ผู้เขียน หัวข้อ: 9 ข้อผิดพลาดใน User Experience ที่เว็บไซต์ส่วนใหญ่ทำ  (อ่าน 860 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ smf

  • [color=green][i]"ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายอย่างง่ายๆ ให้คนอื่นเข้าใจได้แล้วล่ะก็ แสดงว่าคุณยังเข้าใจมันไม่ดีพอ"[/i][/color]
  • Administrator
  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 1,368
  • พอยท์: 5
    • ดูรายละเอียด
    • pordoo.com
    • อีเมล์
การออกแบบเว็บไซต์นั้นมีจุดประสงค์ทำให้ User ได้รับรู้ข้อมูลที่น่าสนใจ แต่ก็มีหลาย ๆ เว็บไซต์ที่ออกแบบมาแล้ว User ไม่อยากจะกลับมาใช้ใหม่หรือไม่สะดวกต่อประสบการณ์ของ User ( User experience : UX ) บทความนี้จะนำเสนอว่าสิ่งเล็กๆที่คุณควรจะทำเพื่อไม่ให้ผิดพลาดอย่างที่ กล่าวมาเบื้องต้น
หากท่านใดยังไม่รู้จักคำว่า User Experience สามารถแวะไปอ่านบทความ User Experience คืออะไร ก่อนได้ครับ
บทความนี้เรียบเรียงมาจากเว็บไซต์ UXMovement ครับ แล้วผมก็เพิ่ม Code Example เองเพื่อให้ผู้อ่านนำไปทำตามได้ง่ายขึ้น ท่านใดถนัดอ่านเวอร์ชั่นอังกฤษมากกว่าสามารถแวะเข้าไปอ่านได้เลยครับผม
 1. การทำสีของ Link ให้เป็นสีที่แตกต่าง visited a link tag css height=58 สีของลิงค์ที่เข้าแล้ว กับสีของลิงค์ที่ยังไม่ได้เข้า
  อย่างที่เราทราบกันดีว่า Tag <a> นั้นเวลาที่แสดงในเนื้อหาควรจะเป็นสีที่แตกต่างให้ User ได้รับรู้ว่ามันสามารถคลิกไปที่อื่นได้นะ ไม่ใช่สีเดียวกับเนื้อหาเลยแล้วจะรู้ได้ไงว่าคลิกได้ไม่ได้ คลิกแล้วหรือยัง ?
หากคลิกแล้วควรจะมีอีกสีหนึ่งให้ User รับทราบไม่งั้น User จะจำไม่ได้หากว่าในเนื้อหามี Link เยอะแยะมากมายไปหมด ควรเลือกสีที่ดรอปลงจากสีที่เป็นสี Link ปกติ เช่น ก่อนคลิกเป็นสีฟ้า คลิกแล้วเป็นสีม่วง (อันนี้เป็น Default ของบราวเซอร์)
เราสามารถเขียน CSS เพื่อเปลี่ยนสีของลิงค์ที่ User กดเข้าไปแล้วได้ดังนี้ครับ
 
