โลโก้ของคุณใช่แล้วครับ อย่างแรกที่ไม่ควรพลาดในการเอามาใส่ในเว็บไซต์ก็คือ “โลโก้” ครับ เพราะว่าโลโก้จำเป็นมากๆ มันเป็นส่วนหนึ่งของแบรนด์ที่จะช่วยให้คนจดจำแบรนด์ของเราได้มากขึ้น ผมเห็นมีหลายที่ที่ใช้โลโก้ แบบทำมาจากภาพ clipart หรือโลโก้ที่ไม่ใส่ใจเท่าไหร่ จริงๆแล้ว อย่ามองข้ามโลโก้นะครับ ถ้าเราอยากยกระดับให้เป็น Professional โลโก้ของเราก็ควรจะมีความเป็นมืออาชีพด้วยเช่นเดียวกัน
ใส่สโลแกน หรือ Tag lineสำหรับ ส่วนนี้มันเป็นเหมือนคำพูดสั้นๆที่บ่งบอกว่า เราคือใครครับ ควรจะเป็นคำพูดที่กระชับ และเข้าใจได้ทันทีว่าเราคือใคร เรามีอะไรดี ครับ ยกตัวอย่างเช่นของ Pizzahut เค้าก็จะมี tagline ของเค้าว่า “Make it Great” แบบนี้เป็นต้นครับ
สำหรับคนที่คิด Tagline ไม่ออก ให้ลองตอบคำถามต่อไปนี้ดูนะครับ
- คุณคือใคร? เป็นดีไซน์เนอร์ หรือว่าเป็นนักเขียน หรือว่าเป็นนักพัฒนาโปรแกรม หรือ…?
- คุณทำอะไร? ออกแบบเว็บไซต์ หรือพัฒนาเกม หรือ…?
- คุณมาจากไหน? ประเทศอะไร? เมืองอะไร?
- คุณทำงานเป็นฟรีแลนซ์หรือทำงานในสตูดิโอหรือในบริษัท?คุณกำลังมองหางานอะไรอยู่?
ยกตัวอย่าง Tagline ให้ดูครับผมรักการตัดต่อวีดีโอ…
ใช่ แล้ว! ผมรักในการผสมผสานและสร้างเรื่องราวผ่านภาพเคลื่อนไหว ผมเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือตัดต่อภาพ และชอบทำงานที่ท้าทายในทุกรูปแบบ งานที่ผมทำต้องสมบูรณ์แบบที่สุดให้ได้…นี่แหล่ะครับคือผมเอง
เป็นต้นครับ
ตัวอย่างผลงานของคุณถ้าหากว่าคุณทำเว็บเพื่อบริการอะไรสักอย่างแล้ว สิ่งที่จำเป็นอีกอย่างก็คือ “ตัวอย่างงาน” ที่คุณเคยทำครับ เพื่อให้ลูกค้าได้เห็นว่า อ้อ! เราทำอันนี้ได้นะ และทำออกมาแล้วเป็นแบบไหน เพื่อให้เค้าได้เห็นไอเดียที่ผ่านมาของเรา ยิ่งถ้าในวงการออกแบบเว็บไซต์ ลูกค้ายิ่งอยากรู้ครับว่า เว็บที่เราเคยดีไซน์มาแล้วมีหน้าตาอย่างไรบ้าง ก่อนที่เค้าจะจ้างเรา เค้าเองก็ต้องแน่ใจก่อนว่างานที่เราทำมันผ่านเกณฑ์ของเค้าหรือเปล่า ดังนั้นข้อนี้จึงจำเป็นเป็นอย่างยิ่งครับ
อ้อสำหรับผลงานที่เอาลง ไม่ต้องเอาลงทั้งหมดที่เราเคยทำมานะครับ (นอกเสียจากว่าผลงานที่คุณเคยทำมามันมีไม่กี่ชิ้น) คำแนะนำของผมคือให้เลือกผลงานที่ “ดีที่สุด” บางส่วนมานำเสนอครับ เอาผลงานที่เห็นแล้วต้องร้อง “ว้าว!!!” มาลงแทนที่จะลงทุกอย่างที่เคยทำดีกว่านะครับ ^^
บอกไปว่าคุณบริการอะไรบ้าง (หน้า Services)หน้านี้จะเป็นหน้าที่เราบอกว่าเรามีความสามารถด้านใดบ้าง หรือเรามีบริการอะไรบ้างที่มีประโยชน์สำหรับลูกค้า ให้คุณเขียนลงไปเลยครับ “อย่าให้ลูกค้าเดาเอาเอง” ครับ ยิ่งถ้าหากว่าบริการของคุณมีความโดดเด่นและแตกต่างจากคนอื่นๆมาก หน้านี้ยิ่งจำเป็นต้องมีครับผม
