ผู้เขียน หัวข้อ: DesktopServer จำลองเซิฟเวอร์เพื่อทดลองใช้ WordPress  (อ่าน 999 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
DesktopServer คือ โปรแกรมสำหรับการสร้างเซิฟเวอร์จำลอง ของ ServerPress ทำให้เราสามารถที่จะใช้ติดตั้ง WordPress เพื่อทำการทดสอบ ทดลองต่างๆ ในเครื่องของเราก่อนที่จะเช่าบริการโฮ้สต์จริงได้ ซึ่งจริงๆ แล้วก็มีหลายโปรแกรม เช่น Xampp, Wampp เป็นต้น โปรแกรมเหล่านี้จะรวมเอา Apache, MySQL, Php MyAdmin (AMP) ที่จำเป็นในการสร้างเซิฟเวอร์มาไว้ในเครื่องของเราและทำให้เราสามารถรัน WordPress ได้ ซึ่งโปรแกรมอื่นๆ ที่กล่าวมาแล้วก็สามารถทำได้เช่นกัน บางตัวก็ฟรีอีกด้วย แต่ DesktopServer คือโปรแกรมที่ทำการปรับแต่งมาให้ใช้งานกับ WordPress ได้สะดวกที่สุด ทั้งสำหรับการทำงานทั่วไป หรือ Developer
DesktopServer มีทั้งเวอร์ชั่นฟรีและพรีเมี่ยม สำหรับเวอร์ชั่นพรีเมี่ยมนั้น เหมาะสำหรับ Developer หรือผู้ที่รับทำเว็บไซต์ เพราะสามารถรองรับการสร้างเว็บได้ไม่จำกัด และมีฟังชั่นพิเศษเพิ่มเติมที่ช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานมากมาย ขณะที่เวอร์ชั่นฟรีนั้น เราจะสามารถใช้เพื่อทดลองเล่น WordPress เท่านั้น ซึ่งก็ถือว่าเพียงพอแล้วสำหรับจุดประสงค์ของเรา โดยเว็บจำลองที่สร้างขึ้นจะมีโดเมน .dev แทน Localhost เหมือนแบบปกติ โดยเราสามารถตั้งโดเมนเว็บเป็นอะไรก็ได้ เช่น mywordpress.dev เป็นต้น
 DesktopServer
(ให้ผู้อ่านทำการคลิกสั่งซื้อก่อนนะคะ แต่โปรแกรมจะคิดเงินเป็น $0 อยู่แล้วค่ะ เราถึงจะได้แอคเค้าท์สำหรับเข้าไปดาวน์โหลด)
DesktopServer นั้นเป็น Cross Platform นะคะ คือ มีทั้งเวอร์ชั่นบน Mac และ Windows) แต่ก็ต้องใช้ตัวติดตั้งคนละตัวกันนะคะ
หลัง จากลงชื่อเข้าใช้งานแล้วเราจะสามารถที่จะดาวน์โหลด DesktopServer รุ่นต่างๆ ได้ที่หน้า Download ก็จะสามารถเลือกดาวน์โหลด DesktopServer Limited ได้ สำหรับของเรานั้นเป็นแบบ DesktopServer Premium ก็จะมีเพิ่มขึ้นมาค่ะ เลือกโหลดตามโปรแกรมปฏิบัติการที่เราใช้อยู่ได้เลย
download-desktopserver height=566
ข้อดีของการจำลองเซิฟเวอร์เพื่อทดสอบ WordPress บนเครื่องของเรา
  • สำหรับ Developer ใช้สำหรับเป็นทดสอบธีมหรือปลั๊กอินต่างๆ ที่พัฒนาอยู่
  • สำหรับผู้ใช้งานทั่วไป ช่วยให้เราทดลองธีมหรือปลั๊กอินที่ยังไม่เคยใช้บนเครื่องของเรา ก่อนที่จะใช้งานบนเว็บไซต์จริงได้
  • สามารถทดลองปลั๊กอินหรือธีมที่ใช้งานอยู่บนเว็บจริง ก่อนการอัพเดตว่าส่งผลผิดพลาดอะไรกับเว็บของเราไม่
  • การใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเองจะเร็วกว่า
  • สามารถทำงานได้โดยไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
  • ปรับ แต่งจนกว่าจะพอใจก่อนอัพขึ้นโฮ้สต์จริง ทำให้ไม่กระทบต่อ SEO เหมือนการเปลี่ยนแปลงแก้ไขบ่อยๆ บนเว็บจริง (ที่อาจกระทบต่อการเก็บข้อมูลของ Search engine)
