ผู้เขียน หัวข้อ: Backup เว็บไซต์ WordPress ด้วย UpdraftPlus  (อ่าน 1119 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
Backup เว็บไซต์ WordPress ด้วย UpdraftPlus
« เมื่อ: 24 พฤษภาคม 2016, 12:07:52 »
สิ่งที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งในการทำเว็บไซต์นั่นก็คือ การ Backup นั่น เองค่ะ ไม่ว่าจะในกรณีใดๆ ซักวันหนึ่งเรามักจะต้องได้ใช้งาน Backup เสมอ เช่น โฮ้สเสีย เว็บโดนแฮ็ก หรือติดตั้งปลั๊กอิน ธีม บางตัวแล้วทำให้เว็บพัง การมี Backup ไว้ อย่างน้อยจะช่วยให้เราอุ่นใจขึ้นมาได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เราพบว่าหลายคนนั้นให้ความสำคัญกับการแบ็คอัพน้อยมาก ต่างคนต่างคิดว่าปัญหามันคงไม่เกิดหรอก หรืออาจจะขี้เกียจ ยุ่งยาก ไม่เคย ไม่เป็น อะไรก็แล้วแต่ แม้ว่า Direct Admin จะมีระบบแบ็คอัพอัตโนมัติให้คลิก แต่ก็ไม่วายไม่ค่อยมีใครใช้ พอมีปัญหาแล้วถามหา Backup ก็ปรากฏว่าไม่ได้ทำไว้
UpdraftPlus Backup and Restoration



คือปลั๊กอินที่เราจะใช้ในการแบ็คอัพ โดยตัวนี้มีทั้งเวอร์ชั่นฟรี และเสียตังค์ แต่คุณสมบัติตัวฟรีของมัน ถือได้ว่าสามารถนำมาใช้ได้ดีเลยทีเดียว ยอดดาวน์โหลดและคะแนนรีวิวเยอะมากค่ะ ทิ้งห่างเจ้าอื่นเลย คือบางทีคนโหลดเยอะ แต่ตัวนี้คนรีวิวให้คะแนนเยอะมากด้วย
 
คุณสมบัติ :
  • แบ็คอัพไฟล์ทั้งหมดในโฟลเดอร์ wp-content แทนการแบ็คอัพทั้งเว็บ
  • แยก การแบ็คอัพออกเป็นส่วนๆ ทั้ง Themes, Plugins, Other, Database ทำให้ง่ายต่อการกู้ข้อมูลโดยไม่ต้องอัพทั้งหมดหากต้องการกู้ข้อมูลเพียงบาง ส่วน
  • แบ็คอัพอัตโนมัติ
  • ส่งแบ็คอัพไปยัง remote storage เช่น google drive, dropbox ฯลฯ ดาวน์โหลดมาเก็บไว้เลยก็ได้
  • สามารถทำงานกับไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี สามารถแบ่งย่อยไฟล์สำหรับเว็บขนาดใหญ่เป็นหลายๆ ไฟล์ ทำให้ไม่ timeout เวลาทำการกู้ข้อมูล
  • ใช้ การกู้คืนผ่านทาง Dashboard ทำให้ไม่ต้องสร้างฐานข้อมูลเอง แค่ติดตั้ง WordPress ผ่านระบบอัตโนมัติทั่วไป แล้วก็ทำการกู้เว็บได้ ทำให้หลีกเลี่ยงการกู้คืนที่ล้มเหลวได้ และทำให้เราไม่ต้องกู้ไฟล์ทีเดียวขนาดใหญ่ได้เช่นกัน เลือกกู้เฉพาะส่วนที่ทำให้เราเกิดปัญหา
  • สามารถนำเข้าไฟล์ที่สร้างจากปลั๊กอินอื่นได้ คือ
  • มีระบบตรวจสอบหากการอัพโหลดไฟล์ไม่สมบูรณ์แล้วทำการทำซ้ำในส่วนที่มีปัญหา
  • สามารถใช้ได้กับ php ทุกเวอร์ชั่น ตั้งแต่ 5.2 ขึ้นไป
Download

