Hosting คือ เว็บเซิฟเวอร์ ที่ใช้สำหรับจัดเก็บไฟล์เว็บและเป็นที่สำหรับรันโปรแกรมต่างๆ ของเว็บ ซึ่งเมื่อเรามีโฮ้สต์แล้ว เว็บของเรา จะมี url (ที่อยู่) เป็นเลข IP Address เช่น 216.239.32.10 ดังนั้น เพื่อให้ง่ายต่อการจดจำและเข้าใช้งานของผู้เข้าชมเว็บ
Domain ใช้ สำหรับสร้างเชื่อมโยงชื่อเว็บเข้ากับ ip address แทนที่เราจะพิมพ์ 216.239.32.10 ก็เปลี่ยนเป็นใช้ชื่อเว็บ
www.xxxx.com ต่างๆ แทน ปกติเราจะสามารถเช่าทั้ง 2 อย่างนี้จากผู้ให้บริการเดียวกันได้เลย โดยตอนที่เราซื้อโฮ้สต์ก็จะมีแบบฟอร์มให้เรากรอกและตรวจสอบชื่อโดเมนที่เรา ต้องการจด หรือจะจดแยกต่างหากแล้วทำการตั้งค่าเองก็ได้ เช่นจาก
name.comเหตุ ที่เราเรียก Hosting และ Domain ว่าเป็นการเช่านั้น เพราะทั้ง 2 อย่างนี้จะมีอายุเป็นรายปี ดังนั้นอย่าลืมเช็คเมลที่อาจจะมีแจ้งเตือนต่ออายุ เพราะหากเราไม่ต่ออายุภายในกำหนดเวลา ก็จะต้องจดใหม่ ซึ่งบ่อยครั้งโดเมนที่หมดอายุนี้ มักจะถูกรายอื่นเช่าตัดหน้าแล้วเสนอขายต่อให้เราในราคาที่แพงกว่าเดิม หากคิดว่าเราจะทำเว็บไซต์ในระยะยาว อาจจะเปิดให้ผู้ให้บริการของเราใช้ระบบต่ออายุอัตโนมัติ หรือ Auto Renew เพื่อทำให้เราไม่ต้องห่วงเรื่องต่ออายุไม่ทันค่ะประเภทของ Hosting
Share Hosting เป็นการใช้งานหลายเว็บร่วมกันใน 1 เซิฟเวอร์ที่เป็นที่นิยมสุดสำหรับเว็บไซต์ทั่วไป มีราคาไม่แพงมาก แต่สามารถได้รับผลกระทบจากเว็บไซต์อื่นๆ ที่อยู่ในเซิฟเวอร์ร่วมกัน เพราะมีการแบ่งปันทรัพยากรกันใช้อย่างจำกัด เมื่อเว็บไหนทำงานหนักก็อาจจะทำให้เว็บอื่นๆ ที่อยู่ด้วยกันได้รับผลกระทบไปด้วย ดังนั้นโฮ้สต์แนวนี้จึงจำกัดปริมาณแบนวิธ (ปริมาณการรับส่งข้อมูล) ในแต่ละเดือน
VPS Hosting ย่อมาจาก
Virtual Private Hosting เป็นเซิฟเวอร์ส่วนตัวแบบเสมือน เหมือนเรามีเซิฟเวอร์ส่วนตัว เหมาะกับเว็บที่ต้องการความมั่นคงมากกว่าเว็บทั่วไป ข้อเสีย คืออาจต้องมีความรู้ในการดูแลระบบ เพราะจะต้องติดตั้งโปรแกรมเว็บเซิฟเวอร์ต่างๆ และทำการจัดการระบบเอง เซิฟเวอร์ประเภทนี้จะรองรับผู้ใช้งานได้มากน้อยขึ้นอยู่กับฮาร์ดแวร์และการ จัดของระบบ นอกจากนี้ยังมีนอกจากนี้ยังมี
Dedicated Hosting ที่เป็นการวางเซิฟเวอร์ส่วนตัวเอง สามารถเลือกใช้ฮาร์ดแวร์ตามที่ต้องการได้ รองรับทราฟฟิคปริมาณมากๆ แต่มีค่าใ้ช้จ่ายที่สูงและต้องการผู้ดูแลระบบที่มีความรู้ด้านเซิฟเวอร์โดย เฉพาะControl Panelสิ่ง ที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้โฮ้สต์สำหรับเว็บ WordPress ก็คือ การมีเครื่องมือติดตั้งอัตโนมัติ เช่น lnw Installer ซึ่งจะช่วยให้เราติดตั้งได้ง่ายขึ้น รวมไปถึงมีระบบ Control Panel สำหรับเว็บไซต์ให้ใช้ เพื่อความสะดวกในการจัดการเว็บต่างๆ ถ้าที่นิยมในบ้านเราจะเป็น DirectAdmin ส่วนต่างประเทศนิยมใช้ cPanel ซึ่ง Control Panel เหล่านี้จะใช้จัดการกับหลายๆ อย่าง เช่น อีเมล โดเมน สำรองข้อมูล ฐานข้อมูล ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างมากสำหรับผู้ใ้งานทั่วไปที่ไม่ได้มีความรู้ด้าน เซิฟเวอร์ ไม่เช่นนั้นแล้วคุณจะต้องใช้การพิมพ์คำสั่งเองทั้งหมด