การติดตั้งบนและใช้งานบน Mac และ Windows (ขั้นตอนไม่ต่างกัน)หลังจากดาวน์โหลดและเปิดไฟล์ zip ของโปรแกรมแล้ว ทำการเปิดโฟลเดอร์เข้าไป แล้วคลิกที่ตัวติดตั้ง
install-desktopserver height=236
เสร็จแล้วคลิก Continue โปรแกรมก็จะให้เราใส่ Username และ Password ของเครื่อง ก็ใส่ไปแล้วกด OK (ของวินโดว์อาจจะไม่มีขั้นตอนนี้)
password-input height=302
เสร็จแล้วเขาก็จะมีรายละเอียดให้เรากด Accept
accept-desktopserver height=380
จากนั้นเลือก New DesktopServer Installation แล้วคลิก Continue แล้วก็รอจนโปรแกรมติดตั้งไฟล์เสร็จ
new-install-desktopserver height=268
จาก นั้นโปรแกรมจะแจ้งว่าได้ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว ก็ให้เราคลิก Ok แล้วกดปุ่ม Finish ตามลำดับ เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการติดตั้งบน Mac
ok-finish-install height=263
เมื่อต้องการใช้งานก็คลิกเปิดที่ไอคอนของ DesktopServer ได้เลย

ใน การเปิดใช้งานครั้งแรก บางที os x อาจจะฟ้องว่าเป็นแอปที่ดาวน์โหลดมาจากภายนอก ไม่สามารถเปิดได้ ก็ให้เราไปที่โฟลเดอร์ Applications ใน Finder บน Mac แล้วเลื่อนลงไปที่โฟลเดอร์ XAMPP จากนั้นคลิกขวาที่ไอคอน แล้วเลือก Open ก็จะมีกล่องให้เรายืนยัน ก็คลิก Open อีกทีค่ะ เท่านี้ก็จะเปิดได้
right-open height=337
สำหรับ Windows นั้น ปกติก็จะอยู่ที่ไดร์ C: ในโฟลเดอร์ xampplite
windows-desktopserver height=301สร้างไซต์หลัง จากเปิดโปรแกรมขึ้นมา โปรแกรมก็จะเลือก Yes, Restart DesktopServer with privileges. ไว้อยู่แล้ว ให้เราคลิกที่ปุ่ม Next ได้เลย เสร็จแล้วจะมีให้ใส่รหัสผ่านของเครื่อง Mac ส่วนของวินโดวส์ก็จะมีในเรื่องของ Firewall ให้เราอนุญาติให้ DesktopServer ทำงานได้ด้วยนะคะ
start-desktopserver-2 height=399
จากนั้นโปรแกรมจะถามว่าเราต้องการสตาร์ทเซิฟเวอร์ใช่หรือไม่ ค่าปกติก็ตอบ Yes อยู่แล้วนะคะ ก็ให้เราคลิก Next ได้เลย
ตรงนี้จะเห็นว่าเราได้ติ๊กตรง Bypass Login ไว้ด้วย ตัวนี้คือช่วยให้เราไม่ต้องกรอก Username/Password ทุกครั้งที่เปิด WordPress เพราะโปรแกรมจะให้เราเลือกยูสเซอร์ที่ต้องการแล้วก็ทำการผ่านเราเข้าไปสู่ หน้า Dashboard เลย โดยไม่ต้องกรอกอะไรทั้งสิ้น รองรับ 100 ยูสเซอร์ ก่อนหน้านี้มีแต่ใน Premium
start-server height=457
หลังจากนั้นโปรแกรมก็จะทำการสตาร์ทเซอร์วิสต่างๆ เสร็จแล้วก็คลิกที่ปุ่ม Next
services-started height=169
ติ๊กที่ Create a new development website. แล้วคลิกปุ่ม Next
create-new height=123
ก็จะเข้าสูก่ารตั้งชื่อเว็บไซต์ และเลือก Blueprint เสร็จแล้วคลิกที่ปุ่ม Create
name-the-site height=265Blueprint