การทำงานของฐานข้อมูลและไฟล์ของ WordPress
WordPress นั้นประกอบไปด้วย ฐานข้อมูล {Database) และ ไฟล์ (Files) เชื่อมต่อกัน โดยการตั้งค่าต่างๆ ของ WordPress นั้นจะถูกเก็บไว้ในฐานข้อมูล ส่วนไฟล์ต่างๆ ที่เราทำการอัพโหลด เช่น ธีม (Themes) ปลั๊กอิน (Plugins) เหล่านี้จะถูกเก็บไว้ในโฟลเดอร์ของมันโดย เช่น themes, plugins, uploads

ฐานข้อมูลจะทำหน้าที่ควบคุมและเรียกการใช้งานไฟล์ทั้งหมด เช่น ภาพนี้จะแสดงที่ไหน ลิงค์นี้จะโยงไปไหน ปลั๊กอินไหนที่จะเปิดใช้งาน ดังนั้น หากเรามีการแบ็คอัพฐานข้อมูลไว้ เราก็จะสามารถย้อนกลับไปยังการตั้งค่า ณ ตอนที่เราแบ็คอัพไว้ได้

Database ฐานข้อมูลคือส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยที่สุด และเป็นส่วนสำคัญที่สุดที่จะต้องทำการแบ็คอัพค่ะ

เพราะอะไร? เพราะหากปราศจากการแบ็คอัพแล้ว เราจะไม่สามารถกู้คืนฐานข้อมูลได้เลย ลบแล้ว ลบเลย ต่างจากไฟล์ ที่ตราบใดที่เรามีไฟล์นั้นอยู่ เราก็สามารถที่จะอัพโหลดไปยังที่ที่มันอยู่เหมือนเดิมได้ แค่อยู่ตำแหน่งเดิม ชื่อเดิม ก็ไม่มีปัญหาแล้ว ในทางกลับกัน ฐานข้อมูลนั้นมีความสลับซับซ้อนมากกว่า ถูกสร้างและลบโดยอัตโนมัติจากสคริปต์ต่างๆ บนเว็บของเรา เราไม่มีทางรู้เลยว่า เมื่อไหร่ตรงไหนจะถูกเขียนหรือลบออกไปจากข้อมูลเป็นหมื่นเป็นแสนแถว



Files
โดยพื้นฐานนั้น เว็บ WordPress เป็นเหมือนโปรแกรมๆ หนึ่ง ดังนั้น ทุกเว็บจะมีไฟล์พื้นฐานที่เหมือนกันหมดซึ่งเป็นตัวเครื่องยนต์ขับเคลื่อน เว็บไซต์ (จะต่างกันตรงไฟล์ wp-config.php ที่เป็นตัวควบคุมการเชื่อมต่อของ WordPress กับฐานข้อมูล) ส่วนไฟล์ต่างๆ ที่เราสร้างการเปลี่ยนแปลงให้กับ WordPress ไม่ว่าจะเป็น Plugins, Themes, หรือรูปภาพนั้น จะอยู่ในโฟลเดอร์ wp-content ดังนั้นปลั๊กอิน UpdraftPlus จะทำการแบ็คอัพเฉพาะไฟล์ทั้งหมดที่อยู่ในโฟล์เดอร์ wp-content เท่านั้นนะคะ ถ้าเราอยากเก็บตัวอื่นด้วยอาจต้องดาวน์โหลดมาเก็บไว้เอง เพราะปกติไฟล์อื่นๆ ของโฟลเดอร์ wp-include, wp-admin และไฟล์ php อื่นๆ นั้น จะเป็น WordPress Core ซึ่งเราสามารถที่จะโหลดมาติดตั้งใหม่แบบคลีนๆ ได้อยู่แล้ว ลองคิดว่า สมมุติเว็บเราโดนแฮก แล้วเขาไปปล่อยของใส่โฟลเดอร์เหล่านั้นไว้ แล้วเราเอาอันเดิมมากู้ มันก็ติดไวรัสอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นเราดาวน์โหลดมาติดตั้งใหม่ทุกครั้งจะชัวร์กว่าค่ะ ยกเว้นหากมีไฟล์ที่สำคัญจริงๆ อาจจะใช้ addon ชื่อ More files มาเสริม อันนี้จะทำให้เราแบ็คอัพได้ทั้งหมดใน root folder ลงมาเลยค่ะ (ส่วนใหญ่ก็คือ public_html)

