มี ประโยชน์กับการทำงานในส่วนของโรงพิมพ์เนื่องจากไฟล์งานที่มีความสมบูรณ์จะช่วยลดความผิดพรากที่จะเกิดขึ้น เช่นความคมชัดของรูปภาพรูปแบบฟอนต์ ขนาดงาน รวมถึงปัญหาต่างๆที่จะเกิดขึ้นจากการนำไฟล์งานไปเปิดในเครื่องอื่นหรือการเปิดไฟล์งานด้วยโปรแกรมที่มีเวอร์ชันต่างกันได้ สิ่งต่างๆ ที่ควรทำการตรวจสอบ คือ
1. รูปภาพ ภาพที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์เป็นสีระบบ CMYK โดยไปที่เมนู Image > Image Size….. รูปที่ใช้ควรมีขนาดที่เหมาะสมกับขนาดงานเพราะการย่อหรือขยายรูปเมื่อนำงานไปพิมพ์แล้วจะทำให้รูปไม่ชัดโดยไฟล์ภาพที่นิยมใช้กับงานพิมพ์คือ TIFF, PSK, PSD, BMP, JPIG
2. ฟอนต์ หลังจากตรวจสอบความถูกต้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว ควรทำการ Create Outlines โดย ไปที่เมนู Type > Create Outlines เนื่องจากการนำไฟล์งานไปเปิดในเครื่องอื่นถ้าเครื่องเครื่องนั้นไม่มีฟอนต์ที่ใช้ในงานอยู่ โปรแกรมจะนำฟอนต์อื่นมาแสดงผลแทน
3. สี โหมดสีที่ใช้ในไฟล์งานและ Document Color Mode ต้องเป็น CMYK ซึ่งสามารถตรวจสอบ Document Color Mode ได้โดยดูที่มุมซ้ายบนของหน้าต่างงานว่าเป็น CMYK Color (กรเปลี่ยนแปลง Document Color Mode ในภายหลังจะทำให้ค่าสีที่ใช้งานทีการเปลี่ยนแปลง)
Brush ถ้ามีการใช้ Brush ในการวาดรูปควรทำการแปลงให้เป็นลายเส้นโดยไปที่เมนู Object > Expand AppearanceSymbolการใช้ Symbol ต้องแปลงให้เป็นลายเส้น โดยไปที่ เมนู Object > Expand..
Crop Mark การกำหนดแนวเส้นในการตัดเจียนกระดาษ เพื่อบอกถึงขอบเขตงานที่ใช้จริง หลังจากพิมพ์งานเสร็จ
โรงพิมพ์จะนำงานไปตัดโดยตัดตามเส้นตัดที่กำหนดไว้ในไฟล์งาน
การสร้าง Crop Area และ Crop Marks
- สร้างเส้นตัดได้โดยในขั้นแรกให้สร้างกล่องสี่เหลี่ยมที่มีขนาดเท่ากับขนาดงานของท่าและคลิกเอกกล่อสี่เหลี่ยมไว้หลังจากนั้นเลือกการสร้างเส้นตัดซึ่งมี 2 แบบ ดังนี้
- แบบ Crop Area : ในเมนู Object > Crop Area > Make เนื่องจาก Crop Area เมื่อสร้างขึ้นแล้วจะไม่สามารถคลิกได้ถ้าต้องการลบทิ้งให้ไปที่เมน Object > Crop Area > Release การใช้ Crop Area ใช้ได้กับรูปทรงสี่เหลี่ยมเท่านั้นและเส้นตัดที่ได้จะมองเห็นเฉพาะในโปรแกรมเท่านั้นถ้าพิมพ์งานออกมาดูจะมองไม่เห็นเส้นตัด
- แบบ Crop Marks : ไปที่เมนู Filter > Create > Crop Marks การใช้ Crop Marks เส้นตัดที่ได้มาจะสามารถคลิกเลือกได้และสามารถใช้กับรูปทรงอื่นได้อีกด้วย
