ออกแบบประตู บ้านหน้าแคบเปิดได้กว้าง
ในยุคที่บ้านหลังเล็กลงและพื้นที่ติด ๆ กันอย่างทาวน์เฮ้าส์หรือทาวน์โฮมมีมากยิ่งขึ้น ทำให้บ้านหลาย ๆ หลังมีปัญหาเรื่องประตูบ้านตามมา เพราะพื้นที่ประตูและผนังด้านข้างมีขนาดหน้ากว้างเพียง 3-5 เมตรเท่านั้น บางหลังเสารั้วติดผนังด้านข้างทั้งสองด้าน จึงไม่เหลือพื้นที่สำหรับการติดตั้งประตูรั้วแบบบานเลื่อนกว้าง ๆ ให้รถยนต์เข้าออกได้สะดวก หรือในบางกรณีที่ถนนในหมู่บ้านเป็นซอยแคบ พื้นที่ภายในบ้านจากท้ายรถไปถึงรั้วเหลือระยะห่างไม่มาก ก็ไม่สะดวกติดบานผลักเข้า-ออกอีกเช่นกัน ในขณะที่ทุกบ้านยังต้องการเปิดประตูรั้วให้กว้างแต่พื้นที่มีจำกัด ซึ่งเป็นความยากลำบากที่เจ้าของบ้านต้องเผชิญ จึงรวบรวมรูปแบบประตูที่ประหยัดพื้นที่มาให้เลือกประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับสถานการณ์ของแต่ละบ้านเพื่อให้ทุกบ้านมีทางเข้าออกที่สะดวกสบายเหมือน ๆ กันครับ
1. ประตูรั้วแบบบานเฟี้ยม
เป็นการย่อยบานประตูให้มีขนาดเล็กลงหลาย ๆ บานมาต่อเชื่อมกันด้วยบานพับหรืออุปกรณ์ฟิตติ้งที่หมุนได้ เพื่อให้ประตูสามารถพับไปพับมาเก็บเข้าด้านข้างได้ทั้ง 2 ด้านโดยไม่เปลืองพื้นที่ เหมาะสำหรับพื้นที่จำกัดที่ไม่สามารถทำรางเลื่อนออกด้านข้างในงบประมาณที่ไม่สูง ทั้งนี้อย่าลืมสำรวจระยะห่างของประตูรั้วกับท้ายรถกันด้วยนะครับว่าห่างกันประมาณเท่าไหร่ หากระยะไม่เหลือมากควรใส่บานเล็กและหันส่วนสันประตูออกด้านนอก เพื่อไม่ให้สันประตูดันไปชนท้ายรถขณะพับครับ
2. ประตูบานเลื่อนซ้อนราง
ในกรณีที่ชอบลักษณะของบานเลื่อน และยังพอมีพื้นที่ด้านข้างอยู่บ้างแต่ก็ยังปัญหาเรื่องไม่สามารถทำรางวิ่งยาวเต็มบานได้ ก็ลองเปลี่ยนมาใช้วิธีทำหลายบานวิ่งซ้อนกันคนละราง เหมือนภาพตัวอย่างที่แบ่งรางออกเป็น 2-3 รางวางซ้อนกันอยู่ ก็ช่วยแก้ปัญหาเรื่อง
3. ประตูไฟฟ้าเก็บขึ้นด้านบน
ประตูโรงรถ หรือ Sectional Garage Door ที่เราคุ้นตาในภาพยนต์ตะวันตก เป็นประตูที่ทำงานในลักษณะการเลื่อนพับขึ้นและเก็บบานประตูไว้ด้านบน ซึ่งใช้งานกันอย่างแพร่หลายในประเทศแถบยุโรป อเมริกาและอื่น ๆ นอกจากจะใช้เป็นประตูสำหรับโรงจอดรถแล้ว ยังประยุกต์ใช้กับห้องที่ต้องการเปิดโล่ง หรือประตูรั้วหน้าบ้านได้ด้วย ในประเทศไทยก็เริ่มมีความนิยมใช้งานกันบ้างแล้ว แต่ราคาของอุปกรณ์และการติดตั้งสูงพอสมควร
4. ระบบเปิด-ปิด ประตูรั้วแบบเลื่อนโค้ง
เป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมที่สร้างมาเพื่อบ้านพื้นที่น้อยได้เปิดประตูกว้างอย่างที่ใจต้องการ ด้วยระบบแบ่งประตูเป็นล็อค ๆ คล้าย ๆ บานเฟี้ยมแต่วางบานประตูบนรางที่จะค่อย ๆ เลื่อนไหลไปเก็บไว้ด้านข้างผนัง ซึ่งประตูแบบนี้มีทั้งระบบอัตโนมัติและสามารถประยุกต์ใช้เป็นรางเลื่อนธรรมดาได้ตามงบประมาณ
ลักษณะการทำงานของประตูรั้วแบบเลื่อนโค้งแบบอัตโนมัติ ซึ่งสามารถปรับเป็นแบบรางเลื่อนที่ใช้มือดึงได้
5. ประตูบานผลักเก็บชิดผนัง
ประตูชนิดนี้คล้ายกับประตูระบบรางโค้ง เพราะมีรางล้อเลื่อนประตูให้ไปติดกับผนังข้างบ้านเหมือนกัน แต่ลักษณะรางจะเป็นมุมฉาก และบานประตูจะใช้ขนาดใหญ่ได้ ไม่จำเป็นต้องแบ่งซอยประตูให้เป็นแผ่นเล็ก ๆ
แบบประตูรั้ว ที่คิดมาสำหรับบ้านหน้าแคบ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://techwealth99.com/