หน้า Aboutหน้านี้เป็นหน้าที่ช่วยให้ลูกค้าหรือผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ได้รู้ว่า “จริงๆแล้วคุณคือใคร” เชื่อเถอะครับว่า หากต้องการทำธุรกิจแล้วคนส่วนใหญ่ต้องการทำธุรกิจกับคนครับ ดังนั้นทำไงก็ได้ให้เค้าได้รู้จักคุณก่อนที่เค้าจะจ้างคุณครับ และแน่นอนครับว่า หน้าเกี่ยวกับเรานี่แหล่ะครับ ตอบโจทย์ได้
คำยืนยันจากลูกค้าจริงโดยประสบการณ์ส่วนตัวแล้วเนี่ย ก่อนที่ผมจะซื้อหรือใช้บริการอะไร ผมก็มักจะดูก่อนว่า คนอื่นๆที่เค้าเคยซื้อหรือใช้บริการ เค้ามีความคิดเห็นอย่างไร เช่นเดียวกันครับ ในุมมองของผู้เยี่ยมชม เค้าเองก็ต้องการรู้เรื่องเหล่านี้ไม่ต่างกัน ในหน้านี้จะเป็นหน้าที่ช่วยสนับสนุนให้คุณน่าเชื่อถือและน่าใช้บริการมาก ขึ้นครับ หากว่าคุณยังไม่มีคำรีวิวจากลูกค้า เมื่อเสร็จงานแล้วคุณอาจจะขอให้พวกเค้าเขียนให้ก็ได้นะครับ ถ้าเราทำงานดี ผมเชื่อว่าลูกค้าเองก็ย่อมอยากจะเขียนให้เราอยู่แล้วครับ ^^
หน้าติดต่อหลังจากที่ลูกค้าได้เข้าเว็บไซต์ของคุณแล้ว และได้เห็นทั้งผลงาน ได้รู้จักคุณแล้วด้วยว่าคุณคือใคร ทำอะไรได้บ้าง ถึงตอนนี้เค้าก็อยากจะติดต่อคุณเพื่อคุยธุรกิจหรือว่าจ้าง ดังนั้นหน้าติดต่อเราก็จึงจำเป็นไม่แพ้กันอีกครับ ในหน้านี้ให้เราระบุทุกช่องทางที่ลูกค้าสามารถติดต่อเราได้ ไม่ว่าจะเป็นอีเมลล์ เบอร์โทรศัพท์ หรือ social media ต่างๆ บอกให้ชัดเจนไปเลยครับ เชื่อไหมครับว่า มีหลายเว็บไซต์ที่ไม่มีช่องทางติดต่อกลับไป ผมว่าพลาดโอกาสอย่างน่าเสียดายไปเลยจริงๆครับ รู้แล้วพวกเราเองก็อย่าพลาดนะครับ
และนี่แหล่ะครับ คือลิสต์รายการที่จำเป็นที่เว็บไซต์ที่ดีควรจะมีให้ครบครับ รายการพวกนี้ผมอิงจากในแง่ของคนที่ติดต่อมาครับ เค้าก็ต้องอยากรู้ว่า เราคือใคร ทำอะไร เด่นด้านไหน มีผลงานที่ผ่านมาอะไรบ้าง ใครเคยใช้บริการแล้วเป็นอยางไร และจะติดต่อเราได้อย่างไรนั่นเองครับ
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งนะครับว่าบทความชุดนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านผู้อ่านได้ บ้าง หากมีอะไรเพิ่มเติมสามารถแนะนำผมได้ตลอดเวลาเช่นเดียวกันนะครับ แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้า สวัสดีครับ
ที่มา:
https://www.buksohn.com/%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A7%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%8B%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%B5-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%B5.html