Files เป็นสิ่งที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด แต่มีขนาดใหญ่ที่สุด ดังนั้นเราอาจจะไม่จำเป็นต้องแบคอัพไฟล์บ่อยๆ เหมือนฐานข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น ไฟล์ปลั๊กอิน จะมีการเปลี่ยนแปลงบางครั้งเวลาที่เรามีการอัพเดตปลั๊กอิน ไฟล์ธีมจะเปลี่ยนก็ต่อเมื่อมีการเพิ่มธีม ส่วนไฟล์ภาพต่างๆ นั้นมักไม่ค่อยมีปัญหา เพราะยังไงก็ไม่กระทบกับการทำงานของเว็บอยู่แล้ว คงไม่มีใครเปลี่ยนภาพใหม่แล้วเว็บพัง! ดังนั้นไฟล์ในโฟลเดอร์ uploads ที่เก็บไฟล์ภาพและสื่ออื่นๆ จะแบคอัพน้อยที่สุด็ได้ เพราะกินพื้นที่มากสุด อาจจะสำรองไว้เผื่อเผลอลบทั้งใจในคอมและบนเว็บค่ะ หรืออย่างเว็บของเรา เราเขียนบทความบ่อย มีการอัพโหลดภาพประกอบบทความทุกครั้ง แบบนี้เราก็จะแบคอัพบ่อยกว่าเว็บทั่วไปที่ทำแล้วปล่อยไว้เลย เช่น เว็บบริษัท พวกนี้นานๆ จะปรับเปลี่ยนทีนึง แบ็คอัพเดือนละครั้งยังได้ค่ะ เน้นไปที่เรื่องของการรักษาความปลอดภัยเว็บเพิ่มมากขึ้นจะดีที่สุด



การ Backup

หลังจากติดตั้งปลั๊กอินแล้ว ให้เราไปที่เมนู การตั้งค่า > UpdraftPlus Backup (Settings > UpdraftPlus Backups)



ผู้อ่านสามารถคลิกที่ปุ่ม Backup Now เพื่อเริ่มทำการ Backup ได้เลย ปลั๊กอินจะให้เราเลือกว่าจะแบ็คอัพอะไรบ้าง เราอาจจะเลือกเฉพาะ database ก็ได้ หรือทั้ง Database และ Files โดยหากคลิกตรง … ในข้อ Include any files in the backup เราจะสามารถเลือกได้เพิ่มเติมว่าจะเอาหรือไม่เอาโฟลเดอร์ไหนบ้าง



อย่างที่เราบอก เราอาจจะไม่เอา Uploads ก็ได้ เช่น เราจะทำการแบ็คอัพก่อนอัพเดตธีมหรือปลั๊กอิน กลัวอัพเดตแล้วจะพัง เราก็ทำการแบ็คอัพก่อน ซึ่ง เราก็ไม่จำเป็นจะต้องแบ็คอัพโฟลเดอร์ uploads กับ โฟลเดอร์อื่นๆ ในโฟลเดอร์ wp-content ก็ได้ (Any other directories found inside wp-content คือโฟลเดอร์อื่นนอกเหนือจาก plugins, themes, upload ซึ่งอาจถูกสร้างโดยปลั๊กอินบางตัว เช่นโฟลเดอร์ cache) แบ็คอัพเฉพาะโฟลเดอร์ Themes หรือ Plugins ที่เราแล้วแต่ว่าเราจะอัพเดตส่วนไหน ส่วนไฟล์อื่นๆ ก็ไม่จำเป็น เช่นนี้ ก็ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลา เสียทรัพยากร ไปกับการแบคอัพมากเกินไป

เมื่อเลือกได้แล้วก็คลิกที่ปุ่ม Backup Now

จากนั้นรอซักครู่ ไม่นาน อยู่ที่ขนาดของไฟล์ เมื่อเสร็จแล้ว ให้เราคลิกที่แท็บ Existing Backup ค่ะ ก็จะเห็นแบ็คอัพที่เราได้สร้างไว้ก่อนหน้านี้