การเผื่อเนื้อที่ในการตัดเจียนขอบกระดาษในกรณีที่ชิ้นงานมีพื้นสีหรือรูปภาพวางอยู่ที่ขอบของเนื้องานควรทำการขยายพื้นที่ออกไปจากขอบเขตงานจริงประมาณ 3 มิลลิเมตรเนื่องจากงานที่พิมพ์เสร็จเมื่อนำไปตัดอาจมีการเหลื่อมซึ่งจะก่อให้เกิดการเหลื่อมขาวขึ้น
การเตรียมไฟล์ส่งโรงพิมพ์
โดยทั่วไปการส่งไฟล์ให้กับโรงพิมพ์มักจะใช้การเขียนลง CD หรือ DVD ไฟล์ที่ต้องรวบรวมประกอบด้วย
ไฟล์ งาน อาจจะส่งเป็น 2 ไฟล์คือ ไฟล์ที่ได้ Create Outlines แล้วและไฟล์ที่ยังไม่ได้ Create Outlines เพื่อใช้ในการแก้ไขภายหลังรูปภาพรวบรวมรูปภาพที่ใช้ในไฟล์งานทั้งหมด ทั้งรูปที่ Link และไม่ Link ท่านสามารถตรวจสอบว่ารูปใดที่ใช้ในไฟล์งานบ้างได้จาก Palette Linkฟอนต์ ควร Save ฟอนต์ทุกตัวที่ได้ใช้ประกอบภายในหน้างานส่งไปยังโรงพิมพ์ด้วยเพื่อรองรับความผิดพลาด หรือการแก้ไขไฟล์งานเล็กๆ น้อยๆ ที่อาจเกิดขึ้นซึ่งก่อนการ Create Outline จะสามารถตรวจดูได้ว่าฟอนต์ที่ใช้ในงานมีฟอนต์ใดบ้างที่เมนู Type > Find Font… ฟอนต์ที่ใช้ทั้งหมดจะอยู่ในช่อง Fonts in Document ใบพรินต์งาน (ตัวอย่างชิ้นงาน) เป็นงานที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว ควรทำการพิมพ์ส่งไปเป็นตัวอย่างเพื่อให้โรงพิมพ์ตรวจสอบความถูกต้องด้วย
การ Save ไฟล์จากโปรแกรม Illustrator CS3
ในโปรแกรม Illustrator นั้น สามารถเซฟไฟล์งานได้หลายรูปแบบ
แต่รูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันคือ ไฟล์ AI เป็นไฟล์ที่ใช้ได้กับโปรแกรม Illustrator เท่านั้น
วิธีการสร้างไฟล์ AI
- ไปที่เมนู File > Save As… ในช่อง Save as Type เลือก Format เป็น AI ตั้งชื่อไฟล์ และระบุตำแหน่งสำหรับจัดเก็บ
- จากนั้นกดปุ่ม Save หน้าต่าง Illustrator Options จะเปิดขึ้นมาสามารถเลือกเซฟไฟล์เป็นเวอร์ชันที่ต่ำกว่าได้ที่ช่อง Version ไฟล์ EPS เป็นไฟล์กราฟิกในสมัยแรกๆที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ซึ่งในปัจจุบันก็ยังคงมีการใช้กันอยู่เป็นไฟล์ที่สามารถนำไปใช้ได้กับโปรแกรมกราฟิกทุกโปรแกรม
วิธีการสร้างไฟล์ EPS
2.1 ไปที่เมนู File > Save As.. ในช่อง Save as Type เลือก Format เป็น EPS
2.2 ตั้งชื่อไฟล์และระบุตำแหน่งสำหรับจัดเก็บ จากนั้นคลิกปุ่ม Save หน้าต่าง EPS Options จะเปิดขึ้นมา
2.3 สามารถเลือก Save ไฟล์เป็นเวอร์ชันที่ต่ำกว่าได้ที่ช่อง Version ในส่วน Options สามารถสั่งให้โปรแกรมทำการฝังรูปที่ Link ไว้ทั้งหมดได้ โดยการคลิกเลือกคำสั่ง Include Linked Files
2.4 คลิกปุ่ม OK