เรา สามารถเลือก Blueprint ซึ่งก็คือตัวของ WordPress รุ่นต่างๆ ซึ่งปกติแล้วโปรแกรมจะติดตั้งรุ่นล่าสุดของช่วงที่ DesktopServer อัพเดต เมื่อเราติดตั้งแล้ว WordPress ก็จะแจ้งให้เราอัพเดตเวอร์ชั่นอยู่แล้วหากมีรุ่นที่ใหม่กว่า แต่หากเราต้องการใส่เวอร์ชั่นต่างๆ เหล่านี้เข้าไปเอง ก็ให้เราทำการนำไฟล์ zip ของ WordPress เวอร์ชั่นที่ต้องการที่เราดาวน์โหลดมาจาก wordpress.org ไปใส่ไว้ในโฟลเดอร์ blueprints ซึ่งอยู่ในโฟลเดอร์ Applications/XAMPP บน Mac นั่นเอง ความพิเศษอีกอย่างหนึ่งของ Blueprint ก็คือ เราสามารถสร้างเองได้! เช่น หากเราทำเว็บบ่อยๆ แล้วมีปลั๊กอินหรือธีมไหนที่ใช้งานประจำ เช่น เวลาทำเว็บให้ลูกค้า เราก็สามารถที่จะเพิ่มปลั๊กอินและธีมเหล่านั้นลงไปในไฟล์ Blueprint นี้ได้ โดยการแตกไฟล์ zip ของ wordpress ออก แล้วก็นำธีมและปลั๊กอินที่ดาวน์โหลดไว้แล้ว ใส่ในไดเร็คทอรี่ของมัน คือ themes, plugins นั่นเอง เพียงเท่านี้ เวลาที่เราสร้างไซต์ใหม่ ธีมและปลั๊กอินเหล่านี้ก็จะติดมาด้วยโดยที่เราไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปโหลด ใหม่ทุกรอบ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกสร้างเซิฟเวอร์โดยไม่ติดตั้ง WordPress ได้ด้วยการเลือก Blueprint เป็น Blank
blueprints height=374
ไซต์จำลอง สร้างเรียบร้อยแล้ว คลิกปุ่ม Next
site-created height=328
เสร็จแล้วคลิกที่ลิงค์สีน้ำเงินเพื่อเข้าสู่การตั้งค่า WordPress
config height=402
(ซึ่ง ถ้าเราคลิกปุ่ม Next ถัดไปอีก ก็จะวนไปเหมือนกับขั้นตอนแรกใหม่ คือจะมีตัวเลือกให้เราเพิ่มไซต์ได้เรื่อยๆ หรือจะลบไซต์ รีสตาร์ทหรือปิดการทำงานของเซิฟเวอร์ เป็นต้น)
 
แต่!!! หากใครคลิกที่ลิงค์สีน้ำเงินก่อนหน้านี้ แล้วเจอหน้า Object Not Found แบบนี้ (Xampp มักมีปัญหากับพอร์ตชนกัน แต่ DesktopServer เราเจอปัญหานี้แทน เพิ่งจะเจอ ได้ทำการแจ้งไปยังผู้พัฒนาแล้ว แต่บางคนก็อาจจะไม่เจอนะคะ ส่วนตัวเตยเองลงบน Windows 10 ก็ไม่เจอเช่นกันค่ะ)
object-not-found height=268
ไม่ ต้องตกใจค่ะ ให้เราคลิกที่ปุ่ม Next ที่ขั้นตอนก่อนหน้านี้ อย่าเพิ่งปิดหน้าเว็บที่ error ไปนะคะ เสร็จแล้วติ๊กที่ตัวเลือก Stop or restart the web and database services. แล้วคลิกที่ปุ่ม Next อีกที
stop-or-restart height=330
ติ๊กที่ตัวเลือก Restart the web and database services. แล้วคลิกที่ปุ่ม Next
restart-again height=354
เมื่อรีสตาร์ทแล้วจะขึ้นแบบนี้ค่ะ
done-restart height=320
ที นี้ลองรีเฟรชหน้าเว็บเดิมที่เกิด error ดู ก็จะปรากฏว่าเข้าสู่หน้าตั้งค่าการติดตั้ง WordPress ได้แล้วค่ะ อาจแลดูยาวหน่อยนิดนึง แต่มันวนๆ ค่ะ ถ้าไม่ติด error นี้คงก็เสร็จไปแล้ว แต่เราเผื่อไว้สำหรับคนที่เจอ เพราะเซอร์วิสพวกนี้ชอบมีปัญหาจริงๆ ค่ะ
start-install-setup height=624
ในส่วนของ Windows 10
