จะระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในการตรวจสอบ


ที่มา: http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%ab%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5-%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 พฤศจิกายน 2017, 14:08:42 โดย Master »

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอนในการเติมน้ำยาแอร์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2017, 02:15:57 »
ขั้นที่ 1 : ตรวจหารอยรั่วในระบบท่อน้ำยา

คนทั่วไปหลายคนเข้าใจว่าน้ำยาแอร์เมื่อใช้แอร์ไปก็จะหมดไปเรื่อย ๆ ความเข้าใจนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด น้ำยาแอร์เป็นก๊าซเฉื่อยชนิดหนึ่งและไม่สลายตัวโดยง่าย เมื่อถูกนำไปใช้ในวงจรทำความเย็น น้ำยาจะไหลวนเวียนอยู่ภายในระบบท่อน้ำยาไปเรื่อย ๆ ดังนั้นโอกาสเดียวที่น้ำยาแอร์จะหายไปก็คือเกิดการรั่วที่จุดใดจุดหนึ่งของท่อน้ำยา วิธีการหารอยรั่วของระบบท่อน้ำยาที่สะดวกและเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือการใช้น้ำสบู่ ลูบไปตามท่อตรงจุดที่เกิดการรัวก็จะเกิดฟองสบู่ขึ้น เมื่อพบจุดที่รั่วแล้วก็จะต้องอุดรอยรั่ว เช่น การเชื่อมอุดรอยรั่วนั้นเสีย


ขั้นที่ 2 : ดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบ (ช่างทั่วไปเรียกว่า แวค – Vac)

เมื่อทำการซ่อมรอยรั่วและมีการเชื่อม จะต้องปล่อยน้ำยาออกจากระบบและทำการดูดอากาศ, ความชื้นและอาจจะรวมถึงชี้เชื่อมออกโดยใช้ปั๊มสุญญากาศ (vacuum pump) โดยปกติจะใช้เวลาในการดูดอากาศนี้ไม่ต่ำกว่า ½ ชั่วโมง น้ำยาที่ใช้กับเครื่องแอรเรียกว่า R-22 ส่วนที่ใช้กับตู้เย็นและเครื่องทำความเย็นที่มีอุณหภูมิต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออุณหภูมิใช้งานต่ำกว่า ซึ่งไม่เหมาะที่จะใช้ R-22 ก็จะเป็น R-12 หรือ R-502 น้ำยา R-22, R-12 และ R-502 มีคุณสมบัติในการดูดซับความชื้นไว้ ดังนั้นในระบบท่อน้ำยาจึงต้องมีอุปกรณ์ในการดูดความชื้น (drier) เพื่อดูดความชื้นออกจากน้ำยา ไม่เช่นนั้นความชื้นเหล่านี้อาจจะจับตัวเป็นเกล็ดน้ำแข็งอยู่ภายในระบบท่อ และขัดขวางการไหลของน้ำยาได้เมื่อต้องไล่น้ำยาเก่าทิ้งและต้องเติมน้ำยาใหม่จึงจะต้องเปลี่ยนไดร์เออร์ด้วยไดร์เออร์จะมีลักษระเป็นกระเปราะรูปทรงกระบอก อยู่ทางด้านท่อที่เรียกว่า liquid line (ท่อทองแดงท่อเล็ก) และอยู่ระหว่างเครื่องระบายความร้อนและเครื่องแผนคอยล์ภายในห้อง