หากเราอยากดาวน์โหลดไว้บนเครื่องของเรา คลิกที่ตัวที่เราต้องการจะดาวน์โหลด แล้วโปรแกรมก็จะประมวณผล เสร็จแล้วเราสามารถที่จะคลิกปุ่ม Download to your computer ได้เลย โดยปลั๊กอินจะแยกเป็นหลายๆ ไฟล์แบบนี้นะคะ ไม่ได้รวมกันเป็นก้อนเดียวเหมือนบางปลั๊กอิน ทำให้เวลาที่เราจะกู้คืนนั้นก็ไม่ต้องอัพโหลดทีละทั้งก้อนใหญ่ๆ ช่วยลดเวลาค่ะ



โดยเราจะไม่ดาวน์โหลดก็ได้ค่ะ ไฟล์แบคอัพจะถูกเก็บไว้บนโฮ้สต์ เราสามารถลบอันเก่าๆ ออกก็ได้ แต่ดาวน์โหลดเก็บไว้ก็จะใช้ได้หลายกรณี เช่น การย้ายเว็บไปที่อื่นหรือย้ายมาลองติดตั้งบนเครื่องของเราเอง เป็น ต้น หากมีพื้นที่บนโฮ้สต์น้อย ก็อาจจะดาวน์โหลดมาไว้หมด แล้วลบที่อยู่บนโฮ็สต์ออกโดยการคลิกปุ่ม Delete ก็ได้เช่นกันค่ะ เพราะการกู้ข้อมูลนั้นเราก็ต้องมีพื้นที่เหลือสำหรับการนำไฟล์กลับขึ้นไป ด้วยค่ะ กู้เสร็จระบบจึงจะลบไฟล์ออก ดังนั้นจึงต้องมีพื้นที่เหลือพอที่จะกู้ข้อมูลเสมอ มันไม่ได้กู้จากฮาร์ดดิสเหมือนเรากู้จากรูปภาพจาก usb drive นะคะ แต่เป็นการกู้จากไฟล์ที่สำรองไว้แล้ว ต้องนำไฟล์เหล่านั้นขึ้นไปใหม่แล้วเชื่อมต่อและปรับปรุงฐานข้อมูลอีกครั้ง
การ Restore
สำหรับ การกู้คือนนั้น ก็ให้เราคลิกที่ปุ่ม Restore แล้วคลิกเลือกตัวเลือกที่เราต้องการจะกู้คืน เช่น เราอาจจะเลือกกู้คืนเฉพาะปลั๊กอินก็ได้ หากติดตั้งปลั๊กอินเวอร์ชั่นใหม่ลงไปแล้วมันไม่ดีเหมือนตัวเดิม หรือมี error เป็นต้น


หากเราไม่สามารถเข้าเว็บได้เลย อาจจะแล้วไม่รู้ว่าจะแก้ยังไงจริงๆ ก็อาจจะทำการกู้คืนทั้งหมด โดยทำการติดตั้ง WordPress ใหม่ แล้วก็ติดตั้ง UpdraftPlus จากนั้นก็ทำการกู้คืนโดยการเลือก Upload backup files ในแท็บ Existing Backups ก่อน เพื่อทำการอัพโหลดไฟล์ที่เราได้ดาวน์โหลดไว้ก่อนหน้านี้ขึ้นไป แล้วค่อยทำการ Restore ตามปกติ โดยเลือก Restore ทุกอย่างค่ะ (ลองอ่านที่ขั้นตอนถัดไป จะมีแบบแบคอัพไว้บน Dropbox ก็ได้ ทีนี้แค่เราเชื่อมต่อกับ Dropbox ได้ เราก็จะกู้ข้อมูลได้ โดยไม่จำเป็นต้องแบกไฟล์แบคอัพไปมาเลย จะย้ายเว็บอะไรก็สะดวกค่ะ)สำ หรับเว็บที่มีขนาดใหญ่มาก อาจจะอัพและกู้ทีละอย่าง โดยแนะนำให้กู้ฐานข้อมูลเป็นขั้นตอนสุดท้ายค่ะ แต่การกู้ทีละอย่างบางทีก็อาจจะมีแจ้งเตือนอะไรบ้าง เพราะมันยังไม่ได้ประกอบร่างกัน หากันยังไม่เจอนั่นเอง แต่คนเขียนเขาแนะนำมาแบบนี้แหละค่ะ


