ผู้เขียน หัวข้อ: กลยุทธ์พิชิตใจลูกน้อง  (อ่าน 830 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
กลยุทธ์พิชิตใจลูกน้อง
« เมื่อ: 13 พฤศจิกายน 2016, 17:29:27 »

 การอยู่ร่วมกันของคนในองค์กร แต่ละองค์กรต้องมีระบบการจัดการที่ดีในการปกครอง เช่นระบบอาวุโส หรือ ระบบคุณธรรมหรือระบบต่างๆ  เพื่อให้การทำงานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายขององค์กร ซึ่งแนวทางหรือแนวคิดที่จะนำไปปฎิบัติได้ ในการพิชิตใจลูกน้องด้วยเทคนิคการให้ 5 ประการ

1. การให้โอกาส  การให้โอกาสเป็นสิ่งสำคัญที่สุดประการหนึ่ง เพราะหากเราไม่ให้โอกาศคน เราจะไม่สามารถเข้าถึงศักยภาพของบุคคลผู้นั้นได้เลย  และโอกาสจะเป็นการเปิดกว้างในความเจริญรุ่งเรื่องในตำแหน่งหน้าที่การงานของตน

2. การให้ใจ   การให้ใจกับลูกน้องด้วยการร่วมหัวจมท้าย ไปใหนไปกันทำใหนทำกัน เป็นสิ่งสำคัญอันจะนำมาซึ่งความเคารพจากผู้ใต้บังคับบัญชา  อีกทั้งยังสร้างภาพลักษณ์และทัศนคติที่ดีให้เกิดขึ้นในใจของผู้ร่วมงาน พร้อมเคียงข้างและปกป้องผู้ใต้บังคับบัญชาในสิ่งที่ถูกต้องมีเหตุและผล

3. การให้อภัย  ในการทำงานย่อมมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้เสมอ ต้องพร้อมจะให้อภัยในความผิดพลาดตลอดจนหาแนวทางป้องกันแก้ไขข้อบกพร่อง ชี้แนะหาแนวทางที่ถูกต้องในการทำงานให้แก่เขา อันจะก่อให้เกิดผลดีในการปฎิบัติหน้าที่และภาพรวมที่ดีขององค์กรต่อไป

4. การให้ความเป็นกันเองบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในที่ทำงานเป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่ง การให้ความเป็นกันเองกับลูกน้อง เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างบรรยากาศในการทำงานให้ดีขึ้น เพราะ งานทุกงานย่อมมีความกดดัน เราควรเสร้างบรรยากาศในการทำงานให้อบอุ่น มีความเป็นกันเองกับลูกน้อง พร้อมให้คำปรึกษาชี้แนะแนวทางที่ดีที่ถูกต้องตลอดจนลูกน้องเข้าถึงได้ง่าย

5.การให้โดยไม่หวังผลตอบแทนการให้โดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ผู้ให้จะได้รับคืนมา การคิดถึงผู้รับมากกว่าผู้ให้ก่อนเสมอ การให้แบบนี้จะเป็นการแสดงตัวตนและภาวะการเป็นผู้นำขององค์กรนั้นๆอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

นี้คือกลยุทธ์ หรือ แนวทางปฎิบัติในการพิชิตใจลูกน้อง เพียงเปิดใจรับความแตกต่าง โดยไม่เอาความชอบส่วนตัวมาเป็นบรรทัดฐานในการชี้วัดคุณค่าของคนคน เท่านี้ลูกน้องก็น่าจะให้ความร่วมมือในการนำพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายและสิ่งที่ปรารถนาได้อย่างไม่ยาก


ที่มา: http://www.manpowerthailand.com/tris/content/detail/152-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%83%E0%B8%88%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87