การบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นกฎหมายที่มีความความจำเป็นในเรื่องของการบริหารจัดการ “คน” ในองค์กร ตั้งแต่เริ่มแรก ในการจ้างบุคลากร ระหว่างการทำงาน จนกระทั่งสิ้นสุดการทำงาน ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการทำงานทั้งสิ้นดังนั้น จึงอยากให้ท่านได้มาเรียนรู้ทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งจะสามารถแบ่งเป็นหลายอย่าง ที่พอเป็นแนวทางให้ท่านได้เข้าใจ ดังตัวอย่าง
กฎหมาย คุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับในเรื่องสิทธิ หน้าที่ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง โดยกำหนดจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำ และการกำหนดในเรื่องของแรงงานหญิง แรงงานเด็ก หากนายจ้างกำหนดขึ้นขัดแย้งกับกฎหมายคุ้มครองแรงงานย่อมเป็นโมฆะ
สัญญาจ้างแรงงาน เป็นการจำกัดเรื่องเสรีภาพ ในการทำสัญญาจ้างลูกจ้าง เป็นข้อสัญญาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยส่วนใหญ่จ้างโดยการทำเป็นหนังสือ ซึ่งลูกจ้างตกลงทำงานให้แก่บุคคลหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า “นายจ้าง” ต้องจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้
กฎหมายประกันสังคม เป็นกฎหมายที่กำหนดในเรื่องของหลักประกันแก่บุคคลในสังคม โดยมีการจ่ายเงินเข้ากองทุน แล้วเฉลี่ยคืนให้กับลูกจ้าง โดยแบ่งออกเป็น 7 กรณี ดังนี้ คือ
1. กรณีเจ็บป่วย
2. กรณีคลอดบุตร
3. กรณีชราภาพ
4. กรณีทุพพลภาพ
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
6. กรณีตาย
7. กรณีว่างงาน
พระราชบัญญัติเงินทดแทน เป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างเป็นค่าทดแทน รักษาพยาบาลเป็นเงินที่จ่ายให้ลูกจ้างตามสิทธิ กรณีไม่เนื่องจากการทำงาน และค่าทำศพ
พระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพล้อมในการทำงาน เป็นการพัฒนานิสัยในการทำงานด้วยความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ ความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานต้องระมัดระวังความปลอดภัยอยู่เสมอ หากขาดความระมัดระวัง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดอันตราแก่ชีวิต ร่างกายของตนเอง และเพื่อนร่วมงาน และทรัพย์สินของบริษัทหรือองค์กร ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และเข้าใจ และปฏิบัติตามหลักความปลอดภัยโดยเคร่งครัด ท่านจะปลอดภัยจากอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นในภายหลัง
พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยให้นายจ้างหรือสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการพัฒนาฝีมือแรงงาน การฝึกให้บุคคลมีความรู้ความสามารถ ในวิชาชีพ มีศักยภาพในการพัฒนากำลังแรงงาน และให้มีการจัดตั้งกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงานเพื่อสนับสนุนการพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ คือผู้ประกอบการกิจการ ประเภทอุตสาหกรรม ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป มีหน้าที่ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเป็นรายปีในอัตราร้อยละ 1 ของค่าจ้างขั้นต่ำ เว้นแต่จะจัดให้มีการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ตามกฎหมายกำหนดไว้ ในสัดส่วนร้อยละ 50 ของลูกจ้างทั้งหมด
พระราชบัญญัติพัฒนาคุณภาพชีวิต คนพิการ นายจ้าง หรือ เจ้าของกิจการ หรือสถานประกอบการ ถ้ามีการรับคนพิการ เข้าทำงานหรือส่งเงินเข้ากองทุน ได้รับการยกเว้นภาษีร้อยละของจำนวนเงินค่าจ้างที่จ่ายให้แก่คนพิการ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เน้นเกี่ยวกับการสภาพการจ้างของลูกจ้าง การเลิกจ้าง และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างในสถานประกอบการ
เป็นยังไงบ้างค่ะ พอจะทราบเกี่ยวกับกฎหมายในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ พอสังเขป เพื่อเป็นแนวทางในการต่อยอดความรู้ ในแต่ละกฎหมาย เพื่อเป็นตัวช่วยในการบริหารจัดการ “ทรัพยากรมนุษย์” ในองค์กรได้อย่างถูกต้องและเที่ยงธรรม
ที่มา:
http://www.jobdst.com/index.php?option=com_content&view=article&id=262&Itemid=135