กลับ มาสู่ขั้นตอนการ Restore ตามปกตินะคะ ทำเหมือนกัน ไม่ว่าจะเข้าหรือไม่สามารถเข้าเว็บได้ โดยเมื่อเราคลิกที่ Restore ระบบก็จะทำการเตรียมข้อมูล จะแจ้งแบบนี้เมื่อพร้อมแล้ว ให้เราคลิก Restore อีกรอบค่ะ


หลัง จากนั้นระบบก็จะทำการกู้คือไฟล์และฐานข้อมูลต่างๆ จนเสร็จเรียบร้อยก็จะให้เราล็อกอินใหม่ค่ะ (ใช้ชื่อและรหัสผ่านของตัวที่กู้คืนมา)


หลังจากนั้นระบบก็จะแจ้งให้เรากดปุ่ม Delete Old Directories เพื่อลบไฟล์เดิมก่อนการแบ็คอัพออก เพราะเพื่อป้องกันการผิดพลาดเนี่ย UpdraftPlus จะทำการเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์เดิมโดยเติมคำว่า old ต่อท้าย แล้วทำการปล่อยไฟล์ได้จาการแบ็คอัพไปแทนที่ ดังนั้นจึงทำให้เรามีข้อมูล 2 ชุด คือชุดเก่าที่ตามด้วย old และชุดใหม่หลังการ restore ซึ่งก็คือชื่อปกติ เราก็กด Delete Old Directories ได้เลยค่ะ


ระบบก็จะแจ้งให้ทราบเมื่อลบเรียบร้อยแล้ว เป็นอันเสร็จขั้นตอนการ Restore


หากต้องการทำแบบนี้กับเว็บอื่นที่ไม่ได้ใช้โดเมนเดียวกัน เช่น การย้ายโฮ้สต์ใหม่โดยเปลี่ยนชื่อเว็บใหม่ด้วย หรือย้ายจากเว็บที่ทดลองทำบนเครื่อง ซึ่งส่วนใหญ่อาจจะเป็น localhost ขึ้นเว็บจริง ก็ถือว่าคนละโดเมน จะต้องซื้อ Addon เสริมต่างหาก เรียกว่า Migrator หรืออาจจะใช้ปลั๊กอินอื่นแทน เช่น Duplicator ซึ่งจะเป็นการทำงานคนละแบบ ตัว Duplicator นั้นจะเป็นการโคลนทั้งเว็บโยนลงโฮ้สต์เลย
ข้อแตกต่าง ของ ปลั๊กอิน 2 แบบนี้ (แบบที่โคลนเป็นก้อนแล้ววางบนโฮ้สต์เลย กับแบบติดตั้ง WordPress ก่อนแล้วค่อยกู้เว็บกับคืนมา) ประการแรกคือ มีความสะดวกต่างกัน แบบแรกนั้นชัดเจนตรงไม่ต้องติดตั้ง WordPress ก่อน แต่… เราก็ยังต้องไปสร้างฐานข้อมูลเพื่อเชื่อมต่อกันอยู่ดี บางทีการสร้างฐานข้อมูลนี้วุ่นวายกว่าเสียอีก เพราะเดี๋ยวนี้ แทบทุกโฮ้สต์นั้นมี Auto Install หมด กด 3 ทีก็ติดตั้ง WordPress เสร็จแล้ว ไม่ต้องมานั่งก๊อปฐานข้อมูล ทำให้ง่ายมาก
ประการ ที่ 2 การรองรับของโฮ้สต์ แบบแรกนั้นเป็นการติดตั้งลงบนโฮ้สต์เปล่าๆ แบบนำแพกเกจไปวาง บางครั้งจะเป็นไปได้ที่การติดตั้งไม่เสร็จสิ้นเพราะ error ต่างๆ ทำให้การกู้ข้อมูลไม่สำเร็จ เพราะโฮ้สต์เปล่าๆ นั้นอาจจะไม่ได้ตั้งค่ามาให้เหมาะสม ส่วนแบบที่ติดตั้ง WordPress ก่อนอย่าง UpdraftPlush นั้น เราใช้ตัวติดตั้งอัตโนมัติของโฮ้สต์ ซึ่งปกติก็จะปรับตั้งค่าต่างๆ ให้เหมาะสมกับ WordPress อยู่แล้วค่ะ
Automatic Backup
ที่แท็บSettings นั้น จะมีการตั้งค่าแบ็คอัพอัตโนมัติ ดังต่อไปนี้
Files backup schedule นั้นคือการตั้งให้แบ็คอัพไฟล์ (โฟลเดอร์ wp-content ทั้งหมด)
 Database backup schedule คือการแบ็คอัพฐานข้อมูล
ทั้ง 2 อย่างนี้สามารถกำหนดช่วงเวลาในการแบ็คอัพได้ดังนี้ คือ
Manual : แบ็คอัพเอง
 (ไม่ต้องการใช้ระบบอัตโนมัติ)
 Every 4 hours : ทุก 4 ชั่วโมง
 Every 8 hours : ทุก 8 ชั่วโมง
 Every 12 hours : ทุก 12 ชั่วโมง
 Daily : วันละครั้ง
 Weekly : สัปดาห์ละครั้ง
 Fortnightly : ปักษ์ละครั้ง (ทุกครึ่งเดือน)
 Monthly : เดือนละครั้ง