ขั้นที่ 3 : การเติมน้ำยา

อุปกรณ์ในการเติมน้ำยาที่จะขาดไม่ได้คือชุดเกจวัดหรือ gauge manifold ซึ่งประกอบด้วย compound pressure gauge 1 ตัว high pressure gauge 1 ตัว และชุดวาล์วปิดเปิดทางด้าน low 1 ตัว ทางด้าน high 1 ตัว และสายอ่อนพร้อมจุดต่อสายย้อน 3 ชุด ชุด gauge manifold นี้ ใช้ตั้งแต่ขั้นที่ 2 – การดูดอากาศและความชื้นจนถึงขั้นที่ 3 นี้ ในการเติมน้ำยา ในการเติมน้ำยามักจะนิยมเติมในสภาพของน้ำยาที่เป็นก๊าซ ก่อนเติมน้ำยาเข้าระบบจะต้องเปิดน้ำยาจากถัง เพื่อไล่อากาศและความชื้นออกจากชุด gauge manifold และสายย้อนก่อน แล้วจึงขันหัวสายอ่อนเข้ากับจุดต่อเติมน้ำยาที่คอมเพรสเซอร์ (ถ้าคอมเพรสเซอร์ขนาดใหญ่จะมีวาล์วบริการที่เรียกว่า service valve อยู่ แต่ถ้าเป็นคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็ก อาจจะมีลักษณะเป็นเพียงท่อทองแดงโผล่ปลายออกมาเท่านั้น) การเติมน้ำยาเริ่มต้นด้วยการเปิดวาล์วที่ถังน้ำยา ปิดวาล์วทางด้าน high และเปิดวาล์วทางด้าน low ของชุด gauge manifold ชั่งน้ำหนักของถังน้ำยาแล้วบันทึกไว้ หลังจากนั้นจึงเริ่มเดินเครื่องคอมเพรสเซอร์จะดูดน้ำยาในสภาพของก๊าซเข้าสู่ระบบ หากต้องการจะให้น้ำยาเติมเข้าระบบเร็วขึ้น อาจจะใช้ถังน้ำยาแช่ในน้ำร้อนเพื่อช่วยให้น้ำยาระเหยเร็วขึ้น (แต่ไม่ควรจะใช้ไฟลนเพราะอันตรายมาก) และหากอากาศร้อนก็อาจจะใช้น้ำรดลงบนคอยล์ร้อนเพื่อช่วยลดความดันน้ำยาในคอยล์ร้อย ทำให้แรงดูดน้ำยาของคอมเรสเซอร์ดีขึ้น ไม่ควรคว่ำถังน้ำยาเอาหัวลงเพื่อช่วยเร่งการเติมน้ำยา เพราะน้ำยาในสภาพของเหลวจะเข้าคอมเพรสเซอรืและอาจจะทำให้ลิ้นคอมเพรสเซอร์ชำรุดได้ การเติมน้ำยาเข้าทางด้าน high ไม่เหมาะกับคอมเพรสเซอร์ชนิด hermetic ที่มีมอเตอร์อยู่ภายในคอมเพรสเซอร์ เพราะการเติมน้ำยาเข้าทางด้านดูดหรือ low ของคอมเพรสเซอร์ จะช่วยระบายความร้อนจากการเดินคอมเพรสเซอร์ แต่การเติมทางด้าน high น้ำยาไม่สามารถช่วยระบายความร้อนได้ การดูว่าน้ำยาเติมพอหรือยัง ให้บิดวาล์วทั้ง low และ high และดูความดันน้ำยา ซึ่งเทียบได้จากตารางที่ 1 ต่อไปนี้ หรืออาจจะดูจากสเปคเครื่องที่มักจะบอกปริมาณการเติมน้ำยาเป็นน้ำหนัก โดยดูน้ำหนักของถังน้ำยาที่ชั่งได้ลดลงจากที่บันทึกไว้เรื่อเริ่มเติมน้ำยานอกจากนี้ยังสังเกตได้จากคอยล์เย็นว่า “ฉ่ำ” มีน้ำเกาะทั่วหรือไม่ได้อีกด้วย

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%82%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%80%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%a1%e0%b8%99%e0%b9%89%e0%b8%b3%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการซ่อมเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศ สิ่งหนึ่งที่ช่างควรระวังเป็นอย่างยิ่งคือ อย่าให้ภายในระบบมีความชื้น (Moisture) หลงเหลืออยู่เป็นอันขาด เพราะจะทำให้ผลความเย็นของระบบไม่ดีเท่าที่ควร ถ้ามีความชื้นอยู่ในระบบมากจะทำให้เกิดการอุดตันความชื้นขึ้นภายในระบบได้

การทำสุญญากาศในระบบก่อนชาร์จสารความเย็นใหม่ นอกจากจะเป็นการดูดเอาอากาศภายในระบบออกให้หมดแล้ว ยังเป็นการดูดเอาความชื้นออกมาให้หมดอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก ฉะนั้นการทำสุญญากาศที่ดีจึงควรทำให้นาน ๆ อย่างน้อยที่สุดต้องไม่น้อยกว่า 30 นาทีหรือ 1 ชั่วโมง

เมื่อมีการถอดอุปกรณ์ใด ๆ ของระบบเครื่องทำความเย็นออกซ่อมหรือเปลี่ยน หรือติดตั้งเครื่องปรับอากาศใหม่ จะทำให้ไอน้ำในอากาศเข้าไปในระบบได้ เพราะอากาศจะมีไอน้ำหรือความชื้นผสมอยู่ ฉะนั้นจึงต้องใช้เทปหรือฝาครอบปิดส่วนปลายที่เปิดออกของระบบ และส่วนที่เปิดออกของอุปกรณ์ที่ปลดออกทันที

ถ้ามีความชื้นเหลืออยู่ในระบบมากเกินกว่าที่ดรายเออร์จะดูดรับไว้ได้ นอกจากจะทำให้ผลความเย็นของระบบน้อยลงแล้ว ยังทำให้เกิดอันตรายกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบอีกด้วย เพราะในทางเคมีสารความเย็นบางชนิด เช่น R-12, R-22 เมื่อผสมกับน้ำแล้วจะทำให้เกิดกรดไฮโดรคลอริกและความร้อนที่เกิดขึ้นภายในระบบจากการทำงานของคอมเพรสเซอร์ ก็จะช่วยเร่งให้เกิดกรดได้เร็วขึ้น

กรดที่เกิดนี้จะกัดทำลายส่วนที่เป็นโลหะของระบบเครื่องทำความเย็นทั้งหมด เช่น เหล็ก ทองแดง และอะลูมิเนียม ทำให้เกิดเป็นออกไซด์ (Oxide) ของโลหะนั้น ๆ ภายในระบบ และจะเกิดการอุดตันที่ตะแกรงของเอกซ์แพนชันวาล์วหรือทางเข้าของคอมเพรสเซอร์

