อาหารอ่อน เป็นอาหารที่ทำจากอาหารที่เคี้ยวและกลืนง่าย ใช้สำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคี้ยว เช่น กรณีของการหัดใช้ฟันปลอม และหลังการฉายแสงรักษาบริเวณหัวและคอ และสามารถช่วยในผู้ที่ไม่มีแรงมากพอที่จะเคี้ยวอาหารปกติได้ หลายคนที่มีปัญหาในเรื่องของการรับประทานอาหาร หรือมีภาวะการกลืนลำบาก ทำให้ไม่สามารถรับประทานอาหารได้ด้วยวิธีการที่ปกติ หรือไม่สามารถรับประทานอาหารปกติได้
โดยผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารในวิธีการที่ปกติได้นั้น ควรที่จะรับประทานอาหารที่อ่อน หลีกเลี่ยงอาหารเคี้ยวยาก เช่น เนื้อแข็งๆ ผักหรือผลไม้แห้งหรือดิบ ขนมปังที่มีขอบหนา ถั่วและงา อาจะลือกรับประทานผักและผลไม้สุก เนื้อบด ชีสอ่อน หรือผลิตภัณฑ์จากนมชนิดอื่น ขนมปันชนิดนุ่ม และธัญพืช รวมไปถึงของเหลวก็เป็นอีกชนิดหนึ่งที่สามารถรับประทานได้ ถั่วบางชนิดหากปรุงให้สุกก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน รวมถึงอาหารทุกชนิดที่หั่นให้มีขนาดเล็กกว่า ¼ นิ้ว ขนมปังและธัญพืชที่ทำให้นิ่มลงด้วยของเหลวก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน โดยการรับประทานอาหารด้วยวิธีที่ผิดปกตินั้น ส่วนใหญ่มักจะเกิดในกลุ่มผู้สูงอายุ ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย โดยเฉพาะในเรื่องของสุขภาพช่องปากและฟันที่มีการเสื่อมสภาพลงไปนั่นเอง และอาจจะส่งผลให้เกิดการรับประทานอาหารที่ยากลำบากขึ้น ทำให้เกิดการเบื่ออาหาร ทำให้เกิดภาวะขาดสารอาหารได้
ดังนั้น สำหรับใครที่มีภาวะการกลืนอาหารลำบากควรที่จะเลือกรับประทานอาหารที่มีความอ่อน เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่เพียงพอ โดยส่วนใหญ่การเกิดภาวะการกลืนลำบาก อาจจะต้องมีการใช้วิธีการให้อาหารทางสายยาง แต่สำหรับใครที่ไม่ต้องใช้วิธรการดังกล่าว อาจจะใช้วิธีการแก้ไขปัญหาด้วยการรับประทานอาหารที่อ่อนลงทดแทนการรับประทานอาหารปั่นผสมได้ หรืออาหารเหลวใสได้ สำหรับวันนี้ทางเราจะมาแนะนำอาหารที่สามารถรับประทานได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาในการกลืนอาหาร เพื่อที่จะได้รับสารอาหารที่สะดวกมากยิ่งขึ้น
สำหรับอาหารที่สามารถรับประทานแทนอาหารเหลวใสได้ คือ อาหารประเภทของเหลวทุกชนิด เช่น โยเกิร์ต รวมไปถึงชีสนิ่ม เนื้อสัตว์ เช่น ไก่ ไก่งวง เนื้อวัว หรือเนื้อหมู ที่ปรุงสุก บดละเอียด ไข่ ไก่ หรือไก่งวงแล่บาง สลัดทูน่า ไข่ หรือไก่ที่ไม่ผสมผักสด เต้าหู้ เนยถั่ว ผักปรุงสุกจนนิ่ม มันฝรั่งบด ซุปใสหรือซุปข้น ที่ผสมเนื้อหรือผักหั่นละเอียด นอกจากนี้ผลไม้ก็สามารถรับประทานได้ แต่ต้องเป็นผลไม้ชนิดนิ่ม เช่น กล้วย หรือพีชสุก แยม เยลลี่ ธัญพืชที่ไม่ผสมถั่วหรือผลไม้แห้ง ควรรับประทานร่วมกับนมวัว หรือนมถั่วเหลือง ขนมปังขาว และขนมปังกรอบ ที่ผสมของเหลวจนนุ่ม ข้าวขาวหรือพาสต้า ไอศกรีม ไอศกรีมผลไม้ หรือไอศกรีมโยเกิร์ต ที่ไม่ผสมถั่ว หรือขนมรสต่าง ๆ พุดดิ้ง และคัสตาร์ด เค้ก และคุกกี้ที่ไม่มีส่วนผสมถั่ว ช็อกโกแลตชิป ลูกเกด หรือลูกอม เนย หรือเนยเทียม น้ำเกรวี่ หรือน้ำซอส อาหารเหล่านี้ที่กล่าวมา สามารถรับประทานแทนอาหารเหลวใสได้ และยังสามารถรับประทานได้อย่างสะดวก สำหรับผู้ที่มีภาวะการกลืนอาหารลำบาก
อย่างไรก็ตาม เมนูที่กล่าวมาข้างต้นนั้น ก่อนที่จะเลือกรับประทานควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวเสียก่อน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวหรือต้องการบริโภคอาหารที่จำเพาะบางอย่าง เพราะอาหารบางชนิดไม่เหมาะสมกับโรคบางโรคของผู้ป่วย เพราะถ้าหากรับประทานเข้าไป อาจจะส่งผลเสียต่อร่างกายและภาวะการเจ็บป่วยได้ อาจจะทำให้อาการป่วยแย่ลงกว่าเดิม ดังนั้น การเลือกรับประทานอาหารถือเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะนอกจากจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมแล้ว ยังต้องคำนึงในเรื่องของปริมาณของอาหารด้วยเช่นเดียวกัน และยิ่งผู้ป่วยที่ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดัน ยิ่งต้องเลือกรับประทานอาหารเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายด้วย ทั้งนี้ทางเราอยากสนับสนุนให้ทุกคนเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ทำให้ร่างกายมีสุขภาพที่แข็งแรง สมบูรณ์ ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ และสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่
อาหารสายยาง ที่สามารถรับประทานได้ สำหรับผู้ที่มีปัญหาการกลืน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/อาหารทางสายยาง/