ตรง retrain this many scheduled backups หมายถึงจะให้คงแบ็คอัพไว้กี่อัน ถ้าเกินนั้นก็จะลบอันเก่าที่เกินออก เหลือที่ไว้ให้อันใหม่ค่ะ ถ้าพื้นที่เรามีไม่มาก ก็อาจจะไม่ต้องเก็บไว้เยอะก็ได้ ส่วนใหญ่ก็จะกู้ข้อมูลล่าสุดอยู่แล้ว
การเริ่มต้นแบ็คอัพอัตโนมัติ นั้น จะนับจากครั้งแรกที่เราทำการแบ็คอัพนะคะ เช่น หากเราแบ็คอัพครั้งแรกตอน บ่ายโมง แล้วเราตั้งเป็น Daily มันก็จะแบ็คอัพอีกทีของบ่ายโมงวันถัดไป ดังนั้น หากเราต้องการให้แบ็คอัพรันตอนดึกๆ ช่วงไม่มีคน ก็ต้องเริ่มแบ็คอัพครั้งแรกที่ตอนนั้น หรือ หากต้องการเปลี่ยนเวลาตรงนี้ เราต้องซื้อ Backup time and scheduling addon ($10) จะช่วยให้เราตั้งเวลาได้อย่างอิสระ ทั้งเวลาที่ต้องการแบ็คอัพและแบคอัพตัวที่ต้องการเก็บไว้และลบออก ได้ด้วย
เรา สามารถที่จะแยกการแบ็คอัพออกจากกันได้ ระหว่างการแบ็คอัพไฟล์ และแบ็คอัพฐานข้อมูล เช่น แบ็คอัพไฟล์อาทิตย์ละครั้ง แบ็คอัพฐานข้อมูลทุกวัน เป็นต้น การกำหนดระยะนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าเว็บเรามีการเปลี่ยนแปลงบ่อยแค่ไหน โพสบ่อยแค่ไหน ถ้าเว็บนิ่งๆ เราก็อาจจะเซ็ตให้ไม่ต้องแบ็คอัพถี่ๆ ก็ได้ค่ะ
การ กำหนดความถี่ในการแบ็คอัพนั้น สำหรับฐานข้อมูลของเว็บที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ คือ เขียนบทความอยู่เรื่อยๆ มีบทความปล่อยทุกวัน หรือสัปดาห์ละครั้ง ส่วนการแบ็คอัพไฟล์ ก็อาจจะไม่ต้องทำบ่อยมากก็ได้ค่ะ เพราะยังไงมันก็ไม่ค่อยหายไปไหน อาจจะทำแค่เดือนละครั้งก็ได้ เพราะใช้เวลาในการแบ็คอัพนานกว่า กินพื้นที่มากกว่าเยอะเลยค่ะ
Backup to Remote Storage
คือการส่งไฟล์แบ็คอัพที่เสร็จแล้วไปยังพื้นที่เก็บไฟล์ภายนอก เช่น เก็บไว้บน Dropbox, Google Drive, Amazon S3 ซึ่งข้อดีก็คือ เราสามารถมีไฟล์เก็บไว้ 2 ชุด ทั้งบนโฮ้สของเรา นอกจากนี้ยังมีประโยชน์เวลาเราไม่ได้อยู่บนเครื่องตัวเอง ก็อาจจะสั่งกู้คืนด้วยการคลิก Rescan remote storage ในหน้า Resotore ระบบก็จะทำการสแกนหาไฟล์ที่เราเก็บไว้บน storage เหล่านั้นพร้อมให้เรากู้คืนได้เลยค่ะ (ถ้าโฮ้สต์เราอยู่ต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ แบบที่เราใช้ของ DigitalOcean อยู่นี้ จะบอกว่ามันเร็วกว่าเราอัพเองอีกนะ ไม่อยากจะพูดเลยว่าเน็ตอัพโหลดบ้านเราช้ามากกก ยิ่งออกนอกยิ่งช้าไปใหญ่ ใครเคยอัพ Youtube น่าจะรู้ดี –)


