ผู้เขียน หัวข้อ: ‘โดดเดี่ยว’ อย่างไรไม่ให้ ‘เดียวดาย’  (อ่าน 1594 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ mind

  • Global Moderator
  • Newbie
  • *****
  • กระทู้: 8
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
‘โดดเดี่ยว’ อย่างไรไม่ให้ ‘เดียวดาย’
« เมื่อ: 18 กุมภาพันธ์ 2016, 11:08:49 »
อีกหนึ่งปัญหาที่ First Jobber อย่างเราๆ จะต้องพบเจอกันอย่างแน่นอนก็คือการปรับตัวเข้าสู่สภาวะ Post-Uni คือไม่มีมหาวิทยาลัยให้เราได้ไปสุงสิง พบปะ เม๊ามอยกับเพื่อนสาวเราแล้ว ในชีวิตการทำงานคือทำเสร็จ หกโมง ทุ่มนึง ก็ออกมาจากออฟฟิศ แล้วก็เกิดคำถามว่า ‘วันนี้ชั้นจะทำอะไรดี?’

คำถามสั้นๆ ง่ายๆ นี้ หลายคนหาคำตอบให้กับมันไม่ได้ แล้วเราก็จะเริ่มตีความความรู้สึกนี้ไปต่างๆ นานา จนมันพัฒนากลายเป็นความเหงาโดยไม่รู้ตัว

แม่บริทเคยกล่าวไว้ว่า ‘my loneliness is killing me’ มันก็จริงอยู่ที่ ‘ความเหงา’ กลายเป็นอีกหนึ่งอาวุธชีวภาพที่ทำลายสภาพจิตใจของคนสมัยนี้ ประกอบกับ FOMO หรือ ‘Fear Of Missing Out’ (กลัวการถูกลืมหรือพลาดอะไร) ทำให้เรายิ่งรู้สึกว่าการอยู่คนเดียวเป็นเรื่องน่าอับอายขายขี้หน้าประหนึ่ง โดนขุดรูปสมัยอ้วนขึ้นมาในไทม์ไลน์อีกครั้ง
แต่ช้าก่อน อย่าพึ่งคิดกันไปไกล แค่เราไม่มีใครให้ไปเจอ ไม่มีอะไรจะทำ ไม่ได้แปลว่าเราจะต้องอยู่คนเดียวอย่างเศร้าสร้อย เพียงปฏิบัติตาม 5 ข้อนี้จาก Lifehacker (จริงๆแล้วมี 6 แต่ขออนุญาตรีไรท์ให้เหลือ 5 นะคะ) เราสามารถเฉิดฉายสไตล์พี่ลูกเกดได้ถึงแม้เราจะเดินเอ็มควอเทียร์คนเดียวก็ตาม

อยู่กับปัจจุบัน – คุณ Brock Hansen จาก Psych Central กล่าวไว้ว่า ‘ความเหงาเป็นเพียงความรู้สึก ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ความรู้สึกเหงาเกิดจากของบางสิ่งที่ไปกระตุ้นสมองเราให้นึกถึงความรู้สึก เหงา’ บางทีสมองเราจะติดอยู่ในลูปที่ว่าเราอยู่คนเดียวแล้วก็จะนึกถึงช่วงเวลาที่ เรามีคนอยู่รอบๆ ตัวเราว่าช่วงเวลานั้นมันมีความสุขแค่ไหน แล้วเราก็จะยิ่งเหงามากขึ้นไปเรื่อยๆ เพราะเรายึดติดกับอดีตที่มันกลับมาไม่ได้ สิ่งที่ควรทำก็ง่ายมาก เลิกคิดซะ อดีตคือสิ่งที่ผ่านไปแล้ว การอยู่คนเดียวไม่ใช่สถานะถาวร มันแค่ชั่วคราว อยู่กับปัจจุบันให้มาก และใช้มันให้คุ้มค่า ทำอะไรก็ได้ที่อยากทำ แล้วมันจะช่วยให้เราเลิกคิดถึงความหลังที่ฝังใจเอง

