สร้างเป็นบ่อดิน ก่อเป็นคันดินหรือขุด จำนวน 3 บ่อ ประกอบด้วยบ่อตกตะกอน บ่อผึ่ง และบ่อปรับสภาพ เชื่อมต่ออนุกรมกัน โดยระบบระบายน้ำล้นข้ามไปสู่บ่อถัดไป จนไหลออกจากระบบ สู่แหล่งน้ำธรรมชาติ หรือนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ซึ่งบ่อบำบัดที่ใช้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ บ่อกึ่งไร้อากาศ และบ่อใช้อากาศ
บ่อกึ่งไร้อากาศ โดยทั่วไปมีประสิทธิภาพในการบำบัดของเสียประมาณ ร้อยละ 80-95 ความจุของบ่อ แปรผันตามอัตราการไหล (Flow rate) ของปริมาณน้ำเสียเข้าระบบ และค่าสมมูลประชากร
สูตร :
พื้นที่ผิวที่ใช้ = สมมูลประชากร/(ภาระผิวx6.25)
หน่วย : พื้นที่ผิวน้ำที่ใช้ (ไร่), สมมูลประชากร (กิโลกรัมบีโอดี/วัน), ภาระผิว (กิโลกรัมบีโอดี/เฮกเตอร์-วัน)
สมมูลประชากร คำนวณโดยใช้ข้อมูลปริมาณน้ำเสียสูงสุดที่รับได้ (Maximum Loading)
ภาระผิว หมายถึง ค่าปริมาณของเสียที่บ่อรองรับได้ต่อพื้นที่ผิว โดยปกติในเขตร้อน มีค่าอยู่ระหว่าง 56-202 กิโลกรัมบีโอดี/เฮกเตอร์-วัน
หมายเหตุ -ระยะเวลากักพักตามการออกแบบซึ่งคำนวณโดยใช้ปริมาณน้ำเสีย ดังนี้
พื้นที่ผิวน้ำที่ใช้ในการบำบัดที่คำนวณได้ สามารถแบ่งออกเป็นบ่อย่อยดังนี้’
(1) บ่อตกตะกอน กำหนดความลึก 2.5 เมตร ทำหน้าที่เป็นบ่อตกตะกอนขั้นที่ 2 และเป็นบ่อบำบัดน้ำเสียขั้นต้นของระบบบำบัดน้ำเสีย ใช้พื้นที่ (ผิว น้ำ) ของบ่อประมาณ 1 เฮกเตอร์ (6.25 ไร่)
ที่ปรึกษาระบบบำบัดน้ำเสีย ลักษณะองค์ประกอบ ดูเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.bcithailand.net/บำบัดน้ำเสีย/