WP Migrate DB คือ อีกปลั๊กอินหนึ่งที่ใช้สำหรับการย้ายเว็บไซต์ (Migrate) แต่อย่างที่เรารู้กัน ปลั๊กอินย้ายเว็บส่วนใหญ่ในรุ่นฟรีนั้นอาจจะจำกัดบางฟังชั่นการใช้งาน เช่น บางอันจำกัดขนาด บางอันไม่จำกัดขนาดแต่จำกัดเว็บ เป็นต้น
วันนี้เราจะพามาใช้ตัวเลือกสำหรับคนงบน้อย คนทำงานฟรี หรือกรณีอื่นๆ ที่ไม่มีความพร้อมจะใช้จ่ายเพื่อความสะดวกเหล่านั้นมาใช้ปลั๊กอินฟรีกัน แต่ก็ต้องรับรู้ก่อนนะคะว่า เราใช้ของฟรี ขั้นตอนก็อาจจะต้องอ้อมไปมาเป็นธรรมดา อยากสะดวกสบายก็เลือกจ่ายแล้วจบค่ะ แต่เราแนะนำให้คุณลองใช้ All-In-One WP Migration ดูก่อนค่ะ เพราะถ้า Export แล้วไม่เกิน 512mb ชีวิตคุณจะสบายมาก ฟรีอีกต่างหากค่ะ แต่ถ้าใหญ่กว่านั้น ก็มาลองตัวนี้ดู หรืออยากจะใช้ All-In-One WP Migration เฉพาะการ Export Database ก็ข้ามไปอ่านท้ายสุดได้เลยค่ะ ตัวนั้น
ง่ายที่สุดในโลกของจริง ส่วนการอัพโหลดโฟลเดอร์ wp-content นั้นยังคงทำเหมือนกัน
ปลั๊กอินตัวนี้ทำงานโดยการ Export/Imprt ฐานข้อมูล โดยมีการปรับปรุงฐานข้อมูลในส่วนของ URL และ File path ต่างๆ ให้พร้อมใช้งานก่อนการ Export ทำให้เมื่อเรานำไป Import ลงบนเว็บปลายทางก็จะพร้อมใช้งานได้ทันที ส่วนที่นอกเหนือจากนี้ก็เหลือแค่การอัพโหลดไฟล์เว็บ (wp-content) ไปยังโฮ้สต์ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการย้ายเว็บค่ะ วิธีนี้ดีตรงที่ต่อให้เว็บขนาดใหญ่มากแค่ไหนก็ไม่ต้องกลัวติดลิมิต เพราะเราใช้การอัพโหลดผ่านทาง FTP โดยตรง อาจจต้องคอยระวังสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ดีแทน
อย่างที่เราเคยบอกแทบจะทุกครั้งที่เขียนเกี่ยวกับ
การแบคอัพว่า WordPress นั้นเก็บการตั้งค่าต่างๆ ทั้งหมด บทความทั้งหมด ไว้ในฐานข้อมูล (Database) และเก็บไฟล์ต่างๆ ของเว็บไซต์ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น ธีม ปลั๊กอิน รูปภาพต่างๆ นั้นจะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์
wp-content ดังนั้น เพียงเรามี 2 สิ่งนี้ไว้เชื่อมโยงกัน เราก็จะสามารถนำเว็บกลับมาได้ทุกเมื่อ เพราะตัวไฟล์ระบบหลักของ WordPress นั้นจะไม่ถูกปรับเปลี่ยนจากการใช้งานของเราอยู่แล้ว ยกเว้นเฉพาะความต่างกันของเวอร์ชั่น
สิ่งที่ต้องใช้ : ข้อมูลการใช้งานโฮ้สต์ติ้ง ซึ่งจะมี user, password สำหรับเข้าใช้งาน DirectAdmin หรือ cPanel แล้วแต่โฮ้สต์ และข้อมูลการใช้งาน FTP
ตัวอย่างการทำงานด้านล่างนี้ เราจะย้ายเว็บที่ทำบนเครื่องส่วนตัวที่ใช้โปรแกรม
DesktopServer ในการทำเซิฟเวอร์สำหรับ WordPress เมื่อทำเว็บเสร็จเรียบร้อยแล้วเราก็จะทำการย้ายไปยัง Live site ชื่อ napamakeup.com นะคะ ซึ่งเว็บนี้ก็ใช้ระบบติดตั้งอัตโนมัติติดตั้ง WordPress ไว้เรียบร้อยผ่านทางระบบติดตั้งอัตโนมัติของ DirectAdmin
เปรียบเทียบเว็บต้นทางและปลายทาง
Napamakeup.com
Export Database
ขั้นตอนแรกเราจะทำการ Export Database จากเว็บต้นทางก่อนค่ะ โดยก่อนที่จะทำการ Export นั้นเราก็ต้องทำการเตรียมข้อมูลเว็บปลายทางให้พร้อมก่อน ตรงนี้เรียกว่าการ Migrate คือปลั๊กอินจะทำการเปลี่ยนแก้ฐานข้อมูลที่จะทำการย้ายให้เราอัตโนมัติ ฐานข้อมูลเหล่านี้ก็การแทนที่ (Replace) ข้อมูล URL และ File path ต่างๆ ของเว็บต้นทางด้วยเว็บปลายทาง เพื่อที่เวลาที่เรานำไป Import นั้น ข้อมูลก็จะพร้อมใช้งานโดยอัตโนมัตินั่นเองค่ะ