ใน บ้านเรามีผู้ให้บริการโฮ้สติ้งมากมาย หลากหลายราคาให้เลือกใช้ ผู้ใช้สามารถเลือกให้ตรงตามความต้องการของตัวเองได้ ไม่ว่าจะเป็นราคา ปริมาณพื้นที่ที่ให้บริการ ส่วนใหญ่คิดค่าบริการเป็นรายปี ไม่ควรต่ำกว่า 500 บาท/ปี มีให้บริการทั้งไทยและต่างประเทศ สำหรับคนที่ทำเว็บภาษาอังกฤษอาจจะใช้โฮ้สต์ที่ตั้งอยู่ต่างประเทศก็ได้ เพื่อให้การเข้าใช้งานคนที่อยู่ต่างประเทศทำได้เร็วกว่า สืบเนื่องมาจากตำแหน่งที่ตั้งของโฮ้สต์ก็มีส่วนต่อการเข้าชมเช่นกัน สำหรับโฮ้สต์ไทย ส่วนตัวเคยลองใช้ 2 เจ้าคือ
Pathosing,
Hostneverdie ค่ะ
วิธีการติดตั้ง WordPress อัตโนมัติของ Pathosting VPS Cloud Hostingคือ เซิฟเวอร์แบบ VPS ประเภทหนึ่ง แต่แทนที่จะรันเซิฟเวอร์เสมือนประเภทนี้บนฮาร์ดดิสโดยตรง กลับใช้การเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสหลายๆ ตัว สร้างเป็นเซิฟเวอร์เสมือนที่ทำงานบน Cloud แทน ซึ่งไม่ว่าฮาร์ดดิสลูกใดลูกหนึ่งจะเสียหาย แต่เซิฟเวอร์ทั้งหมดก็จะยังสามารถใช้งานได้เพราะเป็นระบบ Cloud นั่นเองDigitalOcean Cloud Hosting เป็นผู้ให้บริการ VPS Cloud Hosting เจ้าหนึ่ง ซึ่งราคาของบริการ VPS ของที่นี่นั้นถูกพอๆ กับ Share Host ทั่วไปเลยทีเดียว
แต่อย่างที่บอกว่า การใช้งาน VPS นั้นเราต้องติดตั้งเซิฟเวอร์เอง เช่น
Apache หรือ
Nginx เพื่อ ที่จะให้สามารถรัน Php และ MySQL ที่ WordPress จะเป็นต้องใช้ได้ ซึ่งการติดตั้งเหล่านี้ต้องใช้ Command line ทั้งสิ้น ทำให้ไม่สะดวกสำหรับคนทั่วไป แต่ถ้าใช้ DigitalOcean เราได้เขียนวิธีการติดตั้งแบบง่ายๆ โดยไม่ต้องใช้ command line และใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีผ่าน ServerPilot สามารถอ่านได้ที่
การติดตั้ง WordPress บน DigitalOcean ง่ายๆ ด้วย ServerPilot วิธี นี้จะทำให้เราสามารถติดตั้ง WordPress ได้ง่ายๆ โดยมีเซิฟเวอร์ส่วนตัวเป็นของตัวเอง ไม่ต้องแชร์ทรัพยากรกับคนอื่น ทำให้เว็บไม่ต้องล่มไปด้วยกับเว็บอื่น เพียงแต่ก็ยังจะไม่สะดวกในการจัดการเหมือนกับแบบที่มีระบบ Control Panel มาให้ด้วยนั่นเอง ซึ่งจริงๆ แล้ว เราสามารถที่จะติดตั้ง Control Panel เองได้ด้วย เอาไว้ลองทำเมื่อไหร่จะเขียนไว้ให้ได้ลองทำตามกันนะคะ
ข้อแนะนำ เลือก ใช้โฮ้สต์ตามความเหมาะสมและความถนัดของเรา หากไม่เคยทำเว็บเลย ก็ควรใช้แบบที่มี Control Panel เพราะจะใช้งานง่ายกว่า สามารถเลือกพื้นที่ที่ต้องการ เลือกโดเมนเนม แล้วทำการติดตั้งเว็บได้เลย เลือกขนาดตามปริมาณการเข้าชมเว็บที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อาจจะเริ่มจากน้อยๆ ก่อนก็ได้ หากไม่ถนัดภาษาอังกฤษ และทำเว็บภาษาไทย ก็อาจจะใช้บริการของคนไทย เพราะสะดวกต่อการติดต่อพูดคุยมากกว่า เราอาจขอให้ผู้ให้บริการช่วยเหลือได้ถ้ามีปัญหา ทั้งนี้ ควรศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อตกลง กฏระเบียบ ความรับผิดชอบต่างๆ ของผู้ให้บริการแต่ละเจ้าประกอบการตัดสินใจ แต่หากพอมีความรู้ทางด้านเซิฟเวอร์ เช่นคนที่เคยทำเว็บมาแล้ว คนที่เคยใช้ระบบอื่นมาก่อน ไม่อยากแชร์โฮ้สต์ร่วมกับคนอื่น ก็สามารถเลือก VPS จาก DigitalOcean ได้ค่ะ ทั้งนี้ เราจะต้องเป็นคนจัดการเซิฟเวอร์ทั้งหมดเอง
ที่มา:
http://www.wpthaiuser.com/hosting-domain-wordpress/