3. ปัจจุบันในวงการสิ่งพิมพ์เริ่มหันมาสนใจรูปแบบไฟล์ PDF กันมากขึ้นจึงได้มีการตั้งมาตรฐานของไฟล์ PDF เพื่อใช้ในขั้นตอนของการผลิตสิ่งพิมพ์ โดยใช้ชื่อว่า PDF/X ไฟล์ PDF/X มีการแบ่งออกเป็น PDF/X-1, PDF/X-2, PDF/X-3 แต่ไฟล์ที่ผ่านการรับรองและนำมาใช้ได้กับระบบงานพิมพ์แล้ว คือ PDF/X-1a และ PDF/X-3 โดยมีข้อกำหนดคือจะต้องมีการฝังฟอนต์ทุกฟอนต์ในไฟล์ PDF จะต้องมีการระบุขอบเขตของหน้างานไม่มีการกำหนด Security รองรับระบบสี CVYK และ Spot (กรณี PDF/X-1a) และรองรับการจัดการสี (กรณี PDF/X-3)
วิธีการสร้างไฟล์ PDF/X จาก Photoshop CS3 หรือ Illustrator CS3
- ไปที่เมนู File > Save As ในช่อง Save as Type เลือก Format เป็น PDF ตั้งชื่อไฟล์ และระบุตำแหน่งสำหรับจัดเก็บ จากนั้นคลิกปุ่ม Save หน้าต่าง Save Adobe PDF จะเปิดขึ้นมา ในส่วนของ Adobe PDF Preset เลือก [PDF/X-3:2002] โดยเลือกให้ตรงกับระบบงานของท่าน ที่ช่อง Standard เลือก PDF/X-1a 2001 หรือ PDF/X-3 2002 และที่ช่อง Compatibility เลือกเป็น Acrobat 4 (PDF 1.3)
- คลิกปุ่ม Save PDF
1.ขั้นตอนการพิมพ์
ในขั้นตอนการพิมพ์ แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนก่อนการพิมพ์ (Pre – Press) ประกอบไปด้วย
- การออกแบบงาน
- การแยกสี เป็นการนำไฟล์งานมาแยกเป็นสีพื้นฐานสำหรับงานพิมพ์ คือ ฟ้า, แดง, เหลือง, ดำ
การถ่ายฟิล์ม ผลที่ได้จากการถ่ายฟิล์มคือแผ่นฟิล์มแยกสี 4 แผ่ตามสีพื้นฐานแต่ละสี ในกรณีที่มีการใช้สีพิเศษ (Pantone)
จำนวนแผ่นฟิล์มแยกสีแผ่นตามสีพื้นฐานที่ใช้ในส่วนการถ่ายฟิล์มนี้ต้องกำหนดชนิดของเม็ดสกรีนให้เหมาะกับชนิดของกระดาษและเครื่องพิมพ์เม็ดสกรีนที่ใช้ในปัจจุบันมี AM, FM, XMAM Screening (Amplitude Modulation): ลักษณะที่สำคัญของเม็ดสกรีน AM คือเป็นเม็ดสกรีนที่มีองศาสกรีน มีความละเอียดของเม็ดสกรีนเป็นค่า LPI (Line per Inch) ความละเอียดของเม็ดสกรีนมีผลต่อการพิมพ์ลงบนกระดาษดังนั้นจึงต้องเลือกกระดาษให้เหมาะสมFM Screening (Frequency Modulation) : เม็ดสกรีน FM ไม่มีองศาของเม็ดสกรีนเหมาะสำหรับงานที่ต้องการแก้ปัญหาตาเสื่อ ดอกจันต่างๆแต่ไม่เหมาะกับงานประเภทสีผิวคน (Skin Tone) มีความละเอียดของเม็ดสกรีนเป็น Micron (1 Micron = 1/100 มม.)XM Screening (Cross Modulation) : เม็ดสกรีน XV เป็นเม็ดสกรีนชนิดใหม่สร้างขึ้นเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เม็ดสกรีน AM และ FM โดยเป็นการผสมกันระหว่างเม็ดสกรีน AM และ FM ความละเอียดของเม็ดสกรีนเป็น LPI เช่นเดียวกับเม็ดสกรีน AM การอัด Plate แบ่งได้ 2 ระบบ