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%8a%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%a0%e0%b8%b2%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b8%a1%e0%b8%b5%e0%b8%9c%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%97%e0%b8%9a%e0%b8%95%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%a1%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%81%e0%b8%a7%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b5%e0%b9%88%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ข้อมูลการทำสุญญากาศระบบ หรือการทำแวคคั่ม
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2017, 15:58:39 »
การทำสุญญากาศระบบ (Evacuating the System) หรือที่เรียกว่า “การทำแวคคั่ม” จะกระทำภายหลังจากการตรวจรั่วระบบ แต่ต้องทำก่อนที่จะชาร์จสารความเย็นเข้าในระบบ การทำสุญญากาศเป็นการใช้เครื่องปั๊มสุญญากาศ (Vaccum Pump) ดูดเอาอากาศและความชื้นภายในระบบออกให้หมด ถ้าเป็นระบบเก่าก็รวมถึงการขจัดเอาสารความเย็นที่เสื่อมคุณภาพแล้วออกจากระบบ เพื่อให้แน่ใจว่าภายในระบบเป็นสุญญากาศอย่างแท้จริง

เครื่องมือและเครื่องวัดที่จำเป็นต้องใช้ในการทำสุญญากาศระบบประกอบด้วย เครื่องปั๊มสุญญากาศและเครื่องวัดสุญญากาศที่เที่ยงตรง ไม่ควรใช้คอมเพรสเซอร์เป็นเครื่องปั๊มสุญญากาศหรือใช้คอมเพรสเซอร์ของระบบทำสุญญากาศด้วยตัวเอง เพราะถ้าทำสุญญากาศได้ไม่ถึงระบบแล้ว จะเกิดปัญหาต่อระบบเครื่องทำความเย็นขึ้นภายหลัง

ในขณะที่กำลังทำสุญญากาศระบบ

-ค่าความดันของเกจวัดความดันต่ำจะอ่านค่าได้ต่ำกว่า 0 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เกจจะแสดงค่าให้ทราบว่าในระบบเป็นสุญญากาศ ซึ่งเข้าใจได้อย่างง่าย ๆ ว่าความดันในระบบขณะนี้ต้องน้อยกว่าค่าความดันบรรยากาศ
-เห็นได้อย่างชัดเจนว่าในการทำสุญญากาศนั้น อากาศถูกดูดออกจากระบบ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดของการทำสุญญากาศก็คือ ต้องดูดเอาความชื้นออกจากในระบบให้หมดเช่นกัน ดังได้กล่าวแล้วแล้วว่า การลดความดันที่ผิวหน้าของของเหลว จะทำให้จุดเดือดของของเหลวนั้นลดต่ำลงด้วยกรณีของเหลว เช่น น้ำ เมื่อถูกลดความดันที่ผิวหน้า จุดเดือดของน้ำจะลดต่ำลง ฉะนั้นแม้ว่าจะมีความชื้นอยู่ในระบบเครื่องทำความเย็น เมื่อระบบถูกทำสุญญากาศ ความดันในระบบจะลดต่ำลงความชื้นที่เหลืออยู่ในระบบจะถูกเปลี่ยนสถานะง่ายเข้า
-ขณะที่ระบบใกล้สุญญากาศหรือที่ความสูงของปรอทใกล้ 29 นิ้วปรอท น้ำจะมีจุดเดือดที่ -17.77 องศาเซลเซียส นี่เป็นข้อยืนยันอย่างแน่นอนว่า ในการทำสุญญากาศระบบ ถ้าใช้เวลาเพียงพอและเครื่องปั๊มสุญญากาศมีขีดความสามารถดีพอแล้ว ความชื้นในระบบจะถูกดูดปนออกมาหมดด้วย
-ถ้าเครื่องปั๊มสุญญากาศมีขีดความสามารถดีพอ ทำสุญญากาศได้ถึง 29 นิ้วปรอทแล้ว การทำสุญญากาศของระบบสามารถใช้เวลาน้อยลงได้ แต่ถ้าเครื่องปั๊มสุญญากาศมีขีดความสามารถน้อยกว่า ก็จำเป็นต้องใช้เวลาในการทำสุญญากาศนานหน่อย อย่างไรก็ตาม เครื่องปั๊มสุญญากาศต้องทำสุญญากาศได้ถึง 28 นิ้วปรอทเป็นอย่างน้อย จึงจะสามารถทำให้ภายในระบบไม่มีความชื้นหลงเหลืออยู่เลย



ในระหว่างการทำสุญญากาศ
-สามารถตรวจรั่วระบบได้ด้วยโดยการปิดวาล์วทั้งสองของเกจแมนิโฟลด์ ซึ่งขณะนี้เครื่องปั๊มสุญญากาศจะถูกตัดออกจากระบบ ให้สังเกตค่าความดันที่อ่านได้บนเกจวัดความดันด้านต่ำ ทิ้งไว้ประมาณ 5 นาที ถ้าค่าความดันสูงขึ้นกว่าเดิมเกินกว่า 1 นิ้วปรอท แสดงว่าจะต้องมีการรั่วที่ใดที่หนึ่งของระบบ ถ้าค่าความดันเกจคงอยู่ที่เดิม แสดงว่าระบบไม่รั่วให้เปิดวาล์วทั้งคู่ของเกจแมนิโฟลด์อีกครั้งหนึ่ง และเดินเครื่องปั๊มสุญญากาศต่อ เมื่อระบบทำสุญญากาศเรียบร้อยแล้ว ก็พร้อมที่จะชาร์จสารความเย็นเข้าในระบบต่อไป ในการหยุดการทำสุญญากาศ ต้องปิดวาล์วทั้งคู่ของเกจแมนิโฟลด์ให้อยู่ในตำแหน่งปิด ก่อนหยุดเครื่องปั๊มสุญญากาศแล้วจึงปลดสายกลางของเกจแมนิโฟลด์ที่ติดอยู่กับเครื่องปั๊มสุญญากาศออกอีกทางหนึ่ง