ถอนรากถอนโคน – สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว ความเหงามันไม่ได้จู่ๆ ก็โผล่มา มันมีต้นเหตุของมัน ไม่ว่าจะเป็นเพลง หนัง สถานการณ์ สิ่งของ รูปถ่ายอะไรก็ตามที่สมองเรา associate เข้าด้วยกันแล้ว สิ่งที่ควรทำก็คือจัดการกับมันซะ เอามันออกไปจากช่วงสายตาของเรา ถ้าเราไม่เห็น เราก็จะไม่นึกถึง แล้วเราก็จะไม่เหงา แต่บางกรณีสาเหตุอาจจะมาจากบางช่วงเวลาเช่นคืนวันอาทิตย์ที่เราไม่มีอะไรทำ ไม่มีใครให้ไปเจอ ก็พยายามเตรียมกิจกรรมเบาๆ แบบกรุบกริบๆ เพื่อฆ่าเวลาให้ผ่านไปก็ได้ค่ะ

โซเชียลให้น้อยลง – Social Network เชื่อมต่อเราเข้ากับทุกคนก็จริง แต่นั่นหมายความว่าเราก็จะเห็นทุกอย่างที่เพื่อนเราทำ (หรือที่เพื่อนเราอยากให้เห็นว่าทำอยู่) เราก็จะเกิดความคิดที่ว่า ‘อยากทำด้วยจัง’ ‘อยากไปเจอจัง’ หรือไม่ก็ ‘นังนี่อวดผัวจัง!’ นั่นแหละที่เราจะรู้สึกเหงาขึ้นมาทันที ลองเล่นให้น้อยลงหรืออย่างน้อยเห็นอะไร อ่านอะไร ก็ไม่ต้องรู้สึกหรือคิดตามให้มาก จะได้ไม่เก็บมาเป็นปมในใจค่ะ

คนเดียวดีจะตาย – ทุกอย่างมีข้อดีข้อเสียของมันหมด การอยู่คนเดียวก็เหมือนกัน เราจะทำอะไร ไปที่ไหน ไปอย่างไรก็ทำได้ ไม่มีใครต้องมาแคร์มาแตร์เดอีกับฉัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นตอนเราอยู่คนเดียวก็จะมีเราที่เห็นและรับรู้คน เดียว มันอาจจะเป็นเวลาที่เราได้ทำความรู้จักกับตัวเองมากขึ้นด้วย ลองทำอะไรโง่ๆที่เราไม่กล้าทำต่อหน้าคนอื่นดู เผื่อเราจะค้นพบความชอบใหม่ของตัวเราก็ได้ เช่น “เธอ” เป็นต้น #เนียน

อย่าเทเพื่อน – โดยกมลสันดานแล้วมนุษย์เราเป็นสัตว์สังคม เราอยู่คนเดียว (ไปตลอด) ไม่ได้หรอก เพราะฉะนั้นถ้าเราไม่ได้รู้สึกอยากอยู่คนเดียวจริงๆ ถ้าเพื่อนนัดออกไปไหน พยายามอย่าเบี้ยวนัดเลย ออกไปพบปะเพื่อนสักคนสองคน ไปนังฟังเพื่อนด่าชะนีที่ชอบอวดผัวตัวเองลงเฟซก็ได้ สนุกดี ไม่ต้องพูดอะไร แค่นี้เราก็ไม่รู้สึกเหงาแล้ว

เอาจริงๆ สุดท้ายแล้วทุกข้อจะกลับไปที่ข้อแรกอยู่ดีนั่นก็คือ การอยู่กับปัจจุบัน มีสติอยู่ตลอดเวลาว่าการอยู่คนเดียวเป็นข้อเท็จจริง แต่ความเดียวดาย มันเป็นแค่ความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากสมองของเรา
ถ้าเรามีสติ เราจะควบคุมสมองของเราได้ว่าให้คิดหรือไม่ให้คิดอะไร เราก็จะมีความสุขได้ถึงแม้ว่าเราจะอยู่คนเดียวก็ตาม แต่เราก็คงจะมีความสุขกว่านี้ถ้ามีเธอ อุ๊ย …

credit: http://fjsk.in.th/how-to-be-alone-but-not-lonely/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 กุมภาพันธ์ 2016, 01:28:59 โดย mind »