DigitalOcean Simple Cloud Hosting
DigitalOcean คือ
VPS (Virtual Private Server) เวอร์ชั่น Cloud คือหลังจากที่ผู้เขียนได้มีความสนใจใน DigitalOcean มาซักระยะแล้ว เริ่มตั้งแต่ที่เว็บไทยล่มกันค่อนประเทศปีที่แล้วหลายรอบ เพราะศูนย์ใหญ่ล่ม ไม่ว่าจะจากชาวม๊อบบ้าง ไฟดับบ้าง บลาๆ เลยรู้สึกว่าเราอยากที่จะมี
Cloud Hosting เป็นของตัวเอง Cloud Hosting ก็คือการที่เว็บของเราอยู่บนระบบ Cloud ผ่านการทำงานของเซิฟเวอร์หลายๆ ตัว ทำให้แม้ว่าตัวใดตัวหนึ่งจะล่ม แต่เว็บเราก็จะไม่ล่มไปด้วยนั่นเอง ต่างจาก Share Host หรือ VPS ทั่วไปที่หากตัวไหนร่วง ทุกรายที่อยู่ในนั้นก็จะร่วงทั้งหมด! แถม Digital Ocean ยังมีราคาถูกพอๆ กับ Share Host ทั่วๆ ไปอีกด้วย
เหตุผล ที่ยังรีรออยู่เพราะตัวผู้เขียนเองนั้นไม่ได้มีความรู้เรื่องของเซิฟเวอร์ เพราะถึงแม้ว่าเราจะได้เซิฟเวอร์เป็นของตัวเอง ไม่ต้องแบ่งใช้กับคนอื่นเหมือน Share Host แต่เราก็ต้องติดตั้งเองหมด ทั้งระบบปฏิบัติการ (OS) หรือไม่ว่าจะเป็น
Php, MySQL, Apache และอีกหลายตัวที่แค่จะเลือกแต่ละเวอร์ชั่นมาติดตั้งก็งงแล้ว การคอนฟิกนั้นยังยากกว่า แถมระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้อย่าง
Ubuntu ยังเป็น Command Line ซึ่งการจะสั่งงานอะไรซักอย่างต้องพิมพ์สั่งเหมือนโค้ดลับตลอด (ผู้เขียนรู้สึกแบบนั้นจริงๆ) ซึ่งดูไปแล้วมันจะเหมาะกับ Developer เสียมากกว่า จนกระทั่งวันหนึ่ง เราก็ได้รู้จักกับ….ServerPilot
ServerPilot คือผู้ให้บริการติดตั้งโปรแกรมต่างๆ ดังที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ โดยรวบแพกเกจต่างๆ สำหรับเซิฟเวอร์และ WordPress มัดรวมกันแล้วติดตั้งทีเดียวเลย เหมือนกับเราใช้ระบบติดตั้งอัตโนมัติ (
lnw install) บน Share Host เลยค่ะ ทำให้การที่จะสร้างเซิฟเวอร์และติดตั้งแพกเกจต่างๆ เพื่อรันเว็บ WordPress นั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมากๆ แต่ข้อเสียก็มีเช่นกัน เพราะเราจะไม่มี Control Panel อย่าง DirectAdmin หรือ cPanel บนแชร์โฮ้สต์นั่นเองค่ะ โดย ServerPilot นั้นสามารถใช้ได้กับ VPS หลายเจ้า รวมทั้ง
DigitalOcean ด้วย ซึ่งจริงๆ แล้ว DigitalOcaean เองนั้นก็สามารถที่จะสั่งติดตั้ง WordPress ได้อยู่แล้ว แต่ว่า ServerPilot จะดีกว่า เพราะมีการปรับแต่งเซิฟเวอร์ให้ดีที่สุดสำหรับ WordPress โดยเราไม่จำเป็นต้องมีความรู้เรื่องเซิฟเวอร์ในการปรับแต่งเอง และยังฟรีอีกด้วย ใช้เวลาในการติดตั้งไม่ถึง 10 นาที