- ระบบ CTF (Computer To Film) คือ ระบบการทำ Plate โดยผ่านการทำฟิล์มขึ้นมาก่อนแล้วจึงนำฟิล์มที่ได้ไปทำ Plate ด้วยเครื่องอัด Plate ระบบแสง ระบบ CTP (Computer To Plate) การทำ Plate ในระบบนี้เป็นการทำงานจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปสู่ Plate โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านการทำฟิล์มก่อนการทำปรู๊ฟ (Proofing) เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในส่วนของการเตรียมพิมพ์เนื่องจากแผ่นปรู๊ฟจะใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของงานทั้งหมดซึ่งจะช่วยลดความสูญเสียได้เป็นอย่างมากการปรู๊ฟสามารถทำได้หลายรูปแบบปรู๊ฟบนจอคอมพิวเตอร์ (Soft Proof) เหมาะสำหรับการตรวจสอบเบื้องต้น เช่นการตรวจสอบตัวหนังสือ ข้อความและการจัดวางองค์ประกอบแต่ไม่สามารถตรวจสอบสีเนื่องจากจอคอมพิวเตอร์ใช้แสงในการแสดงผล
- ระบบ Digital Proof นิยมใช้ตรวจสอบโดยรวมก่อนดารทำฟิล์มและ Plate
การปรู๊ฟจริง เป็นการปรู๊ฟโดยใช้ Plate จริงหมึกและกระดาษจริงในการปรู๊ฟการปรู๊ฟในรูปแบบนี้สีที่เห็นจะใกล้เคียงกับสีในงานพิมพ์มากที่สุด
2. ขั้นตอนการพิมพ์ (Press) โรงพิมพ์จะนำ Plate ที่ได้จากการแยกสีไปขึ้นแทนพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ระบบต่างๆที่นิยมที่สุดคือเครื่องพิมพ์ระบบออฟเซต
3. ขั้นตอนหลังการพิมพ์ (Post – Press) หลังจากงานพิมพ์เสร็จเรียบร้อยจะถูกส่งมาในขั้นตอนนี้ เพื่อทำการตัดเย็บเล่ม หรือทำส่วนของงานหลังการพิมพ์ต่างๆ เช่นขัดเงายูวี, เคลือบพลาสติก, ขึ้นรูปกล่อง และอื่นๆ
1. แนะนำ ให้ใช้โปรแกรมที่ไฟล์จะมีขนาดไม่ใหญ่จนเกินไปนักและเป็นไฟล์ที่มีความละเอียดสูง อาทิเช่น Adobe Illustrator , Corel draw เป็นต้น ( อย่างไรก็ตาม ไฟล์จะมีขนาดใหญ่มากอยู่ดี ตามขนาดของอาร์ทเวิร์คที่ เราตั้งไว้ )โดยส่วนตัวแล้ว ทางเราแนะนำ Adobe Illustrator )
2. ใช้ระบบสี CMYK ในการผลิตไฟล์อาร์ทเวิร์คเนื่องจาก งานพิมพ์ต่างๆนั้น จะใช้ระบบสีเป็นแบบ CMYK ซึ่งจะเป็นระบบสีที่ จะมีความถูกต้องใกล้เคียงกับ งานที่พิมพ์ออกมาจริงๆมากที่สุด (RGB สีที่ออกมาจากเครื่องพรินท์ จะเพี้ยนมาก )