windows-wordpress-install-desktopserver height=801
ติดตั้งภาษาไทยติดตั้งภาษาอังกฤษ

เพิ่มไซต์หลัง จากที่เราเพิ่มไซต์แรกแล้ว ตามขั้นตอนก่อนหน้านี้ (ก่อนที่จะเจอ error) ถ้าเราคลิกปุ่ม Next มันก็จะเป็นการวนไปขั้นตอนเพิ่มเว็บไซต์อีก กระบวนการมันมีแค่นี้จริงๆ เรียบง่ายมากๆ ค่ะ
เลือกตัวเลือก Create a new development website. ตัวที่ 3 แล้วคลิกปุ่ม Next
 ถ้าใครสังเกตุ จะเห็นว่า ตอนนี้ตัวเลือก Remove, copy or move an existing website. นั้นสามารถเลือกได้แล้ว เพราะเราได้มีการสร้างไซต์ไปแล้ว ถ้าเราต้องการที่จะลบ หรือคัดลอก ก็เลือกที่ตัวเลือกที่ 2 แทน และที่มุมล่างซ้าย จะมีปุ่ม Sites ซึ่ง หากเราคลิกที่ปุ่มนี้ โปรแกรมก็จะแสดงไซต์ทั้งหมดที่เราสร้างไว้ เราจะเห็นในขั้นตอนต่อไปค่ะ
add-more-site height=402
เช่น เดิมนะคะ กรอกชื่อเว็บที่เราต้องการค่ะ ในที่นี้เราใช้เป็น wpthaiuser เลย ก็จะเป็น www.wpthaiuser.dev คือเว็บที่เราจะได้ค่ะ คลิกที่ปุ่ม Create
create-second-site height=268
รอจนเสร็จขึ้นแบบนี้เช่นเดิมเหมือนกัน แล้วคลิก Next
site-created height=328
โปรแกรมก็จะแสดงลิงค์สำหรับส่งเราไปหน้าตั้งค่าเริ่มต้นของ WordPress เช่นเดิม
 ให้ทำการคลิกเพื่อเข้าไปตั้งค่าตามปกติ โดยไม่ต้องปิดโปรแกรมนะคะ
wpthaiuser-add-new height=456
ขั้นตอนต่อไปก็คลิกที่ปุ่ม Next จากรูปก่อนหน้า ก็จะวนไปที่ขั้นตอนแรกอีกเหมือนเดิม
 แต่ทีนี้ให้เราคลิกที่ปุ่ม Sites ที่ด้านล่างซ้ายแทน
click-sites height=352
โปรแกรม ก็จะเปิดบราวเซอร์ขึ้นมา และแสดงรายชื่อเว็บที่เราได้สร้างไว้ พร้อมปุ่มไปยังหน้าต่างๆ ทางด้านขวามือ ซึ่งสามารถทำให้เราไปยังหน้าเว็บ หน้า Dashboard หรือฐานข้อมูล (Database) ได้โดยตรง
site-list height=317
ลบไซต์ขอ เขียนรวบรัดไปขั้นตอนที่เหมือนกับตอนที่เพิ่มไซต์เลยนะคะ เดียงแต่การลบไซต์ ก็ให้เราเลือกตัวเลือก 2 Remove, copy or move an existing website. ค่ะ แล้วก็คลิก Next เหมือนเดิม
remove height=125
เข้า สู่หน้านี้ ให้เราเลือกไซต์ที่เราต้องการจะลบ ด้านล่างเลือก Remove แล้วคลิก Remove โปรแกรมก็จะถามว่าเราแน่ใจหรือไม่ ให้คลิก Yes ไปเลย
choose-site-to-remove height=311
แป๊บเดียวก็เสร็จ จะขึ้นข้อความแบบด้านล่างนี้
complete-remove height=316
ซึ่ง ถ้าเราคลิก Next ต่อไป พอจะเดาออกมั๊ยคะ ว่าจะวนไปไหนอีก …. ใช่แล้วค่ะ วนกลับไปเหมือนตอนเพิ่มไซต์อีกนั่นเอง แต่เราจะไม่เพิ่มไซต์หรือลบไซต์แล้ว เราจะมาเลือกตัวเลือกแรกกัน
การปิดหรือรีสตาร์ทเซิฟเวอร์ขั้น ตอนนี้คือตัวเลือกที่เหลือจาก 3 ตัวเลือกที่เราได้ลองใช้งานไปแล้ว 2 ตัวนั่นเอง ใช้สำหรับปิดการทำงานของเซิฟเวอร์ หรือรีสตาร์ทการทำงานใหม่อีกครั้งหนึ่ง ปกติ ก่อนที่เราจะเลิกใช้งาน เราก็จะทำการปิดการทำงานของ Apache, MySQL, PhpMyAdmin คือการ Stop services เหล่านี้นั่นเองค่ะ ไม่เช่นนั้นมันก็จะรันอยู่เบื้องหลังตลอดโดยที่เราอาจไม่รู้ตัว