การ เชื่อมต่อกับแต่ละ remote storage ก็จะมีวิธีการแตกต่างกัน โดยเป็นการเชื่อมต่อ api ของแต่ละเจ้า เราแค่คลิกที่ผู้ให้บริการที่เราใช้บริการอยู่ เช่น Dropbox ลงทะเบียนฟรี แล้วเลื่อนไป Save Changes ด้านล่านงสุด แล้วก็เลื่อนกลับมาคลิกลิงค์แบบนี้เพื่อทำตามขั้นตอนการ verify ได้เลย




ถ้าทำจนหมดทุกขั้นตอนจะกลับมาที่หน้า Settings แล้วเจอข้อความและชื่อแอคเค้าท์ Dropbox ของเราแบบนี้ แปลว่าเรียบร้อยแล้ว


เมื่อมีการแบ็คอัพก็จะส่งไฟล์ไปยัง Dropbox ของเรา โดยอยู่ในโฟลเดอร์ Apps > UpdraftPlush ค่ะ


ซึ่ง เราไม่สามารถจะสร้างโฟลเดอร์เองได้ จึงเหมาะกับการใช้กับเว็บเดียวนะคะ ใช้กับหลายเว็บมันจะสับสนนิดนึง นอกจากจะเพิ่ม addon Dropbox Sub-folder หรือซื้อรุ่นพรีเมี่ยม จะมีให้เราสร้างโฟลเดอร์แยกย่อยแต่ละเว็บได้ค่ะ


รุ่นพรีเมี่ยมจะกำหนดโฟลเดอร์ได้

Include in files bakup คือตัวเลือกที่ให้เรากำหนดว่าจะแบ็คอัพอะไรบ้าง ซึ่งเขาก็จะเลือกไว้เป็นค่าพื้นฐานแล้ว แต่ในครั้งต่อไป เราอาจจะไม่ต้องการแบ็คอัพ Themes, Plugins ก็ได้ Exclude these ไว้สำหรับใส่ชื่อไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เราไม่ต้องการให้แบ็คอัพค่ะ



Database encryption phrase อันนี้เป็นของเวอร์ชั่น Premium หรือจะซื้อเป็น addon ก็ได้ More database options $20 เป็นการเข้ารหัสฐานข้อมูลแบ็คอัพค่ะ ทำให้คนอื่นที่ไม่รู้รหัสจะไม่สามารถกู้ได้นั่นเอง หากมีไฟล์ที่เข้ารหัสไว้อยู่ก็ให้คลิกที่ลิงค์ You can manually decrypt an encrypted database here.
Email ส่งเมลแจ้งเมื่อการแบ็คอัพเสร็จเรียบร้อยแล้ว