ข้อดีของการใช้ ServerPilot ในการติดตั้ง WordPress- ServerPilot นั้นจะติดตั้ง WordPress ของเราบนโดยติดตั้ง Server แบบ Nginx ใช้ FastCGI และ PHP-FPM ซึ่งมีความเร็วและรองรับการใช้งานได้มากกว่า Apache ธรรมดาทั่วไป
- ServerPilot ปรับแต่งเซิฟเวอร์เป็นแบบ Asynchronous ทำให้สิ้นเปลืองแรมน้อยกว่าเดิม
- มี PHP หลายเวอร์ชั่นสำหรับการเลือกใช้งาน และเราสามารถที่จะสลับเวอร์ชั่นได้อย่างง่ายดายเมื่อไหร่ก็ได้
- ไม่กินทรัพยากรของเซิฟเวอร์มากเหมือนการใช้ Control Panel
- รองรับ HTTP/2 ทำให้เซิฟเวอร์สามารถรับรีเควสจากเว็บบราวเซอร์ได้เป็นจำนวนมากสำหรับเว็บ https
- สามารถติดตั้ง ssl (https) ได้ฟรีสำหรับแพลน Coach ทำให้เราไม่ต้องซื้อมาใส่เองและไม่ต้องลำบากติดตั้งเองอีกด้วย
- อัพเดตแพกเกจต่างๆ ของเซิฟเวอร์ให้โดยอัตโนมัติ
- ใช้ SFTP ในการอัพโหลดดาวน์โหลดไฟล์ระหว่างเครื่องเราและเครื่องเซิฟเวอร์ ปลอดภัยกว่า FTP ทั่วไป
- ไม่ จำเป็นต้องรู้เรื่องเซิฟเวอร์หรือเขียนคำสั่งต่างๆ เองเป็น เพราะส่วนใหญ่นั้นตั้งค่ามาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว หรือเราสามารถที่จะปรับเปลี่ยนผ่าน ServerPilot ได้ง่ายๆ
ServerPilot ไม่ได้เพียงแต่ติดตั้งเซิฟเวอร์ให้เราอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังพ่วงความสะดวกในเรื่องของความปลอดภัยอื่นๆ ด้วย
สมัคร DigitalOceanทำการสมัคร
DigitalOcean ผ่านลิงค์นี้ จะได้รับเงินในระบบ $10 ซึ่งเมื่อเราจ่ายเงินเพื่อเริ่มแพลนเช่น แพลน 5$ ก็จะเท่ากับเราได้ $15 ได้ใช้ฟรีๆ 2 เดือนค่ะ ใส่อีเมลและรหัสผ่านที่ต้องการสร้างแอคเค้าท์ได้เลย
หลัง จากนั้นเราก็จะได้อีเมลมา 2 ฉบับแบบนี้ ให้เราคลิกลิงค์คอนเฟริมที่อีเมลแรกค่ะ ส่วนอีเมลที่ 2 คือแจ้งว่าเราได้รับเครดิต $10 แล้ว
หลัง จากนั้นระบบก็จะให้เราใส่รายละเอียดของการจ่ายเงินค่ะ ใครใช้เครดิตก็เลือกช่องเครดิต แต่ผู้เขียนก็จะใช Paypal นะคะ ก็เลือกว่าจะเติมเข้าไปเท่าไหร่ อาจจะลองด้วย $5 ก็ได้ค่ะ เพราะยังไงก็ได้อีก $10 อยู่แล้วถ้าจะลองเล่นแพลนที่สูงกว่านี้ค่ะ (DigitalOcean มีระบบติดตั้ง WordPress อัตโนมัติเช่นกัน เพียงแต่ต้องเป็นแพลน $10 ขึ้นไป ซึ่งก็จะได้แบนวิทและแรมมากกว่าเดิมด้วย)สร้าง Dropletคลิกที่ปุ่ม
Create Droplet ด้านบนเพื่อสร้าง Droplet หรือเครื่องจำลองบนคลาวด์ของเราค่ะ
1.1 Create Dropletตั้งชื่อให้กับ
