มี WordPress หลายตัวที่ต้องดูแล ถึงแม้ว่าจะแบ่งให้กับผู้รับผิดชอบแต่และคนดูแล้ว บางครั้งก็มีหลงลืมที่จะอัพเดท หรือแม้แต่กระทั่งจะดูแลให้ระบบทันสมัยอยู่ตลอด เมื่อคิดได้เช่นนี้แล้วก็ลองค้นดูว่า พอจะมีเครื่องมือที่จะช่วยผ่อนแรงตรงนี้ได้บ้างหรือไม่ เลยลองค้นดูจาก Google พบว่ามีเครื่องมือมากมายทั้งฟรีและจ่ายเงินครับ ลองค้นด้วยคำว่า “
Manage Multiple WordPress Websites” แต่บทความนึงที่ผมชอบมาก นั่นคือ
How To Manage Multiple WordPress Websites Effectively จาก Elegant Themes ซึ่งเป็นเว็บให้บริการ Theme ของ WordPress ที่ผมคยใช้บริการ โดยใน Comment ส่วนใหญ่มักจะบอกถึงความประทับใจเครื่องมือตัวหนึ่งที่ชื่อว่า
InfiniteWP และผมเองก็ไม่ลังเลใจที่จะลองใช้งานดู จนเป็นที่มาของบทความนี้ครับ
What is InfiniteWP? สำหรับ InfiniteWP เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการ WordPress ที่สามารถติดตั้งได้ใน Hosting ของเราเอง การจัดการ WordPress นั้นง่ายมากภายในไม่กี่ click
การติดตั้ง InfiniteWPมีการติดตั้งทั้งหมด 5 วิธีด้วยกัน ได้แก่
- ติดตั้งบน Server โดยติดตั้งเหมือนกับ PHP Application ทั้วไป
- ติดตั้งโดยผ่าน WordPress Plugin
- ติดตั้งผ่าน CPANEL (ใครที่ยังไม่รู้จัก CPANEL อ่านได้ที่ รู้จักกับ Cpanel คืออะไร บน Web Hosting )
- ติดตั้งผ่าน TRUSTED HOSTING PARTNER
- ติดตั้งผ่าน EXPERT INSTALLATION (มีค่าใช้จ่าย)
สำหรับผม เลือกการติดตั้งไม่ 1. ก็ 2. ครับ เพราะ 3. และ 4. ไม่ได้ใช้ ส่วน 5.นี่ต้องบอกว่าไม่อยากจ่ายตังค์ครับ แต่สุดท้ายผมเลือกวิธีการที่ 2. นะครับเพราะ ตั้งใจว่าจะเอามาความคุมเว็บในสังกัด (ส่วนวิธีที่ 1. ก็ติดตั้งไปแล้วนะครับ ใช้งานได้ดีด้วย)
การติดตั้ง InfiniteWP
จริงๆมีคำแนะนำอยู่แล้วครับ ในเว็บของเขาเลย
IWP INSTALLER PLUGIN แต่จะอธิบายอีกสักครั้งเป็นภาษาไทยละกันนะครับ
- ทำการ Download Plugin Installer จาก Link Download Installer Plugin และไปที่ Dash Board ของ WordPress ที่ต้องการติดตั้ง InfiniteWP แล้วไปที่ Menu Plugin และเลือก Add New
- ต่อด้วยกับเลือกไฟล์ แล้วทำการ install
- หลังจากนั้นจึง Activate Plugin เพื่อเริ่มขั้นตอนการติดตั้งจริงๆต่อไป
- ถัดไปจะเป็น Agreement ในการใช้งาน และด้นบนจะมีข้อความว่า This plugin is just an Installer. The InfiniteWP admin panel that you are installing will not be connected to this WordPress site in anyway (except using the same database). นั่นหมายความว่า Plugin นี้ไม่ได้เชื่อมต่อกับ WordPress เพียงแต่ใช้ฐานข้อมูลเดียวกันเท่านั้น สบายใจได้ครับ เลื่อนลงมาข้างล่างแล้ว คลิ๊กที่ Agree เลยครับ
- InfiniteWP จะทำการตรวจสอบค่าต่างๆใน Server ว่าเหมาะกับการติดตั้งหรือไม่ ถ้าเหมาะ ก็จะมีเครื่องหมาย ถูก สีเขียวปรากฏ หากเป็นอย่างอื่นอาจต้องกลับไปแก้ไขให้เหมาะสมและถูกต้องต่อไปครับ หลังจากนั้นคลิ๊ก Continue ด้านล่างเลยครับ
- หลังจากนั้นจะเป็นการ Confirm ข้อมูลการติดตั้ง โดยจะต้องกำหนด Folder และ User / Password สำหรับการเข้าใช้ แต่หากต้องการปรับแก้เกี่ยวกับฐานข้อมูล เช่น Prefix ของฐานข้อมูลก็ Click ที่ DB Details สำหรับท่านที่ไม่ต้องการรับข่าวสารจาก InfiniteWP ก็อย่าลืมติ๊ก ถูก ใน Check Box ข้างล่างออกด้วยนะครับ คลิ๊ก install เพื่อเริ่มการติดตั้งกันเลยครับ
ไม่ต้องการทราบรายละเอียดหรือแก้ไขเกี่ยวกับฐานข้อมูล คลิ๊ก install ได้เลย