Expert Settings เราสามารถเปิด Expert Settings เพื่อตั้งค่าเพิ่มเติมได้โดยการคลิกที่ลิงค์ Show expert settings เช่น
Split archives every : MB กำหนดให้ทำการหั่นไฟล์แบ็คอัพให้มีขนาดไฟล์ละไม่เกิน 400 MB เราสามารถใส่ตัวเลขที่ต้องการได้ อันนี้ไว้ใช้สำหรับเว็บที่มีขนาดใหญ่ ทำให้ไม่ล้มเหลวในการกู้ข้อมูลค่ะ
Delete Local backup: คือการกำหนดให้ลบไฟล์แบ็คอัพบนเซอร์เวอร์ของเราทิ้งหลังจากที่มีการส่งไปยัง remote storage เช่น dropbox เรียบร้อยแล้ว เป็นต้น


Add-ons
addon คือ ตัวเพิ่มความสามารถให้กับฟังชั่นต่างๆ ของปลั๊กอิน สำหรับคนที่ต้องการขั้น advance ขึ้นไปอีก ซึ่งถ้าทำเว็บส่วนตัวเว็บเดียวคนเดียวแล้ว ตัวฟรีก็ค่อนข้างสบายแล้วค่ะ
  • Migrator $30 สำหรับการย้ายเว็บ โคลนเว็บ ทำให้ย้ายเว็บจากโดเมนหนึ่งไปใช้อีกโดเมนนึงทำได้ง่าย เช่น ย้ายจากเครื่องเราไปยังโฮ้สต์จริง เป็นต้น[/l][/l]
Automatic $25 Backup แบ็คอัพอัตโนมัติทุกครั้งที่มีการอัพเดตธีมหรือปลั๊กอิน ถ้ามีปัญหาก็กู้คืนของก่อนหน้านี้ได้เลย
Backup time and scheduling $10 ตั้งเวลาแบ็คอัพอัตโนมัติที่ตามต้องการ
More file $15 แบ็คอัพโฟลเดอร์อื่นๆ เหนือขึ้นไปจากโฟลเดอร์ wp-content ได้ ปกติไฟล์จะอยู่แต่เฉพาะใน wp-content แต่หากเว็บใครมีนอกเหนือจากนั้น เช่น เว็บที่มีการเขียน .htaccess พิเศษ หรือมีพวกไฟล์อื่นๆ ที่ต้องเอาไว้บน Root folder เท่านั้น แล้วไม่อยากดาวน์โหลดมาอัพเอง ก็อาจจะซื้อตัวนี้เพิ่มค่ะ จะแบ็คอัพเป็นซิปไฟล์ได้เลย
Multiple storage $20 destinations ส่งก๊อปปี้ไฟล์ไป remote storage ได้หลายเจ้า จากที่ปกติได้แค่ที่เดียว
Dropbox Subfolder อันนี้ไว้สำหรับสร้างโฟลเดอร์เอง เพราะปกติมันจะกองรวมกันไว้ที่โฟลเดอร์ Apps > UpdraftPlus แต่หากใครต้องจัดการกับหลายเว็บรวมไว้ที่เดียวกันอาจจะงงได้ เดี๋ยวกู้ผิดตัวแย่แน่นอน ตัวนี้จะทำให้เราช่วยสร้างโฟลเดอร์แยกกันได้ค่ะ (เจ้าอื่นๆ ก็มี)
สามารถดู Addon อื่นๆ ได้ที่หน้า https://updraftplus.com/shop/
หรือ เราสามารถซื้อราคาเดียวทั้งหมดเลย ที่ $70-$145 (Personal plan 2 sites, Business plan 10 sites, Developer plan Unlimited sites) ก็จะได้ซัพพอร์ต/อัปเดต 1 ปี ส่วนตัวคิดว่าคุ้มมากๆ ค่ะกับเงินที่จ่าย เพราะ extension เยอะมากๆ เหมาะกับมืออาชีพเลย ถ้าคนทั่วไปอยากแค่จะย้ายโฮ้ส เว็บไม่ใหญ่มาก เราขอแนะนำอีกตัวเลือก All-In-One WP Migration ตัวนี้ก็ดีมากเช่นกัน ฟรีด้วย แต่ถ้าเป็นเรื่องแบคอัพ UpdraftPlus เจ๋งสุดละค่ะ


ที่มา: http://www.wpthaiuser.com/updraftplus/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 มกราคม 2017, 17:16:34 โดย smf »