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b8%b9%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a1/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ขั้นตอน วิธีการทำสุญญากาศระบบ
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: 25 พฤศจิกายน 2017, 16:11:40 »
ขั้นตอนการทำสุญญากาศระบบ ควรกระทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
1.ต่อชุดเกจแมนิโฟลด์เข้ากับวาล์วบริการ
2.เปิดวาล์วทั้งคู่ของเกจแมนิโฟลด์ (ทวนเข็มนาฬิกา)
3.ต่อสายท่อกลางของเกจแมนิโฟลด์เข้ากับปั๊มสุญญากาศ
4.เดินเครื่องปั๊มสุญญากาศ
5.เข็มความดันของเกจวัดความดันต่ำเริ่มลดต่ำกว่าตำแหน่ง 0 (ส่วนเกจวัดความดันสูงจะไม่สามารถอ่านค่าได้)
6.เมื่อเข็มของเกจวัดความดันต่ำอ่านค่าถึง -29-92 นิ้วปรอท ให้เดินเครื่องปั๊มสุญญากาศต่อไปอีกอย่างน้อย 20 นาที
7.ถ้าเข็มของเกจวัดความดันต่ำไม่สามารถลดลงถึง -29.92 นิ้วปรอท ให้ทำการตรวข้อต่อต่าง ๆ ใหม่ทั้งหมด
8.ถ้าค่าเกจทางสุญญากาศที่อ่านได้ไม่ป็นที่น่าพอใจ ให้หมุนวาล์วทั้งคู่ของเกจแมนิโฟลด์อยู่ในตำแหน่งปิด
9.ถ้าค่าความดันสูงขึ้น (แต่ยังต่ำกว่า 0 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) แสดงว่าระบบรั่ว ให้หยุดเครื่องปั๊มสุญญากาศ แล้วค้นหาที่รั่วและซ่อมใหม่ ถ้าค่าเกจทางสุญญากาศคงที่อยู่ ในขณะที่วาล์วทั้งคู่ของเกจแมนิโฟลด์อยู่ในตำแหน่งปิด แสดงว่าปั๊มสุญญากาศไม่ดีพอ
10.ภายหลังจากเดินเครื่องปั๊มสุญญากาศ 20-30 นาทีแล้ว ปิดวาล์วทั้งคู่ของเกจแมนิโฟลด์
11.หยุดเครื่องปั๊มสุญญากาศ
12.ขณะนี้ระบบทำสุญญากาศเรียบร้อย พร้อมที่จะชาร์จสารความเย็นเข้าในระบบต่อไป




ในการทำสุญญากาศระบบ ควรทำตามลำดับขั้นตอนที่ให้ไว้ เพราะถ้าปฏิบัติสลับหรือข้ามขึ้นแล้วอาจก่อให้เกิดผลเสียหายได้ เช่น ถ้าหยุดเครื่องปั๊มสุญญากาศ (ข้อที่ 11) ก่อนปิดวาล์ว A และวาล์ว B ของเกจแมนิโฟลด์ (ข้อที่ 10) แล้ว ความดันของอากาศภายนอกระบบจะดันย้อนกลับเข้าในระบบ โดยเข้าทางลิ้นของเครื่องปั๊มสุญญากาศ ทำให้ภายในระบบไม่เป็นสุญญากาศอย่างแท้จริง ขั้นตอน วิธีการทำสุญญากาศระบบ

ในทางปฏิบัตินั้น ถ้าจะให้ดีและใช้เวลาน้อยกว่าควรใช้วิธีอัดสารความเย็นในสถานะที่เป็นแก๊สอัดปน-ดูดออก (Dilution Method) โดยให้ปฏิบัติตามข้อที่ 1-4 แล้วปิดวาล์ว A และวาล์ว B ของเกจแมนิโฟลด์ หยุดเครื่องปั๊มสุญญากาศแล้วปลดปลายสายกลางของเกจแมนิโฟลด์จากเครื่องปั๊มสุญญากาศไปต่อเข้ากับท่อสารความเย็น เปิดวาล์วท่อสารความเย็น ไล่อากาศในสายโดยคลายหัวสายกลางทางด้านเกจแมนิโฟลด์เล็กน้อย ปล่อยให้สารความเย็นในท่อไล่อากาศในสายทิ้งแล้วจึงขันให้แน่นดังเดิม เปิดวาล์ว A อัดสารความเย็นเข้าในระบบเล็กน้อย ปิดวาล์ว A และวาล์วท่อสารความเย็น เริ่มการทำสุญญากาศระบบใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยวิธีนี้จะช่วยให้ความชื้นที่หลงเหลืออยู่ในระบบถูกสารความเย็นดูดซับไว้ และถูกเครื่องปั๊มสุญญากาศดูดออกอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำสุญญากาศระบบได้


ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%82%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%99%e0%b8%95%e0%b8%ad%e0%b8%99-%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การตรวจสอบหารอยรั่ว (Leak Detecting)
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2017, 00:19:33 »
การตรวจสอบเพื่อหารอยรั่วในระบบสามารถทำได้ 2 วิธี คือ

วิธีลดความดันในระบบให้ต่ำกว่าบรรยากาศ

วิธีลดความดันในระบบให้ต่ำกว่าบรรยากาศ (vacuum method) เป็นวิธีการปฏิบัติเพื่อตรวจสอบระบบว่ามีการรั่วหรือไม่เท่านั้น แต่ไม่สามารถหาตำแหน่งที่เกิดการรั่วได้ เป็นการปฏิบัติในช่วงการทำสุญญากาศซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.ใช้เครื่องทำสุญญากาศดูดอากาศออกจากระบบจนเกจสุญญากาศชี้ที่ 30 นิ้วปรอท

2.ปิดวาล์วควบคุมที่เกจแมนิโฟลด์ทั้งสองด้าน หยุดเครื่องทำสุญญากาศ สังเกตดูเข็มชี้ที่สุญญากาศถ้าความดันสูงขึ้นแสดงว่ามีการรั่วในระบบ

3.หาจุดที่รั่วโดยใช้วิธีเพิ่มความดันในระบบให้สูงกว่าบรรยากาศ


วิธีเพิ่มความดันในระบบให้สูงกว่าบรรยากาศ (pressure method) ซึ่งสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
1.ใช้แก๊สเฉื่อย (inert gas) เช่น ไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์อัดเข้าในระบบ โดยปรับผ่านวาล์วควบคุม (pressure regulator) ให้ได้ความดันประมาณ 150 psig โดยจะต้องติดตั้งวาล์วระบาย (relief valve) เมื่อความดันสูงเกิน โดยตั้งให้ระบายแก๊สออกที่ความดันประมาณ 175 psig เพื่อป้องกันอันตรายเนื่องจากความดันเข้าในระบบสูงเกิน เนื่องจากแก๊สทั้งสองถูกอัดมาด้วยความดันสูงมาก เช่น ไนโตรเจนจะมีความดันในถังถึง 2000 psig หรือคาร์บอนไดออกไซด์ในถังจะถูกอัดด้วยความดันประมาณ 800 psig หลังจากนั้นใช้น้ำสบู่ (soap solutions) ตรวจสอบตามข้อต่อหรือรอยเชื่อมต่าง ๆ ถาระบบรั่วจะทำให้สบู่เกิดฟอง

2.ใช้สารทำความเย็น (refrigerant) เช่น R-12 หรือ R-22 อัดเข้าในระบบแทนไนโตรเจน แต่เนื่องจากสารทำความเย็นมีราคาแพงมาก จึงควรอัดเข้าในระบบให้ได้ความดันประมาณ 40 psig และใช้น้ำสบู่หรือเครื่องตรวจหารอยรั่วแบบตะเกียงแก๊ส (halide troch-leak detector) หรือเครื่องตรวจหารอยรั่วแบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic-leak detector) ตรวจหาตำแหน่งที่เกิดรอยรั่ว คือถ้ามีการรั่วจะทำให้เปลวไฟของตะเกียงแก๊สเปลี่ยนสี หรือทำให้ความถี่ของเสียงในเครื่องตรวจหารอยรั่วแบบอิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนไป

3.ใช้แก๊สเฉื่อยผสมกับสารทำความเย็น โดยการใช้ไนโตรเจนหรือคาร์บอนไดออกไซด์อัดเข้าในระบบ ผสมสารทำความเย็นประมาณ 10% เพื่อความประหยัด เมื่อได้ความดันในระบบประมาณ 150 psig จึงใช้น้ำสบู่ เครื่องตรวจหารอยรั่วแบบตะเกียงแก๊สหรือแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถหารอยรั่วได้ เนื่องจากมีสารทำความเย็นผสมอยู่ ถ้ามีการรั่วจะทำให้เปลวไฟเปลี่ยนสีหรือทำให้เกิดเสียงเตือนในเครื่องตรวจหารอยรั่วได้เช่นเดียวกัน

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%aa%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7-leak-detecting/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การทำสุญญากาศ และการตรวจหารอยรั่ว
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2017, 12:39:36 »
การทำสุญญากาศในระบบ (evacuating the system) คือการใช้เครื่องทำสุญญากาศดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบ เพื่อให้ภายในระบบเกิดเนื้อที่ว่างที่จะใช้บรรจุสารทำความเย็นและเพื่อไม่ให้มีอากาศหรือความชื้นปนอยู่ในระบบ ดังนั้นหลังจากเครื่องทำความเย็นหรือเครื่องปรับอากาศถูกประกอบขึ้นใหม่ มีการตรวจซ่อมหรือติดตั้งใหม่ ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวมีโอกาสที่จะทำให้อากาศและความชื้นเข้าไปในระบบได้ จึงต้องมีการทำสุญญากาศทุกครั้งก่อนเติมสารทำความเย็นเข้าในระบบ


เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องทำสุญญากาศ
เนื่องจากในระบบทำความเย็นที่ผ่านการตรวจซ่อม ประกอบ หรือทำการติดตั้งใหม่ จะมีอากาศและความชื้นอยู่ภายในระบบ ซึ่งทั้งอากาศและความชื้นที่อยู่ในระบบมีผลต่อการทำงานดังนี้

