Google XML Sitemaps
เป็น ปลั๊กอินที่จะสร้างหน้า sitemap.xml ซึ่งจะเป็นหน้าที่บอทจะมาเก็บให้เราอัตโนมัติ รวมทั้งทำหน้าที่ช่วยในการสะกิดให้บอทมาเก็บข้อมูลเมื่อเรามีการอัพเดตหรือ เขียนบทความใหม่ๆ ในเว็บของเราอีกด้วย
การตั้งค่าให้ไปที่
Settings > XML Sitemap
การ ตั้งค่ามียืดหยุ่นหลายแบบ โดยระบบจะแจ้งหน้า sitemap ให้เราทราบ เช่น ของเราก็คือ
http://www.wpthaiuser.com/sitemap.xml นั่นเอง หากเราไม่ต้องการตั้งค่าอะไร หรือไม่รู้ว่าจะตั้งค่าอะไร ก็แค่คลิก Notify Search Engines about your sitemap เพื่อเป็นการเรียกบอทมาเก็บ sitemap ของเรา ก็เป็นอันเรียบร้อยค่ะ
ตัวอย่าง sitemap ของเราที่สร้างจากปลั๊กอิน Google xml sitemaps
จริง ๆ แล้วแค่มี sitemap.xml ก็โอเคแล้ว แต่ถ้าอยากเข้าใจ plugin ตัวนี้ให้ดีขึ้นก็มาดู function อื่น ๆ ของ plugin ตัวนี้
ส่วน advance option1 กำหนดจำนวนเรื่องใน sitemap (ไม่ให้มีเรื่องมากเกินไป) โดยจะเอาเรื่องใหม่ที่สุดรวมไว้ก่อน
2. เพิ่มหน่วยความจำ
3. เพิ่มเวลาในการดำเนินการ (เป็นวินาที 0 คือไม่จำกัด)
4. รวมไฟล์ XSLT stylesheet ในปลั๊คอินเข้าไปใน sitemapด้วย เพื่อให้เราสามารถอ่านไฟล์ XML ได้เข้าใจ โดยค่าปกติจะเป็นไฟล์ xsl ของปลั๊คอิน
5. เปิดใช้โหมด MySQL พื้นฐาน กรณีที่ MySQL ผิดพลาด (แต่ก็กินหน่วยความจำมากขึ้น)
6. สร้าง sitemap ขึ้นภายหลัง ในกรณีที่เรามีเรื่องหรือหน้าเยอะ การแก้ไขหรือสร้างใหม่ก็ทำให้ใช้เวลานานมากในการบันทึก เพราะปลั๊คอินจะสร้าง sitemap ขึ้นมาด้วย การเปิดใช้ตัวเลือกนี้จะทำให้เราสามารถบันทึกได้ทันที โดยที่ปลั๊คอินจะสร้าง sitemap ขึ้นทีหลังโดยใช้ wp-cron
7. สร้าง sitemap โดยไม่รวมเรื่องหรือหน้าต่อไปนี้ (ใส่เลขที่หน้า เรื่อง คั่นด้วยคอมม่า ",")
ส่วน additional page ก็เพิ่มหน้าเวบในส่วนที่ไม่ใช่ blog เข้าไป สมมุติว่าบล็อคเราสร้างใน subfolder ของเวบหลัก เราก็เพิ่มหน้าเวบที่เราอยากใส่เข้าไป (แต่ไม่ค่อยสะดวกต้องนั่งใส่เองทีละหน้า) มีรายละเอียดให้ใส่ทั้ง URL ความสำคัญของหน้าเวบ การอัพเดตที่หน้านั้น วันที่เปลี่ยนแปลงล่าสุด
ส่วน post priority ความสำคัญของหน้าเรื่อง กำหนดได้สามอย่าง
Do not use automatic priority calculation All posts will have the same priority which is defined in "Priorities" (ไม่ได้กำหนดความสำคัญ ให้กับโพสใด ทุกโพสมีความสำคัญเท่ากันหมด)
Comment Count (ใช้คอมเม้นในการกำหนดความสำคัญ)