ให้เราทำการติดตั้งปลั๊กอิน WP Migrate DB ทั้งบนเว็บต้นทางและปลายทาง จากนั้นไปที่เมนู
เครื่องมือ (Tools) > Migrate DB แล้วทำการก๊อปปี้ข้อมูลตรงเว็บปลายทาง (napamakeup.com) มากรอกในเว็บต้นทางที่อยู่บนเครื่องของเรา (example.dev)
หลังจากระบบทำการ Export ฐานข้อมูลแล้ว ก็จะให้เราดาวน์โหลดเก็บไว้ที่เครื่อง ก็ให้ดาวน์โหลดมาไว้ค่ะ ไฟล์จะเป็นนามสกุล .sql.gz
Upload Files
ขั้นตอนนี้ให้เราทำการอัพโหลดไฟล์เว็บต้นทางของเราผ่านโปรแกรม
FileZilla (ข้อมูล FTP ตามที่โฮ็สต์ส่งเมลมาให้) ไปยังเว็บปลายทาง โดยการอัพโหลดโฟลเดอร์ wp-content ขึ้นไปที่โฮ้สต์ สามารถลากไปทับได้เลยค่ะ
Import Databaseขั้นตอนนี้เป็นการทำงานที่เว็บปลายทางแล้วนะคะ โดยล็อกอินเข้าใช้งาน DirectAdmin (ข้อมูลตามอีเมลที่โฮ้สต์ส่งมาให้) แล้วคลิกที่ MySQL Management
คลิกที่ phpMyAdmin จากนั้นใส่ user, password เหมือนตอนที่เข้าใช้งาน DirectAdmin
ระบบก็จะเปิด phpMyAdmin ที่แสดงฐานข้อมูลของเรา ให้เราคลิกที่ฐานข้อมูลของ WordPress ที่เราจะทำการ Import แล้วคลิกที่เมนู
Import จากนั้นที่ปุ่ม Choose File ก็ให้เลือกไฟล์ที่เราได้จากขั้นตอนของการ Export แล้วคลิกที่ปุ่ม
Go
เมื่อขึ้นข้อความแบบนี้ก็แสดงว่า Import เรียบร้อยแล้ว
เวลาแห่งความตื่นเต้นมาถึง ทำการกด Refresh ที่เว็บปลายทาง napamakeup.com ได้!
เป็น อันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการย้ายเว็บแบบกึ่งอัตโนมัติกึ่ง manual ค่ะ หลักการก็มีแค่ 3 ขั้นตอน ทำตามสเต็ปนี้สำเร็จแน่นอนค่ะ ช่วงที่ใช้เวลามากที่สุดก็จะเป็นตอนอัพโหลดโฟลเดอร์ wp-content อันนี้ก็แล้วแต่ขนาดเว็บของแต่ละคน แต่ก็ขอให้ระวังในส่วนของฐานข้อมูล อย่างที่เราบอกเสมอว่า ต้อง
Backup ไว้ก่อนเสมอ แม้ว่าปลั๊กอินนี้จะไม่ได้มีฟังชั่นมากมายอลังการ แต่ถือว่าทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างดีที่สุดเลยทีเดียว ดูจากเรตติ้งและรีวิวแล้วก็ไม่ผิดหวังจริงๆ ค่ะ
หมายเหตุ : เว็บทั้งสอบต้องใช้ table prefix เดียวกันนะคะ เช่น (wp_) หากใช้คนละตัว ฐานข้อมูลที่ Import เข้าไปก็จะไม่แทนที่ตัวเดิมทำให้เว็บไม่เปลี่ยน เพระมันยังเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลเดิมอยู่ แต่เราสามารถเปลี่ยนได้ง่ายๆ โดยการเปิดไฟล์
wp-config.php ของทั้งเว็บต้นทางและปลายทางขึ้นมาเปรียบเทียบกัน เว็บปลายทางปกติก็จอยู่ที่โฟลเดอร์ public_html แล้วแก้ prefix ให้ตรงกับเว็บต้นทางที่เรา Import เข้าไปค่ะ ค่าเริ่มต้นปกติก็จะเป็น wp_ อยู่แล้ว นอกจากโปรแกรมติดตั้งอัตโนมัติบางที่จะมีการเปลี่ยนค่านี้เองเพื่อความ ปลอดภัยนั่นเองค่ะ หรือคนที่ใช้ปลั๊กอิน security บางตัวที่มีฟังชั่นนี้
อีกวิธีหนึ่งสำหรับคนที่อยากย้ายเฉพาะฐานข้อมูลแบบนี้ แต่ไม่อยากเข้าไปแตะ phpMyAdmin เลย กลัว เรายังสามารถใช้ปลั๊กอิน All-In-One WP Migration ในการย้ายเฉพาะฐานข้อมูลได้เช่นกัน โดยก่อนจะ Export นั้นจะมีเมนู Advance อยู่ เราสามารถติ๊ก Do
not ตัวอื่นให้หมด เหลือไว้เฉพาะเฉพาะ Database แทน แล้วก็อัพโหลด wp-content เหมือนด้านบนค่ะ
ขั้นตอนการย้ายด้วย All-In-One WP Migration การใช้ปลั๊กอิน All-In-One WP Migration นั้นดีตรงที่
เราไม่ต้องกรอกอะไรเลยทั้งสิ้น!!credit:
http://www.wpthaiuser.com/wp-migrate-db/