1. ผลของอากาศที่ปนอยู่ในระบบ จะทำให้เนื้อที่ว่างที่จะบรรจุสารทำความเย็นเสียไป จึงไม่สามารถเติมสารทำความเย็นเข้าระบบได้เต็มตามกำหนด และเนื่องจากอากาศซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจน (N2) และออกซิเจน (O2) ซึ่งเป็นแก๊สที่ไม่สามารถกลั่นตัวเป็นของเหลวได้ (noncondensable gas) ในสภาพความดันและอุณหภูมิทำงานปกติของระบบทำความเย็น ดังนั้นอากาศที่ปนอยู่ในระบบจะทำให้เกิดความดันสูงผิดปกติได้ในขณะทำงาน

2. ผลของความชื้น ซึ่งอาจจะปนอยู่ในระบบในลักษณะที่เป็นไอน้ำปนอยู่ในอากาศ หรืออยู่ในสภาวะของน้ำปนอยู่ภายในระบบ ซึ่งจะมีผลต่อการทำงานของระบบทำความเย็น คือ ความชื้นอาจกลายเป็นน้ำแข็งอุดตันที่ลิ้นลดความดันหรือท่อรูเข็มได้ นอกจากนี้ไฮโดรเจน (H2) จากน้ำจะทำปฏิกิริยากับคลอรีน (Cl) จากสารทำความเย็นเกิดเป็นกรดเกลือ (hydrochioric acid-HCl) กัดท่อทางเดินของสารทำความเย็นและอุปกรณ์ภายในระบบ โดยเฉพาะจะทำให้ฉนวนที่เคลือบขดลวดของมอเตอร์สำหรับขับคอมเพรสเซอร์ไหม้ได้



เครื่องทำสุญญากาศ (vacuum pump)
เครื่องทำสุญญากาศ คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับดูดอากาศและความชื้นออกจากระบบผ่านเกจแมนิโฟลด์และวาล์วบริการที่ติดตั้งในระบบ ที่ใช้ทั่วไปมี 2 แบบ คือ

1. เครื่องทำสุญญากาศแบบมาตรฐานหรือชนิดแวคชั้นเดียว (standard vacuum pump-single stage) ใช้สำหรับเครื่องทำความเย็นขนาดเล็กทั่วไป ทำสุญญากาศได้ไม่ดีนัก จึงควรทำสุญญากาศโดยใช้วิธีทำซ้ำหลายครั้ง คือ ทำสุญญากาศจนความดันลดลงต่ำสุดเท่าที่จะสามารถทำได้ เติมสารทำความเย็นเข้าในระบบให้ได้ความดันประมาณ 0 psig หลังจากนั้นให้ทำสุญญากาศใหม่สลับจนครบ 3 ครั้งจึงจะได้สุญญากาศที่สมบูรณ์ เราเรียกการทำสุญญากาศวิธีนี้ว่า triple evacuating method

2. เครื่องทำสุญญากาศกำลังสูงหรือชนิดแวคสองชั้น (high vacuum pump-two stage) คือเครื่องที่ทำสุญญากาศได้ต่ำมาก (deep vacuum) คือทำสุญญากาศได้ถึง 500 ไมครอน (0.5 มม.ปรอท) หรือต่ำกว่าซึ่งต่ำพอที่จะทำให้ความชื้นในระบบเดือดกลายเป็นไอและถูกดูดออกจากระบบได้ จึงสามารถทำสุญญากาศได้โดยวิธีการทำเพียงครั้งเดียว (deep vacuum method)


ข้อสังเกต

1. ขณะเดินเครื่องทำสุญญากาศ ถ้าเข็มชี้ที่เกจสุญญากาศลดค่าจาก 0 นิ้วปรอท ถึง 30 นิ้วปรอททันที แสดงว่ามีการอุดตันที่สายน้ำยาหรือวาล์วบริการในระบบยังปิดอยู่ หรือกรณีที่วาล์วบริการในระบบเป็นชนิดวาล์วลูกศร อาจจะเกิดจาดการต่อสายน้ำยาสลับด้าน ให้ทำการตรวจสอบก่อน ตรงกันข้ามถ้าเดินเครื่องทำสุญญากาศเป็นเวลานาน แต่ไม่สามารถดึงความดันในระบบให้เป็นสุญญากาศได้ แสดงว่าอาจมีการรั่วที่ส่วนหนึ่งส่วนใด ให้ทำการตรวจหารอยรั่วก่อน

2. ในกรณีที่ในระบบมีความชื้นสูง ขณะทำสุญญากาศควรทำการอบหรือให้ความร้อนกับระบบโดยใช้หลอดไฟหรือขดลวดความร้อนช่วยเพิ่มอุณหภูมิเพื่อไล่ความชื้นในระบบ ซึ่งจะทำให้เราใช้เวลาในการทำสุญญากาศน้อยลง แต่ห้ามใช้เปลวไฟจากหัวเชื่อมเป็นตัวช่วยเพิ่มอุณหภูมิ