Droplet ของเรา จากนั้นก็เลือกไซต์ที่ต้องการด้านล่าง ซึ่งถ้าใครอยากจะใช้ระบบติดตั้ง WordPress อัตโนมัติของ DigitalOcean เลยก็ให้เลือกเป็นแบบ $10 นะคะ ก็จะได้แรมและแบนวิทเพิ่มด้วย คุ้มดีเหมือนกัน แต่หากใครจะเริ่มต้นเล็กๆ ก็เลือกแบบ $5 ก็ได้แล้วเราจะใช้
ServerPilot ติดตั้งต่างหากค่ะ
1.2 กรอก Hostname และเลือก Sizeต้องบอก ก่อนว่าจริงๆ แล้ว DigitalOcean ไม่ได้คิดเป็นรายเดือน แต่คิดเป็นรายชั่วโมงตามการใช้งาน ซึ่งเขาตีออกมาให้คิดง่ายๆ เป็นรายเดือนแบบนี้แทนนั่นเองค่ะ ซึ่งหากเราไม่ได้ใช้ เช่นตอนนี้ผู้เขียนยังไม่ได้ใช้ เพราะของเดิมยังเหลือนานอยู่ ก็อาจจะลบทิ้ง เงินก็จะยังคงอยู่เหมือนเดิมจนกว่าจะเปิดใช้อีกค่ะ เขาก็จะนับไปเรื่อยๆ
ขั้นตอนต่อไปก็คือการเลือกโซน ในที่นี้เราทำเว็บไทย เน้นกลุ่มคนไทย ก็จะเลือก
Singapore ซึ่งอยู่ใกล้สุด จะได้เข้าเว็บได้เร็วกว่าค่ะ เพราะเน็ตบ้านเรานั้นออกนอนจะช้ามากๆ แบบไม่สามารถคาดหวังได้
1.3 เลือกโซน (Region)
จากนั้นเลือก Ubuntu 14.04 x64 เป็นระบบปฏิบัติการ (OS) ของเราค่ะ
1.4 เลือก OS
เสร็จแล้วจึงคลิกที่ปุ่ม Create Droplet ด้านล่างสุด
ระบบก็จะเริ่มสร้าง Droplet ให้เราค่ะ
หลังจากสร้างเสร็จก็จะมีอีเมล แจ้ง
IP Address,
Username,
Password มาให้เราแบบนี้ค่ะ ซึ่งเขาจะบอกให้เราเข้าไปเปลี่ยนรหัสผ่านเสียก่อน
1.5 รายละเอียด Droplet
การเปลี่ยนรหัสผ่านทำได้โดยการคลิกที่ปุ่ม Console Access
1.6 Console Accessขั้นแรกก็ให้กด Enter ก่อน 1 ครั้ง แล้วก็ให้เราใส่ชื่อล็อกอินเป็น
root ตามที่ได้มาจากอีเมล จากนั้นกด Enter อีกครั้ง แล้วใส่
Password ตามอีเมล โดย Ubuntu นั้นจะไม่แสดงรหัสให้เห็นเป็นตัวเลขนะคะ ให้เรากรอกไปเลยจนครบแล้วกด Enter อีกครั้ง
1.7 ใส่ Username : root และรหัสผ่านของ Droplet
เสร็จแล้วระบบก็จะให้เรารีเซ็ตรหัสผ่าน
(current) UNIX คือใส่รหัสเดิมอีกครั้งก่อน
Enter new UNIX ใส่รหัสผ่านใหม่
Retype new UNIX ใส่รหัสผ่านใหม่อีกครั้ง
1.8 เปลี่ยนรหัสผ่านเพียงเท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการสร้างและแก้ไขรหัสผ่าน Dropletเพิ่ม DNSคือการเพิ่ม
Domain NameServer ของเราให้เชื่อมกับ
Droplet ที่อยู่บน DigitalOcean นั่นเอง 1. คลิกทีปุ่ม DNS ด้านบน 2. กรอกโดเมนที่ต้องการ 3. เลือก Droplet ที่ได้สร้างไว้ ระบบจะสร้าง IP Address ให้อัตโนมัติเอง จากนั้นคลิกที่ปุ่ม