3.กำหนดขนาดของชิ้นงานให้มีอัตราส่วนที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ตัวอย่างเช่น 1:1 แต่อย่างไรก็ตามไฟล์ดังกล่าวจะมี ขนาดใหญ่มากๆ ( เป็นไปได้ถึงหลายๆร้อยMB จนถึงเป็น GB ) เราจึงอาจกำหนดขนาดของตัวชิ้นงานลดหย่อนลงมาทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความละเอียดของตัวงานพิมพ์ที่เราต้องการจะได้อัตราส่วนอาจจะเป็น 1:2 1:4 1:5 1:10 เป็นต้น (ชิ้นงานโฆษณาขนาดใหญ่ๆมากที่เห็นกันทั่วๆไปมักจะใช้อัตราส่วนของตัวชิ้นไฟล์งานในคอมพิวเตอร์ต่อขนาดของโปสเตอร์ที่ต้องการจริงๆ อัตราส่วน 1:10 กล่าวคือต้องการให้เห็นชิ้นงานโปสเตอร์ชัดในระยะห่างๆไม่ได้ต้องการความละเอียดในระยะใกล้ๆเท่าไรนัก
4. ลักษณะของไฟล์งานต้องระวังในเรื่องของ Font ยกตัวอย่างเช่น ไฟล์งาน AI ก็ควรจะ ทำการ Save โดยไม่ Compress ไฟล์หรือบีบอัดไฟล์ และอาจทำการ Save Font ที่เลือกใช้มากับการส่งไฟล์งานด้วยอีกขั้นหนึ่ง และทำการ Include links ไฟล์มาให้ครบถ้วนด้วย นอกจากนั้นยังควรแนบ font และ รูปต่างๆแนบมากับไฟล์งานจะได้ไม่เสียเวลาหากมีการแก้ไขเล็กน้อย ก็สามารถให้ทางเราแก้ไขได้
5. ควรระวังในการขยายภาพที่นำมาจากที่อื่นเนื่องจากการนำภาพที่มีความละเอียดต่ำๆมาขยาย อาจจะทำให้ไฟล์รูปดังกล่าวมี ความชัดเจนต่ำและเกิดเป็นลักษณะภาพแตก ได้และทำให้งานที่ออกมาดูไม่สวยงามซึ่งสาเหตุมาจากไฟล์งาน ไม่ใช่จากการพิมพ์
6. พึงระวังในตัวอักษรที่เราต้องการให้ออกมาปรากฏอยู่ในงานโปสเตอร์ไม่ให้เล็กเกินไป และระวังอย่าขยายตัวอักษรในวิธีการของการขยายรูปแต่ให้ขยายในลักษณะของ Text เพื่อให้ไฟล์ตัวอักษรต่างๆ ไม่แตกและมีความคมชัด
7. ควรสั่งพิมพ์ตัวอย่างของไฟล์งานลงบนกระดาษ A4 แนบมากับการส่งไฟล์งานให้กับทางเรา เพื่อเป็นการดูตัวอย่างของงานในขั้นต้น (ป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในส่วนของตัวไฟล์งาน )และเป็นการตรวจสอบไฟล์งาน เทียบกับการพิมพ์จริง
8. ควรทำการ create Outline ต้นฉบับที่จะใช้พิมพ์ (ป้องกัน Bad links หากไม่มั่นใจว่าแนบไฟล์มาด้วยทั้งหมด )และควรทำ ไฟล์ Back-up สำรองอีกไฟล์ ก่อนที่จะทำการ create outline เผื่อไว้หากต้นฉบับมีปัญหา
•เกี่ยวกับการ create outline คือการแปลงไฟล์ fonts ที่เป็น text ให้ออกมาเป็นกราฟฟิคซึ่งมีความแน่นอนกว่าซึ่งจะแก้ปัญหาในเรื่องของ font ไม่ตรงกันระบบปฏิบัติการ(OS) ไม่ตรงกันและปัญหาเกี่ยวกับเรื่องฟอนท์อื่นๆ
อย่างไรก็ตาม การ create outline จะทำให้ไฟล์งานมีขนาดใหญ่ขึ้นและไม่สามารถที่จะย่อขยายอักษรได้อีก (สัดส่วน ช่องไฟ ความชัดเจน ความคมชัดของตัวอักษรจะเสียไป ) ดังนั้นท่านจึงควรจะ creat outline ต่อเมื่อผลิตงานอาร์ทเวิร์คเสร็จสมบูรณ์ แล้ว แล้วทำการ creat outline เป็นขั้นตอนสุดท้าย