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%ab%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การไล่อากาศ หรือแวคคั่ม โดยใช้สารทำความเย็น
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2017, 13:06:12 »
การทำแวคคั่มมีหลายวิธีมากมาย แต่วิธีที่ถูกต้องที่สุดคือการใช้เครื่องแวคคั่มปั๊มดูดอากาศ และความชื้นออก ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างนานในการติดตั้ง แต่ก็มีวิธีอื่นๆอีก เช่นการไล่อากาศออกโดยใช้น้ำยาแอร์ หรือสารทำความเย็นเป็นตัวจัดการ แต่ถึงอย่างไรก็ไม่แนะนำให้ทำวิธีนี้ เพราะไม่มีมาตรฐานออกมายืนยัน แต่เพียงเป็นเทคนิคเฉพาะช่างเท่านั้น

 เทคนิคนี้ เป็นวิธีลัดในการติดตั้งแอร์ ประหยัดเวลา แต่ก็มีข้อจำกัด ทำให้ช่างแอร์นิยมใช้กับเครื่องปรับอากาศแบบใหม่เอี่ยม ไม่เคยติดตั้งมาก่อน รวมไปถึงท่อทางเดินน้ำยาต่างๆ ก็ต้องใหม่เช่นกัน

 การไล่อากาศด้วยสารทำความเย็น ทำหลังจากมีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเสร็จแล้ว ช่างแอร์จะทำการเปิดวาวล์ของท่อดิสขาร์จ แล้วให้แรงดันนองน้ำยาแอร์ไหลเข้าระบบ แล้วทำการต่อเกจ์ของท่อทางอัดเพื่อควบคุมการปล่อยน้ำยาแอร์สู่ภายนอก จะเกิดความแตกต่างของแรงดันภายนอกและภายใน ทำให้น้ำยาแอร์ที่ไหลออกมาภายนอก นำพาอากาศจากภายในออกมาด้วย

 จะทำเป็นจังหวะจนกว่าอากาศจะหมดหรือเหลือน้อยที่สุด ซึ่งสารทำความเย็นที่ใช้ไล่อากาศนั้น จะติดมากับคอมเพรสเซอร์ตั้งแต่ติดตั้งอยู่แล้ว แต่ว่าการทำแวคคั่มด้วยวิธีนี้ อากาศจะออกทั้งหมดก็จริง แต่ความชื้นจะยังคงเหลืออยู่บางส่วน และก็จะถูกดูดด้วย ดรายเออร์ฟิลเตอร์ ที่อยู่ในระบบแอร์ ทำให้แอร์ใหม่ หากวแคคั่มด้วยวิธีนี้ แทบจะไม่มีปัญหาการใช้งานในระยะยาว

 แต่ที่ห้ามก็คือ หากเป็นแอร์มือ 2 หรือแอร์ที่เคยติดตั้งมาก่อน รวมไปถึงชุดอุปกรณ์ ท่อน้ำยา คอมเพรสเซอร์ หรืออะไหล่แอร์ หรือการดัดแปลงท่อน้ำยา จะไม่ควรทำการแวคคั่มแบบนี้อย่างยิ่ง เพราะจะเกิดปัญหามากมาย จากความชื้นในระบบที่ดูดออกไม่หมด

 วิธีนี้ ยังใช้ได้กับแบบ R-22 เท่านั้น ไม่สามารถใช้กับแอร์รุ่นใหม่ๆได้ ยิ่งระบบ R-410a หรือ Inverter แล้วนั้น ห้ามทำเด็ดขาด


ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8-%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b9%81%e0%b8%a7%e0%b8%84%e0%b8%84%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a1-%e0%b9%82%e0%b8%94%e0%b8%a2%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b9%80%e0%b8%a2%e0%b9%87%e0%b8%99/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
วิธีการทำสุญญากาศระบบ เพื่อตรวจการรั่ว
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: 26 พฤศจิกายน 2017, 13:08:31 »
การติดตั้งหรือซ่อมแซมอะไหล่แอร์ชิ้นในก็ตามในเครื่องทำความเย็น จะต้องมีการเช็ครอยรั่วของระบบก่อนการเปิดใช้งานใหม่เสมอ เพื่อให้แน่ใจว่า ข้อต่อต่างๆไม่มีรอยรั่ว

การตรวจรอยรั่วโดยใช้สุญญากาศ ทำได้โดยหลังจากระบบเป็นสุญญากาศแล้ว ให้ปิดวาล์วเกจแมนิโฟลด์ทิ้งไว้ซัก 8-24 ชั่วโมง แล้วลองดูเข็มที่หัวเกจ์ ว่าสูงขึ้นไหม ถ้าเข็มเกจ์สูงขึ้นแสดงว่าระบบมีการรั่ว จำเป็นต้องแก้ไข แต่หากเกจ์ไม่สูงขึ้น แสดงว่าเกจ์ไม่รั่ว สามารถเติมน้ำยาแอร์เข้าระบบได้เลย

วิธีแบบนี้สามารถใช้ได้ในระบบงานของเครื่องปรับอากาศที่มีขนาดใหญ่ๆ ไม่นิยมทำกับแอร์บ้านเล็กๆ เพราะว่าหากพบว่าระบบรั่วแล้วอาจต้องเสียเวลาตามหารอยรั่วอีกที ทำให้เสียเวลามาก