เลือก Stop or restart the web and database services. แล้วคลิก Next
stop-services height=109
เลือกตัวเลือกที่ต้องการ ก่อนหน้านี้เราได้ลอง Restart service ไปแล้วตอนเจอ error
 รอบนี้เราจะปิดโปรแกรม ก่อนจะปิดเราก็เลย Stop service ซักหน่อย
 เลือก Stop the web and database services. แล้วคลิก Next
restart-stop-service-closed height=221
เมื่อโปรแกรมได้ทำการ Stop services ทั้งหมดแล้ว ก็ให้เราคลิกปุ่ม Close เพื่อปิดโปรแกรมได้เลย
service-stop-close height=322
และ ทั้งหมดนั้นก็คือขั้นตอนการใช้งานที่จำเป็นส่วนใหญ่สำหรับ DesktopServer ซึ่ง แค่ตัวฟรีหรือ Limited นี้ก็สะดวกมากแล้วสำหรับการทดลองใช้งาน WordPress แบบยังไม่ต้องเช่าโฮ้สต์และโดเมนเอง หรือแม้แต่จะทำเว็บจริงจังก็ยังได้ เพียงแต่เวอร์ชั่น Premium จะสะดวกกว่าในการทำงานกับหลายๆ เว็บ หรือการนำเว็บไปขึ้นโฮ้สต์จริงก็อาจจะทำได้ง่ายกว่า ดังนั้นเวอร์ชั่น Premium ก็จะเหมาะสำหรับ Developer และ คนที่ทำอาชีพรับทำเว็บด้วย WordPress ค่ะ
DesktopServer Premiumข้อแตกต่างหลายอย่างที่น่าสนใจของ Premium Version ก็คือ
Unlimited Site คือ สามารถสร้างเว็บได้กี่เว็บก็ได้ ในขณะที่แบบ Limited นั้น สร้างได้แค่ 3 เว็บ ถ้าสร้างเว็บเยอะกว่านี้ก็ต้องคอยลบอันเก่าออก ทำให้ไม่สามารถทำพร้อมกันได้
Import / Export  ช่วยให้การโยกย้ายระหว่างเว็บจริงและเครื่องเราทำได้ง่ายขึ้น เพียงแค่สร้างซิปไฟล์แล้วนำมา Import หรือ Export บน DesktopServer
import-site-desktopserver height=381
LAN Sharing  ฟังชั่นนี้เหมาะสำหรับการทดสอบเว็บด้วยเครื่องอื่น เช่น เปิดเว็บบนมือถือ ทำให้เราสามารถเข้าทดสอบเว็บจากมือถือด้วย url เดียวกันกับเซิฟเวอร์จำลองบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราได้นั่นเอง
lan-sharing-desktopserver2 height=381
Deployment (Direct Deploy, Quick Deploy) ฟังชั่นนี้ช่วยให้เราทำการผลักเว็บที่ทำเสร็จแล้วขึ้นสู่โฮ้สต์จริง โดยเชื่อมต่อกับเว็บที่อยู่บนโฮ้สจริงอีกที เราอาจจะเช่าโฮ้สต์และติดตั้ง WordPress พร้อมมี Domain name เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการเชื่อมต่อกับ DesktopServer ของเราที่อาจจะทำเว็บเรียบร้อยแล้ว แล้วทำการ Deployment ข้อมูลทั้งหมดนี้ไปยังเว็บปลายทางได้เลย สำหรับคนที่ทำเว็บให้ลูกค้า ก็สามารถใช้เทคนิคนี้กับ sub domain ได้เช่นกัน โดยการสร้าง sub domain ขึ้นมา เช่น demo.myawesomewebdesign.com แล้วทำการ Deployment เว็บที่ทำเสร็จแล้วขึ้นไปให้ลูกค้าดูก่อนก็ได้ มีการแก้ไขตรงไหนเราก็ใช้การ Deploy นี้แหละอัพเดตเว็บ สะดวกดีนะคะ
Multisite  รองรับการทำ multisite


ที่มา: http://www.wpthaiuser.com/desktopserver/