สินสมรส ได้แก่ทรัพย์สิน
(1) ที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส
(2) ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส โดย พินัยกรรมหรือโดยการให้เป็นหนังสือ เมื่อพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ระบุว่า เป็นสินสมรส
(3) ที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
โดยไม่ต้องคำนึงว่า ฝ่ายใดได้มีส่วนร่วมในการทำมาหาได้หรือไม่ ทั้ง นี้เพราะการสมรสเปรียบเสมือนการเข้าเป็นหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ สินสมรสก็ เหมือนกับกำไรที่หุ้นส่วนหามาได้ จึงควรเป็นเจ้าของร่วมกันทั้งสามีภริยา
ยกตัวอย่างเช่น เงินเดือน ค่าจ้าง ค่าตอบแทน เป็นสิน สมรส ซึ่งทั้งสามีภริยามีส่วนเป็นเจ้าของคนละครึ่ง และนอกจากนี้แม้สามี ภริยาแยกกันอยู่ โดยไม่ได้หย่าขาดจากกันโดยเด็ดขาด คือไม่ได้จดทะเบียน หย่า ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ระหว่างแยกกันอยู่ก็ยังเป็นสินสมรส
สามีที่บวชเป็นพระ หากมีผู้นำเงินมาถวาย เงินจำนวนดังกล่าวถือว่าเป็น การให้โดยเสน่หา จึงเป็นสินส่วนตัวสามี ทั้งนี้เพราะหากการให้โดยเสน่หา นั้น ไม่ได้ระบุว่าเป็นสินสมรส
สามีเข้าป่าล่าสัตว์ได้หมูป่ามา 4 ตัว หมูป่า 4 ตัวนี้เป็นสิน สมรส หรือภริยาฉ้อโกงเงินบุคคลอื่นมาจำนวน 10,000 บาท เงินจำนวนนี้ถือว่า เป็นสินสมรส เพราะเป็นทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรส
เงินที่ได้มาจากการเสี่ยงโชคสลากกินแบ่งรัฐบาล หรือเล่นการพนันก็ต้องถือว่าเป็นสินสมรส
สินส่วนตัวคือทรัพย์สินที่สามีภริยาได้มีอยู่ก่อนการสมรส
เมื่อสามีได้นำเงินส่วนตัวไปซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลก่อนที่จะสมรสกัน สลากกิน แบ่งรัฐบาลจึงเป็นสินส่วนตัว แต่สลากกินแบ่งรัฐบาลมาออกและถูกรางวัลภายหลัง ที่สามีได้สมรสกับภริยาแล้ว เงินรางวัลจึงเกิดขึ้นระหว่างสมรส
ย่อมทำให้เงินที่ได้รับมาจากกองสลากกินแบ่งรัฐบาลนั้นเป็นสินสมรส
ที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ห้อง จำเลยได้รับโอนมาภายหลังจากโจทก์และ จำเลยจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ส่วนเงินดาวน์ของที่ดินและของห้องชุดที่จำเลยนำ ไปชำระนั้น จำเลยถอนเงินจากบัญชีเงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นสินส่วนตัวของ จำเลย แต่เงินในบัญชีดังกล่าวมีรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยรวมอยู่ ด้วย ซึ่งรายได้จากกิจการร้านเสริมสวยเป็นสินสมรส
เพราะได้มาระหว่างสมรสและไม่อาจแยกได้ว่าส่วนไหนเป็นเงินส่วนตัวจำเลย ส่วน ไหนเป็นเงินสินสมรสได้ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่อาจฟังได้ว่ามีเงินส่วนตัวของ จำเลย จำนวนเท่าใดปะปนอยู่กับเงินดาวน์ของที่ดินและห้องชุดทั้งสี่ กรณีนี้ “ถ้ากรณีที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างใดเป็นสินสมรสหรือมิ ใช่ ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นสินสมรส” ที่ดินและห้องชุดนี้จึงเป็นสินสมรส เต็มจำนวนและจะต้องแบ่งออกให้โจทก์และจำเลยคนละครึ่ง
หลังจากที่นายแดงได้เข้าไปอยู่ในบ้านหลังดังกล่าว ในช่วงปีแรกก็ส่ง ค่าเช่าตามกำหนดทุกเดือน แต่พอปีต่อมาปรากฏว่า นายแดงไปอ่านหนังสือกฎหมาย แล้วเกิดความหัวหมอว่า ถ้าเช่าบ้านกันไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือลงลายมือชื่อ ฝ่ายที่ต้องรับผิดเป็นสำคัญจะฟ้องร้องกันไม่ได้ นายแดงก็เลยเบี้ยวเอา ดื้อๆ เมื่อนายดำมาทวงเขาก็บอกให้ไปฟ้องร้องเอา แต่นายดำเห็นว่าตนมีเงินมาก แล้วไม่คิดจะอยากได้เงินหรอก แต่เจ็บใจที่อุตส่าห์เชื่อใจกลับมาเบี้ยวกัน ดื้อๆ จึงตัดสินใจให้ทนายฟ้องขับไล่นายแดงพร้อมกับเรียกค่าเสียหาย
ถามว่า : “นายดำสามารถทำได้หรือไม่”
ตอบ : “ได้ครับ กรณีนี้แม้ไม่มีหลักฐานการเช่าหรือสัญญาเช่า ต่อกัน ก็ถือว่าผู้ให้เช่ามีอำนาจฟ้องขับไล่ได้ โดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองของผู้ให้เช่า และถือว่าอยู่โดยอาศัยสิทธิของผู้ให้ เช่า เมื่อผู้ให้เช่าไม่ประสงค์จะให้เช่าต่อไป ย่อมฟ้องขับไล่ฐานละเมิดได้”
คำพิพากษาฎีกาที่ 229/2529 วินิจฉัยว่า การฟ้องขับไล่และ เรียกค่าเสียหายกรณีการเช่าไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น มิใช่การฟ้องบังคับ ตามสัญญาเช่าแต่เป็นการฟ้องโดยอาศัยอำนาจกรรมสิทธิ์ของเจ้าของทรัพย์ เมื่อ โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยอยู่ในที่พิพาทต่อไป และบอกกล่าวให้ออกแล้วจำเลยไม่ ออก จึงเป็นการอยู่โดยละเมิดโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายได้
การเช่าระยะยาวนั้น การเช่านี้ต้องไปทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ สิ่งที่ กฎหมายต้องการในกรณีดังกล่าวข้างต้นคือหนังสือสัญญาเช่า (จึงต้องลงลายมือ ชื่อคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย) และจะต้องจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ด้วย เช่น หนึ่งตกลงให้สองเช่าบ้านมีกำหนด 5 ปี ทั้งสองฝ่ายต้องไปทำหนังสือ สัญญาเช่ากันที่ที่ว่าการอำเภอและจดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้า หน้าที่ สัญญาเช่าจึงมีผลบังคับกันได้ 5 ปี ตามข้อตกลงไม่เช่นนั้นสัญญาเช่า ที่ทำกันเองจะมีผลบังคับได้เพียงสามปี
ที่มา:
http://www.fpmconsultant.com/htm/advocate_dtl.php?id=106