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%97%e0%b8%b3%e0%b8%aa%e0%b8%b8%e0%b8%8d%e0%b8%8d%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a-%e0%b9%80%e0%b8%9e%e0%b8%b7%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
หลักการนี้ใช้วิธีอัดแก๊สเข้าสู่ระบบ เช่น แก๊สไนโตรเจน หรือฟรีออนอัดเข้าสู่ระบบ โดยมีการอัด 3 ครั้ง เพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าอัดทีเดียวรวบรัด อาจทำให้ความดันในระบบเกิด และอาจเกิดระเบิดได้

ครั้งที่ 1 อัดแก๊สเข้าระบบ 20 – 30 ปอนด์/ตารางนิ้ว
ครั้งที่ 2 อัดแก๊สเข้าระบบ ไปจนถึง 70 – 100 ปอนด์/ตารางนิ้ว
ครั้งที่ 3 อัดแก๊สเข้าระบบ ไปจนถึง 200 – 250 ฟอนด์/ตารางนิ้ว

โดยในขณะอัดแก๊สเข้าไปนั้น จะต้องเตรียมการตรวจหารอยรั่ว (ถ้ามี) ไปพร้อมๆกัน เช่น นำฟองสบู่ ทาบริเวณรอยต่อ แล้วอัดแก๊ส หรือการนำไปแช่น้ำ แล้วหารอยฟองอากาศ รวมไปถึงวิธีการใช้ไฟเข้าช่วย เพราะหากแก๊สหลุดออกจากระบบ จะเกิดเปลวไฟ แต่ต้องระวังหากใช้วิธีนี้ เพราะอันตรายสูง รวมไปถึงวิธีการใช้เครื่องมือตรวจจับแก๊สความเร็วสูง

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%98%e0%b8%b5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%ad%e0%b8%a2%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7-%e0%b8%81%e0%b9%88%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%95%e0%b8%b1%e0%b9%89%e0%b8%87%e0%b9%81%e0%b8%ad%e0%b8%a3%e0%b9%8c%e0%b8%94%e0%b9%89%e0%b8%a7%e0%b8%a2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b9%83%e0%b8%8a%e0%b9%89%e0%b9%81%e0%b8%a3%e0%b8%87%e0%b8%94%e0%b8%b1%e0%b8%99/

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การติดตั้งแอร์หรือเครื่องปรับอากาศ มีการตรวจรั่วหลากหลายวิธี แต่ที่นิยมคือการใช้แก๊สอัดเข้าสู่ระบบ ซึ่งมีข้อควรระวังดังนี้

-ห้ามใช้แก๊สออกซิเจนอัดเข้าสู่ระบบ ให้ใช้แก๊สตัวอื่นๆแทน เพราะคุณสมบัติของออกซิเจนนั้น คือการทำให้ติดไฟ และอาจเกิดระเบิดได้

-การอัดแก๊สเข้าสู่ระบบทุกครั้ง จำเป็นต้องใช้ เกจ์วัดความดัน เพื่อควบคุมแรงอัดให้พอดี ไม่เกินขีดอันตราย ไม่งั้นอาจทำให้เกิดระเบิดได้


ข้อแนะนำในการตรวจรั่ว


-ตรวจหาคราบน้ำมันบริเวณรอยต่อต่างๆ ด้วยสายตา

-ต่อชุดเกจ์ควบคุมแรงดันเข้าสู่ระบบถ้าอ่านค่าได้ 60 – 80 ปอนด์/ตารางนิ้ว ให้ทำการหารอยรั่วด้วยเครื่องตรวจรั่ว

-ถ้าเกจ์ไม่แสดงว่ามีความดันในระบบ ให้เติมน้ำยาแอร์ลงไปอีก 1 ปอนด์ สังเกตค่าความดันที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่สารทำความเย็นกำลังเข้าสู่ระบบ

-ควรตรวจรอยรั่ว ตามจุดต่างๆของท่อ ข้อต่อ และที่คอนเดนเซอร์ คอมเพรสเซอร์ ท่อพักน้ำยา รวมไปถึงอีวาพอเรเตอร์

-ในการตรวจรั่วที่อีวาพอเรเตอร์ ควรเดินพัดลมโบลเออร์ด้วยความเร็วต่ำๆ แล้วตรวจสอบความเย็นที่ได้รับ หากเย็นน้อยไป อาจแปลได้ว่าระบบรั่ว

-หากพบรอยรั่วตามข้อต่อต่างๆ แล้วแก้ไข ก่อนจะแก้ไขนั้น จะต้องปล่อยน้ำยาแอร์ในระบบทิ้งก่อนเสมอ

-อย่าลืมตรวจน้ำมันคอมเพรสเซอร์หลังจากตรวจรอยรั่ว (ในกรณีพบรอยรั่ว) เพราะรอยรั่วอาจเป็นตันำน้ำมันออกจากระบบได้

ขอบคุณที่มา : http://www.chiangmaiaircare.com/%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b9%81%e0%b8%99%e0%b8%b0%e0%b8%99%e0%b8%b3-%e0%b9%81%e0%b8%a5%e0%b8%b0%e0%b8%82%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%84%e0%b8%a7%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%a7%e0%b8%b1%e0%b8%87-%e0%b9%83%e0%b8%99%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%95%e0%b8%a3%e0%b8%a7%e0%b8%88%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b9%88%e0%b8%a7-%e0%b8%82%e0%b8%ad%e0%b8%87%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%9b%e0%b8%a3%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%ad%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%a8/