หลายคนที่สูญเสียฟันจนถึงขั้นต้องใส่ฟันปลอม และในขณะเดียวกันก็มีปัญหาช่องปากด้วยเช่นกัน จนอาจเกิดคำถามว่าใส่ฟันปลอมจัดฟันได้ไหม ต้องดูแลช่องปากยุ่งยากกว่าฟันปกติหรือไม่
ได้ค่ะ เพียงแต่มีข้อจำกัดในเรื่องของการเลือกรูปแบบการจัดฟันให้เหมาะกับประเภทของฟันปลอม ทั้งนี้คนไข้จะต้องเข้ารับคำปรึกษาจากทันตแพทย์ก่อนเสมอนะคะ
ฟันปลอมมีกี่ชนิด อะไรบ้าง
1. ฟันปลอมชนิดถอดได้
เป็นฟันปลอมที่คนไข้สามารถถอดออกได้ด้วยตัวเอง สามารถใส่ฟันได้หลายซี่หรือใส่ได้ทั่วทั้งปาก มีฐานเป็นอะครีลิก ฟันปลอมชนิดนี้มีให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ แบบพลาสติกยืดหยุ่นและแบบโลหะ ข้อดีของฟันชนิดนี้มีราคาถูกกว่าฟันปลอมชนิดติดแน่น อีกทั้งติดตั้งง่าย ใช้เวลาทำฟันปลอมไม่นานและไม่ซับซ้อน เหมาะสำหรับคนไข้ที่สูญเสียฟันบางซี่หรือเหลือฟันเพียงไม่กี่ซี่ แถมซี่ที่เหลือก็ไม่แข็งแรงพอต่อการใช้งาน
แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ความทนทานต่อการใช้งานและประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารไม่ดีเท่าฟันปลอมชนิดติดแน่นเนื่องจากมีแรงบดเคี้ยวน้อยที่น้อยกว่า ส่วนที่เกี่ยวตะขอเสื่อมง่ายตามอายุการใช้งาน และที่สำคัญหากทำความสะอาดไม่ดี อาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา ดังนั้นไม่ควรใส่เวลานอน ทั้งนอนกลางวันและนอนกลางคืนนะคะ โดยฟันปลอมชนิดถอดได้มี 3 ชนิด ได้แก่
1.1 ฟันปลอมชนิดถอดได้แบบชั่วคราว หรือ TP (Temporary Plate)
เป็นฟันปลอมที่ทำจากพลาสติกสีชมพูคล้ายสีของเหงือก ตัวฟันทำจากอะคริลิค จึงมีสีเดียวกับฟันธรรมชาติ อายุการใช้งานของฟันปลอมแบบนี้อยู่ที่ประมาณ 3 – 6 เดือน จากนั้นคนไข้จะต้องนำมาปรับให้แน่นขึ้นหรือทำฟันปลอมชุดใหม่ สำหรับข้อดีมีมากมาย ทั้งราคาถูก แถมไม่ต้องมานั่งกรอฟันที่เหลืออยู่ อีกทั้งถอดออกมาทำความสะอาดง่ายด้วยค่ะ แต่ทั้งนี้อาจจะรู้สึกรำคาญง่ายเนื่องจากต้องถอดเข้า-ออก เพื่อทำความสะอาดบ่อย ๆ อีกทั้งตัวฟันปลอมมีขนาดใหญ่ อาจทำให้รู้สึกไม่คุ้นชินในช่วงแรก แถมยังต้องมาพบคุณหมอบ่อย ๆ เพื่อปรับฟันจนกว่าจะใช้งานได้เป็นปกติ หากดูแลรักษาไม่ดี อาจมีโอกาสฟันโยก เป็นโรคเหงือกอักเสบ หรือฟันผุได้ค่ะ
1.2 ฟันปลอมชนิดถอดได้แบบถาวร (Removable Partial Denture)
เป็นฟันปลอมแบบถอดได้เหมือนฟันปลอมชนิดถอดได้แบบชั่วคราว แต่วัสดุที่ใช้แตกต่างกัน จึงมีประสิทธิภาพและอายุการใช้งานที่นานกว่า แต่ก็มีราคาสูงกว่าด้วยเช่นกันค่ะ ในส่วนของขั้นตอนการทำฟันปลอมชนิดนี้ก็ยุ่งยากพอสมควรเลยค่ะ
1.3 ฟันปลอมถอดได้แบบทั้งปาก (Full Denture)
เป็นฟันปลอมที่ถูกออกแบบมาให้พอดีกับสันเหงือกของคุณ สามารถใส่ได้ทันทีหลังจากถอนฟันหมดปากแล้ว ในกรณีที่สันเหงือกของคุณเตี้ยจนใส่ฟันปลอมไม่พอดี คุณหมอจะแก้ไขด้วยการปักรากฟันเทียมเพื่อยึดฟันปลอมได้ ซึ่งฟันปลอมชนิดนี้จะมีค่า่ใช้จ่ายสูงกว่าฟันปลอมทั่วไปค่ะ