Create Record2.1 เพิ่ม Domain name และเลือก Dropletเรา ก็จะได้ข้อมูล NameServers แบบนี้มาไว้สำหรับนำไปกรอกในช่อง Nameservers ของผู้ให้บริการที่เราเช่าโดเมนอยู่ เพื่อชี้มายัง Droplet ของเรา
3.1 ข้อมูล Nameserversจากนั้นเราก็นำข้อมูลนี้ไปกรอกอัพเดตใหม่ อย่างผู้ให้บริการที่ผู้เขียนเช่าอยู่เป็นของ
Name.com เราก็จะไปแก้ไข Nameservers ของโดเมนเราให้เป็นแบบนี้
2.4 อัพเดต Nameservers ใหม่ที่เว็บผู้ให้บริการโดเมนก็ เป็นอันเสร็จเรียบร้อยสำหรับการเชื่อมทั้ง 2 เข้าด้วยกัน ทีนี้ก็รอแค่ให้ DNS อัพเดต ซึ่งเราไม่สามารถกำหนดได้ค่ะ บางทีไม่กี่นาทีก็เรียบร้อยแล้ว บางทีก็หลายชั่วโมงถึงจะอัพเดตชี้ไปยังโฮ้สต์ใหม่ของเราที่ DigitalOceanเชือมต่อ ServerPilot กับ Dropletลงทะเบียนเพื่อใช้งาน
ServerPilot Free3.1 สมัคร
เราจะได้รับอีเมลเพื่อกดลิงค์ Confirm
คลิกที่ปุ่ม Connect a Server
ให้ เรานำ IP Address ที่ได้ก่อนหน้านี้ รวมถึง root password ที่ได้ทำการแก้แล้วในรูป 1.4 มากรอกในช่องด้านล่าง ส่วนช่องสุดท้ายให้เราสร้างรหัสผ่านสำหรับ SFTP ขึ้นเอง ซึ่งเราจะใช้ในการโอนถ่าย อัพโหลด ดาวน์โหลดไฟล์กับเซิฟเวอร์ผ่านโปรแกรม
FileZilla3.2 เชื่อมต่อ ServerPilot กับ Droplet
จากนั้นคลิกปุ่ม Connect to ServerPilot
ระบบก็จะทำการเชื่อมต่อกับ Droplet ของเรา
และติดตั้งแพกเกจต่างๆ และตั้งค่าให้เรา
เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม + Create App
โดย ทุกการติดตั้ง SeverPilot นั้นจะเรียกสคริปต์ต่างๆ ว่า App นะคะ ถ้าเราพูดถึงแอปในที่นี้ ก็หมายถึงตัว WordPress ที่เราได้ติดตั้งนี้แหละค่ะ
ใส่ ชื่อ App อะไรก็ได้แล้วแต่เรา เสร็จแล้วใส่ Domain แล้วติ๊กที่ช่อง WordPress จากนั้นก็ให้เรากรอก Title, User, Password และ อีเมลแอดมินที่เราต้องการ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Create App ด้านล่าง
3.3 สร้างแอปและติดตั้ง WordPress
เราก็จะได้รับอีเมลจาก WordPress ที่ส่งมาจากเว็บของเราแบบด้านล่างนี้
ระบบ จะแสดงรายละเอียดของแอฟที่เราได้สร้างซึ่งก็คือ WordPress บนโฮ้สต์ (Droplet) DigitalOcean ของเรานั่นเอง ได้ php5.6 เลย มันดีก็ตรงนี้ โฮ้สต์หลายที่ในไทยยังไม่อัพเลยค่ะ ซึ่ง WordPress นั้นอัพเดตเสมอ php ที่รองรับนี้สำคัญมากค่ะ
โดย Root Directory ที่เก็บไฟล์ WordPress ของเราก็คือ apps/wpthaipub/public
3.4 รายละเอียดของแอป
เป็นอันเสร็จเรียบร้อยในการติดตั้ง WordPress บน DigitalOcean ผ่าน ServerPilot ค่ะ
