ว่าที่ “คุณแม่” ในที่นี้จะหมายถึงผู้ประกันตนหรือภรรยาของผู้ประกันตนหรือหญิงซึ่งอยู่กินฉันสามีภรรยากับผู้ประกันตน หลังจากคลอดบุตรแล้วจะใช้สิทธิประโยชน์จากประกันสังคม และมีเงื่อนไขอย่างไร
ผู้ยื่นขอใช้สิทธิ “กรณีคลอดบุตร” (สามี หรือ ภรรยา) ผู้ใดผู้หนึ่งหรือทั้งสอง จะต้องเป็นผู้ประกันตนและส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคมครบ 7 เดือน ภายใน 15 เดือน ก่อนคลอดบุตร (คำว่า 7 เดือน ภายใน 15 เดือน หมายถึง เดือนที่คลอดบุตรนั้นไม่นับ แต่นับย้อนหลังไป 15 เดือน (1ปี 3 เดือน) มีเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 7 เดือนติดต่อกัน)
ผู้ใช้สิทธิประโยชน์ “กรณีคลอดบุตร” ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2554 เป็นต้นไป
ตามประกาศของคณะกรรมการการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เรื่อง หลักเกณฑ์และอัตราสำหรับประโยชน์ทดแทนในกรณีคลอดบุตร ประกาศ ณ วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2553
คลอดบุตรที่ใดก็ได้ ให้วินิจฉัยค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่าย กรณีคลอดบุตรให้แก่ผู้ประกันตนในอัตรา 13,000 บาทต่อการคลอดบุตรหนึ่งครั้ง
สำหรับผู้ประกันตนหญิงมีสิทธิรับเงินสงเคราะห์การหยุดงานเพื่อการหยุดงานเพื่อการคลอดบุตร เหมาจ่ายในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างเฉลี่ยระยะเวลา 90 วัน
หมายเหตุ : กรณีสามีและภรรยาเป็นผู้ประกันตนทั้งคู่ให้ใช้สิทธิในการเบิกค่าคลอดบุตรรวมกันไม่เกิน 4 ครั้ง โดยบุตรที่นำมาใช้สิทธิเบิกค่าคลอดบุตรแล้วไม่สามารถนำมาขอรับค่าคลอดบุตรได้อีก
หลังจากคลอดบุตรแล้ว “คุณแม่” มือใหม่สามารถขอใช้สิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม “กรณีสงเคราะห์บุตร” ควบคู่กันไปได้โดยมีหลักเกณฑ์และสิทธิประโยชน์ดังนี้
หลักเกณฑ์ที่จะทำให้ท่านมีสิทธิ คือ ต้องจ่ายเงินสมทบ ในส่วนของกรณีสงเคราะห์บุตรมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 ภายในระยะเวลา 36 เดือน ก่อนเดือนที่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนและเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 39 สิทธิที่ท่านจะได้รับเงินสงเคราะห์บุตรเหมาจ่ายเดือนละ 400 บาท ต่อบุตรหนึ่งคน (มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2554) สำหรับบุตรชอบด้วยกฎหมาย
ยกเว้น บุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งยกให้เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นและบุตรมีอายุตั้งแต่เกิดถึง 6 ปีบริบูรณ์
เงื่อนไขบุตรที่ได้รับการสงเคราะห์เงินสงเคราะห์บุตร สำหรับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จำนวนคราวละไม่เกิน 2 คน (บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายดังกล่าวไม่รวมถึงบุตรบุญธรรมหรือบุตรซึ่งได้ยกให้ เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่น
ผู้ประกันตนมี สิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตรสำหรับบุตรซึ่งมีอายุไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ เว้นแต่ผู้ประกันตนเป็นผู้ทุพพลภาพหรือถึงแก่ความตาย ในขณะที่บุตรมีอายุแรกเกิดจนถึง 6 ปีบริบูรณ์ จะมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนต่อจนอายุ 6 ปีบริบูรณ์
-จดทะเบียนสมรสกับมารดาของบุตร
-จดทะเบียนรับรองบุตร
-ยื่นคำร้องต่อศาลให้ศาลมีคำพิพากษาว่าเป็นบุตร
การหมดสิทธิรับเงินสงเคราะห์บุตร -บุตรเสียชีวิต
-ยกบุตรให้เป็นบุตรบุญธรรมของคนอื่น
-ความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง
รายละเอียดเพิ่มเติม
http://www.sso.go.th หรือโทร.สายด่วนประกันสังคม 1506
ที่มา:
http://www.jobdst.com/index.php?option=com_content&view=article&id=238&Itemid=135