2. ฟันปลอมชนิดติดแน่น
เป็นฟันปลอมที่ติดแน่นอยู่ภายในปาก จึงทำความสะอาดยากกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ แต่ก็มีความแข็งแรงทนทานที่มากกว่า สามารถบดเคี้ยวได้เหมือนฟันธรรมชาติและให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจากฟันธรรมชาติเลยค่ะ จึงเหมาะสำหรับคนไข้ที่ต้องการฟันปลอมที่มีสีใกล้เคียงฟันธรรมชาติ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นใจเวลาออกไปข้างนอกได้เป็นอย่างดี ไม่ต้องมานั่งกังวลหรือรำคาญช่องปากจากความไม่คุ้นชินกับฟันปลอม
สำหรับการทำความสะอาดก็เหมือนฟันทั่วไปที่ต้องแปรงให้ถูกสุขลักษณะเป็นประจำอย่างน้อย 2 เวลา เช้าและก่อนนอน หรืออาจแปรงทุกครั้งหลังมื้ออาหาร 30 นาทีค่ะ ปัจจุบันมีฟันปลอมชนิดติดแน่นให้เลือก 2 แบบ ได้แก่ ฟันปลอมชนิดติดแน่นด้วยสะพานฟัน และฟันปลอมชนิดติดแน่นด้วยรากฟันเทียม ทั้งนี้ฟันปลอมชนิดติดแน่นก็สามารถผุได้เช่นกันหากคนไข้ดูแลรักษาช่องปากไม่ดีพอ แถมยังมีราคาแพงกว่าฟันปลอมชนิดถอดได้ จึงอาจไม่เหมาะกับผู้ที่มีงบจำกัดค่ะ
ขั้นตอนการจัดฟันสำหรับผู้ที่ใส่ฟันปลอม
เข้ารับคำปรึกษากับทันตแพทย์เพื่อเลือกวิธีการจัดฟันที่เหมาะกับช่องปากของคนไข้
ทันตแพทย์วางแผนการรักษาและแนะนำข้อปฏิบัติก่อนจัดฟันให้แก่คนไข้
ทันตแพทย์จะเอกซเรย์ช่องปากและทำพิมพ์แบบจำลองฟันเพื่อดูความผิดปกติของฟัน
ทันตแพทย์จะเคลียร์ช่องปากคนไข้ ได้แก่ ถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน เพื่อเตรียมความพร้อมและป้องกันผลแทรกซ้อนระหว่างจัดฟัน
ทันตแพทย์จะติดเครื่องมือจัดฟันตามที่วางแผนเอาไว้ หลังจากนั้นภายในช่องปากจะใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ในการปรับตัว
หลังจากนั้นทันตแพทย์จะนัดคนไข้เพื่อตรวจเช็กเครื่องมือทุกเดือน หรือ 2 เดือนครั้ง ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องมือจัดฟัน
ดูแลช่องปากอย่างไรไม่ให้มีปัญหาระหว่างจัดฟัน
แปรงฟันทุกครั้งหลังรับประทานอาหารมื้อหลักอย่างน้อย 30 นาที
ทำความสะอาดช่องปากอย่างถูกวิธี ด้วยการใช้แปรงสีฟันและไหมขัดฟันทุกครั้ง ไม่ใช้ไม้จิ้มฟันเพราะอาจทำร้ายเหงือกจนเหงือกร่นง่าย
งดรับประทานมื้อจุกจิกเพื่อป้องกันเศษอาหารติดอยู่ตามซอกฟัน
เข้าพบทันตแพทย์ตามนัดหมาย หรือหากพบปัญหาช่องปากหลังการจัดฟันก็รีบเข้าพบทันตแพทย์ทันที
หลีกเลี่ยงอาหารที่เหนียวหรือแข็ง เคี้ยวยาก เพราะอาจทำให้เครื่องมือเสียหายไวกว่าอายุการใช้งาน
ใส่ฟันปลอมจัดฟันได้ไหม ดูแลช่องปากยุ่งยากกว่าฟันปกติหรือไม่ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://www.idolsmiledental.com/