  • a:visited { color: red; }
2. ปิดพวก Lightbox ด้วยการคลิกนอกกรอบก็ได้ cssdee close lightbox popup height=310 ตัวอย่าง Popup จาก CSSDEE
  คุณคงจะเคยเจอแน่ๆพวกเว็บไซต์ที่เข้าเว็บปุ๊บมีกล่องอะไรไม่รู้ให้คลิก Like หน่อยจะปิดก็ลำบากต้องมาหาปุ่มปิดที่เป็นรูปตัว “X” ซึ่งแทนที่จะกดจากด้านนอกกล่องก็เข้าได้เหมือนกันว่ามันเป็นจะปิด อย่าให้ User ต้องกดปิดจากทางนั้นอย่างเดียว ซึ่งตัวอย่างนี้ผมเจอหลายเว็บมากครับ
ซึ่งวิธีการแก้ไขก็คือ ให้หา jQuery สคริปต์ Lightbox ตัวอื่น ๆ ที่รองรับการปิดด้วยการคลิกนอกกล่องมาใช้ครับ ถ้าเขียนเองน่าจะหนักอยู่เหมือนกัน
 3. ตั้งค่าให้ cursor ไปอยู่ที่ field สำหรับกรอกตัวแรกเมื่อ Form แสดง focus form using jquery focus height=222 ช่อง name ควรจะถูก focus โดยอัตโนมัติ เพราะรู้ว่า User ต้องพิมพ์ช่องนี้ก่อนอยู่แล้ว
  เมื่อหน้าเพจนั้นมี Form สำหรับกรอกข้อมูล User จะรู้อยู่แล้วว่าจะต้องคลิกที่ Field ช่องแรกด้านบนสุดเพื่อเริ่มกรอกฟอร์ม แต่จะดีกว่าไหม ถ้าหากเราจะตั้งค่าให้คีย์บอร์ดพิมพ์ใส่ Field แรกสุดได้ทันที โดยที่ User ไม่ต้องไปเสียเวลาคลิกเลือก Field ก่อน
เราสามารถทำแบบนี้ได้โดยใช้ jQuery ตามบรรทัดด้านล่างเลยครับ
[javascript]
 $(‘.first-input’).focus();
 [/javascript]
 4. ตั้งค่าให้กดปุ่ม “Enter” แล้วเป็นการส่งค่า Form ต่อจากข้อ 3 คือ เมื่อ User กรอกข้อมูลครบหมดแล้วอย่าลืมตั้งค่าให้กดปุ่ม Enter แล้วส่งฟอร์มได้ด้วย ปกติแล้วถ้าหากเราใช้ปุ่มแบบโค้ดด้านล่างนี้
 
  • <input type="submit" value="ส่งฟอร์ม" />
เราก็จะสามารถกด Enter เพื่อส่งฟอร์มได้โดยอัตโนมัติอยู่แล้ว แต่บางครั้งหากเราทำเป็นปุ่มปกติ เช่นใช้แท็ก <a> มาทำปุ่มส่งฟอร์ม ก็อาจจะต้องใส่โค้ด Javascript ตรวจเช็คเองครับ
การให้กดปุ่ม Enter สะดวกกว่าจะให้เอาเม้าส์ไปคลิกหลายเท่า และไม่สร้างความรำคาญให้แก่ User ด้วย ข้อนี้ผมก็เจอหลายเว็บไซต์ที่ดีไซน์มาพลาดเหมือนกันครับ
 5. อย่าลืมใส่ Tool tip บน icon เพื่ออธิบายว่ามันคืออะไร พวก icon ทั้งหลายนั้นโดดเด่นและอธิบายความหมายตัวมันเองอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามไม่ใช่ทุกคนจะเข้าใจว่ามันคืออะไร มันสำคัญมากหากจะมีคำแนะนำ ( Tool tips ) ที่จะบอกว่า icon ที่เราจะทำการคลิกลงไปมันจะเกิดอะไรขึ้น เช่น icon รูปถังขยะก็อาจจะมีคำแนะนำโผล่ขึ้นมาว่า “ลบข้อความ”
โดยเราสามารถใส่แท็ก title=”ข้อความ” ครอบรูปไอคอนที่ต้องการแสดงเมื่อเม้าส์ชี้ออกมาได้ ลองเอาเม้าส์ชี้รูปด้านล่างนี้ดูครับ ชี้ทิ้งไว้สักพักจะมีข้อความในกรอบเหลือง ๆ ขึ้นมา สามารถดูโค้ดได้ด้านล่างเลย
 