ลองเข้าเว็บ
หน้าบ้าน
ลองเข้าหลังบ้านดู …
เรียบร้อยสวยงาม
การใช้งาน SFTPSFTP ก็คล้ายกับการ FTP ในการอัพโหลด ดาวน์โหลดไฟล์ไปยังเซิฟเวอร์ เพียงแต่ SFTP นั้นจะมีความปลอดภัยสูงกว่า FTP ทั่วไปนั่นเอง
เปิดโปรแกรม
FileZilla ขึ้นมา ทำการเพิ่มข้อมูลการเชื่อต่อใหม่โดยไปที่เมนู File > Site Manager
ด้านบน ตั้งชื่อชุดใหม่ใส่ข้อมูล SFTP ลงไป คือ Host ก็ใส่ IP Address ของเรา Protocol เลือกเป็นแบบ SFTP Logon Type เป็น Normalใส่ User เป็น serverpilot จากนั้นก็ใส่รหัสผ่านของ SFTP ตามที่เราตั้งไว้ในรูป 3.2 นั่นเอง เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Connect เพื่อเชื่อมต่อไปยัง Droplet โฮ้สต์ใหม่ของเรา
ซึ่งถ้าเราเข้าไปตาม โฟลเดอร์ในรูปที่ 3.4 ก็จะพบกับไฟล์ WordPress ดังรูป ซึ่งเราก็จะสามารถจะทำการดาวน์โหลด อัพโหลดหรือแก้ไขไฟล์ต่างๆ ผ่านโปรแกรม FileZilla หรือโปรแกรมอื่นๆ ได้ที่นี่เลยค่ะ
การติดตั้ง phpMyAdminสิ่งจำเป็นอีกอย่างหนึ่งในการทำเว็บไซต์ด้วย WordPress ก็คือในบางครั้งเราจำเป็นต้องใช้งาน phpMyAdmin เช่น เวลาที่เกิดปัญหาต่างๆ หรือหากต้องการ Import/Export ฐานข้อมูลแบบไม่ใช้ปลั๊กอินของ WordPress จะยังไงเสีย แนะนำว่ามีไว้ดีกว่าไม่มีแน่นอนค่ะ
แตกไฟล์ออก แล้วเปิดไฟล์ config.sample.inc.php ขึ้นมานะคะ จากนั้นแก้ไขโดยการใส่ข้อความอะไรก็ได้แบบสุ่มๆ ลงไปในช่องระหว่างเครื่องหมาย ‘ ‘
หลังจากเปลี่ยนแล้วแบบภาพด้านล่าง ก็ Save ใหม่ (Save As) ในชื่อ config.inc.php คือเอาคำว่า sample ออกนั่นเอง
สร้างโฟลเดอร์ใหม่ผ่านโปรแกรม
FileZilla ที่โฟลเดอร์
public ที่เดียวกับที่เก็บไฟล์ WordPress ของเรานั่นเอง ตั้งเป็นชื่ออะไรก็ได้ค่ะ จากนั้นก็อัพโหลดไฟล์ของ phpMyAdmin ทั้งหมดขึ้นไปยังโฟลเดอร์ที่สร้างใหม่นี้
โดยรหัสนี้เราก็สามารถใช้ FileZilla ดูได้เช่นกัน โดยการคลิกขวาที่ไฟล์ WordPress ที่ชื่อว่า wp-config.php แล้วดูตรง User, Password นั่นเอง
ต่อจากขั้นตอนก่อนหน้า หลังจากใส่ User และ Password แล้ว เราก็จะเข้าสู่ phpMyAdmin ได้ดังรูป
ทิป : เราสามารถเปลี่ยนรหัสผ่านนี้ได้โดยการไปที่เมนู Apps บน SeverPilot แล้วเลือกแอปที่เราติดตั้ง WordPress ไว้ จากนั้นคลิกที่เมนู Databases คลิกเลือก User ที่ต้องการเปลี่ยนรหัส ทำการใส่รหัสผ่านใหม่แล้วกด Update
ที่มา:
http://www.wpthaiuser.com/easy-install-wordpress-on-digitalocean-using-serverpilot/