- รอสักครู่ ตัว Installer จะทำการ Download Application ลงมาติดตั้งให้ และจะ Confirm URL User/Password ให้อีกครั้งนึงครับ หากต้องการใช้ก็ Click ที่ URL เพื่อเข้าสู่ InfiniteWP ได้เลย
- เมื่อเข้าสู่ InfiniteWP ก็จะมีปุ่ม Take Tour เพื่อพาเราไปศึกษาการใช้งานต่างๆ หากไม่อยากชมก็ No thanks ได้เลยครับ
- อย่าลืมเข้าไปที่ [Folder ที่ติดตั้ง WordPress]\[Folder ที่ติดตั้ง InfiniteWP] แล้วลบ Folder ที่ชื่อว่า install ออกด้วยนะครับ เพื่อความปลอดภัย
วิธิการใช้งาน 1. เข้าใช้ IWP จาก URL ที่ แจ้งต้องการติดตั้งหรือจะเข้าจากหน้า Admin ของ WordPress ที่ติดตั้งก็ได้ครับ
2. หลังจากนั้นเข้าสู่ระบบ ด้วย User / Password ที่ได้ทำการลงทะเบียนไว้ตอนติดตั้งก็จะพบหน้าตาของ IWP ดังภาพ
3. อยากให้สนใจที่ Menu IWP Update สักนึงครับ ควรทำการ Update IWP ให้ทันสมัยเสมอนะครับ หากมี Alert ที่มี Menu นี้ก็ควรทำการ Update IWP ให้ทันสมัย และเมื่อเลิอกใช้ก็ให้ ออกจากระบบที่ Menu ▼Logout
4. แต่ก่อนที่จะใช้งาน IWP ไปควบคุม WordPress Site ต่างๆได้เราจะต้องติดตั้ง Plugin ที่ชื่อว่า
InfiniteWP – Client ที่ Site ปลายทางซะก่อนนะครับ เมื่อติดตั้งเสร็จ Plugin จะสรุป URL User และ Activation Key สำหรับใช้ในการเชื่อมต่อกับ IWP อย่าเพิ่งปิดหน้าสรุปนะครับ กลับมาที่ IWP ของเราก่อน แต่ในกรณีที่ ปิดหน้าสรุปแล้ว หรือติดตั้ง Plugin
InfiniteWP – Client และ Activate ไปแล้ว ก็แก้ไขโดย การเข้าไป Deactivate แล้ว Activate Plugin ใหม่อีกครั้ง เพื่อให้ Plugin แสดงหน้าสรุปผลการติดตั้งอีกครั้ง จะได้นำเอาข้อมูลไปใช้ในการเพิ่ม Site ที่ IWP5. จัดการ Add WebSite โดยใส่ข้อมูลที่ได้จากหน้าสรุปจากการติดต้ัง IWP – Client เลย ในกรณีที่ มี Site ที่ต้องการจัดการอาจจัดเข้าเป็นกลุ่มๆก็ได้ ซึ่งจะอธิบายภายหลัง หากมี Site อื่นๆ ก็ทำซ้ำขั้นตอนที่ 4 และ 5 ไปเรื่อยจนครบทุก Site
6. ป้อนรายละเอียดที่ได้จากการติดตั้ง IWP Client ในข้อ 4 เพื่อทำการเพิ่ม Site ที่ต้องการควบคุม
7.หลังจากนั้น Site ที่ถูกป้อนก็จะมาปรากฏที่เมนูด้านซ้ายดังภาพ
8.IWP จะทำการตรวจสอบทันที่ว่ามีอะไรต้อง Update บ้างสำหรับปลายทาง หากต้องการตรวจสอบด้วยตัวเองก็สามารถทำได้โดย กดปุ่ม Relad Data โดย IWP ก็จะแสดงรายละเอียดของส่วนที่ต้องมีการ UPDATE ให้เห็นดังภาพ
9.หากต้องการดูว่า มีจำนวนรวมเท่าไรก็สามารถใช้ Menu Manage ดูได้ และ Menu นี้ยังสามารถใช้ในการติดตั้ง Theme หรือ Plugin ได้ ซึ่งคงต้องยกยอกไป Post ต่อๆไปนะครับ พร้อมแล้วก็กด Update All ได้เลยครับ
10. ก่อนจะ update IWP จะมีการ Confirm อีกครั้ง ถ้าแน่ใจก็กด Yes! Go Ahead ไปเลยครับ
11.IPW ก็จะแสดง Progress ว่าได้ดำเนินการ update แล้ว ถ้า IWP ทำการ Update ในส่วนที่จำเป็นหมดแล้วก็จะมีข้อความบอกว่า
Hurray! All Websites are up-to-date.เรียบร้อยแล้วครับ สำหรับการใช้งาน IWP เบื้องต้นและเป็นเรื่องที่ต้องใช้บ่อยจริงๆ สำหรับการ Update เพราะเป็นจุดประสงค์แรกๆเลยที่คิดจะนำ IWP มาใช้ รอติดตามอ่าน Post ต่อๆไปนะครับ ว่าจะเป็นเรื่องอะไร สำหรับวันนี้ขอตัวไปตามเก็บ Site หลักๆ ทั้งหมดเข้ามาใน IPW ก่อน และคงต้องตาม Update กันอีกพอสมควร ขอบคุณครับ
ที่มา:
http://clpark.rmuti.ac.th/suthep/improvements/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99-infinitewp-%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%B7%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99