  • <a title="ทดสอบข้อความ" href="#"><img alt="" src="URL รูป" /></a>
6. ใส่ Link กลับมาที่ Home page ใน Blog page อ่านหัวข้ออาจจะงง ๆ สักเล็กน้อยนะครับ มีหลายเว็บไซต์ที่แยกส่วนของเว็บหลัก กับส่วนบลอคแยกกัน โดยเฉพาะเว็บพวก Web App ที่ส่วนเว็บหลักเป็นบริการให้ลูกค้าเข้ามาใช้ ส่วนบลอคจะเอาไว้ให้ลูกค้าเข้ามาอ่านอัพเดทต่าง ๆ ของทีมงานได้ ซึ่งเว็บพวกนี้บางครั้งเวลาเราเข้าส่วนบลอคไปแล้ว จะหาลิงค์กลับมาส่วนเว็บหลักไม่เจอ
ซึ่งถ้าลูกค้ากลับมาส่วนเว็บหลักไม่ได้ แล้วเค้าต้องพิมพ์ URL ใหม่เองเพื่อกลับไปเว็บหลัก จะสร้างความลำบากให้ลูกค้าจนอาจจะไม่กลับไปหน้าหลักแล้วก็ได้
 7. แสดงภาพใหญ่เมื่อ User คลิกที่รูป designil popup image height=266 ตัวอย่างการคลิกบนรูปเล็กในบทความ เพื่อดูรูปใหญ่ที่อ่านได้ง่ายกว่า
  บางครั้งรูปในบทความ เช่น บน Designil.com เวลากดบนรูปเล็ก จะเปิดขึ้นมาเป็นรูปใหญ่อีกทีครับ ซึ่งบางเว็บทำออกมาไม่ดี ทำให้พอกดเข้าไปมีรูปใหญ่ขึ้นจริงครับ แต่ดันใช้รูปเล็กมาขยาย ทำให้กราฟฟิกแตกกระจาย ไม่ได้ช่วยให้ User เห็นได้ชัดขึ้นเท่าไรครับ
 8. อนุญาตให้ User แก้ไขสิ่งที่ User เป็นคน Post Facebook Edit Comment height=83 บางครั้ง Admin ก็พิมพ์ผิดครับ
  หลาย ๆ เว็บไซต์มีส่วน Comment ซึ่งทำให้ User ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน แต่กลับไม่มีที่ให้ User สามารถแก้ไขข้อความได้ ยอมรับเถอะครับไม่มีใคร Perfect หรอกต้องมีพิมพ์ผิดกันบ้างล่ะ อย่าลืมทำส่วนนี้ให้ User ได้แก้ไขด้วยล่ะครับ
 9. อย่าใช้ “Sign in” และ “Sign up” ด้วยกัน sign in vs sign up height=55 สองคำนี้เขียนคล้ายกัน แต่ความหมายไม่เหมือนกันนะครับ
  ซึ่งคำสองคำนี้มีคำว่า “sign” เหมือนกันอาจจะทำให้สับสนได้ หลายๆเว็บนั้นชอบใช้คำนี้เพราะอาจจะสะดวก อาจจะสั้นแต่ทำให้ User เกิดความสับสนได้และคลิกผิดอัน ทางที่ดีควรจะใช้คำที่อธิบายความหมายในตัวเช่น หากเป็นภาษาไทยก็เป็น “ลงทะเบียน | เข้าสู่ระบบ” ไปเลยหรือหากเป็นคำภาษาอังกฤษอาจใช้คำอื่น เช่น  “Create Account | Log in” อย่างนี้ก็ได้ครับ
ความน่าจดจำของ User อาจจะอยู่ในทุกสิ่งที่เราทำให้แก่ User ในเว็บไขต์ของเราครับ หลายๆเว็บนั้นได้ทำพลาดอย่างที่กล่าวมา หากเราใส่ใจรายละเอียดเล็กน้อยแน่นอนมันอาจจะไม่ได้ทำให้เว็บของเราประสบ ความสำเร็จยิ่งใหญ่ แต่ User ก็จะจำได้ว่าเว็บไหนมีอะไรที่สะดวกสำหรับเขาและความง่ายที่น่าจดจำครับ
Credit รูป Cover – Photo Credit: Samuel Mann


ที่มา: http://www.designil.com/user-experience-ux-design-ui-tips.html