Comment Average (ใช้ค่าเฉลี่ยคอมเม้นในการกำหนดความสำคัญ)
Sitemap Content - ในส่วนนี้คือจะกำหนดให้สร้าง sitemap ในแต่ละหมวดหมู่ ในแต่ละ tag หรือไม่ เราก็เป็นคนกำหนดได้เลย
Excluded items - ยกเว้น หมวดหมู่บางหมวดหมู่ ที่ไม่ต้องสร้าง sitemap หรือโพสบางโพส
Change frequencies - กำหนดค่าความถี่ในการสร้าง sitemap ค่อนข้างมีผลต่อ SEO เพราะจะเป็นการกำหนดให้บอทเข้ามาเก็บ sitemap ของเรา ถ้าบอทเข้ามาตามความถี่แล้ว ในส่วนที่เราตั้งค่าไว้ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ก็ส่งผลให้บอทไม่มาเว็บเราก็อีกก็ได้ เพราะฉะนั้นตั้งค่าดี ๆ
Homepage ในส่วนนี้ถ้าเราอัพเดทเว็บทุกวันก็ควรตั้งเป็น Daily
Posts เป็นส่วนของโพส ถ้าเราไม่ค่อยแก้ไขโพสสักเท่าไหร่ ก็ตั้งไว้ที่ Monthly (ไม่เกี่ยวกับการเพิ่มโพสนะครับ เกี่ยวกับการแก้ไขเฉย ๆ การเพิ่มโพสจะไปอยู่ในส่วน Homepage)
Static pages เป็นหน้าเพจคงที่ เพื่อให้บอทมาไต่ นะครับ ในส่วนนี้ผมยังไม่ค่อยเข้าใจเท่าไหร่ แต่เน้นตั้งไว้ที่ Weekly ครับ
Categories ส่วนของหมวดหมู่ ถ้าเราไม่ได้มีการสร้างหมวดหมู่บ่อย ๆ ก็ตั้งไว้ที่ Weekly ครับ (ตามความเหมาะสม)
The current archive of this month (Should be the same like your homepage) ในส่วนนี้ควรตั้งให้เหมือน Homepage ครับ
Older archives (Changes only if you edit an old post) ในส่วนนี้ถ้าไม่มีการแก้ไขโพสเก่า ควรตั้งไว้ที่ Yearly นะครับ
Tag pages ส่วนของ Tag ถ้าเราไม่ได้มีการสร้าง Tag บ่อย ๆ ก็ตั้งไว้ที่ Weekly ครับ (ตามความเหมาะสม)
Author pages ผู้เขียนของเว็บ ถ้าไม่มีการเพิ่มผู้เขียนใด ๆ ก็ตั้งไว้ที่ Monthly หรือ Yearly เลยก็ได้ครับ
Proiorities คือการจัดลำดับความสำคัญของส่วนต่าง ๆ เพื่อให้บอทเน้นไต่ส่วนไหนก่อน ในส่วนนี้ผมจะไม่แก้ไขอะไรนะครับ
เมื่อเราตั้งค่าเรียบร้อยแล้ว เราก็จะได้ sitemap สำหรับเว็บเรา เราสามารถกด rebuild the sitemap ในด้านบน เพื่อให้ plugin สร้าง sitemap ที่เราได้ตั้งค่าใหม่ได้
จากนั้นเราก็นำ sitemap ที่ได้ไป submit google ได้เลยครับ ใน google webmaster tools ได้เลยครับ โดยเพิ่มแผนผังไซด์ ที่เราทำการสร้างลงไป และส่งแผนผังไซด์ได้เลย
ที่มา:
http://www.wpthaiuser.com/google-xml-sitemap/ kazama http://www.thaiseoboard.com/index.php?topic=37575.0 http://storyadsense.blogspot.com/2012/09/google-xml-sitemaps-sitemap-wordpress.html