การเดินสายไฟภายในบ้านเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ และควรหมั่นตรวจสอบสายไฟฟ้าภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรักษาความปลอดภัยจากเหตุที่อาจคาดไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าลัดวงจร ไฟรั่ว หรือสายไฟชำรุด การเช็คสายไฟเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ และควรตรวจสอบระบบไฟฟ้าโดยช่างไฟฟ้าผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ สำหรับบทความนี้เราจะพาคุณไปหาคำตอบกันว่ามีเทคนิคเช็คสายไฟขาดอย่างไรบ้าง ไปดูกันเลย
1.ตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้าว่าหมุนอยู่ไหม
วิธีแรกที่ทำง่าย ๆ ก็คือการตรวจสอบมิเตอร์ไฟฟ้า โดยการปิดไฟทุกจุด รวมถึงถอดปลั๊กออก แล้วไปดูที่มิเตอร์ไฟของบ้านว่ายังหมุนอยู่หรือไม่ หากว่ายังหมุนอยู่ก็แสดงว่ามีกระแสไฟฟ้ารั่วภายในบ้าน ณ จุดใดจุดหนึ่ง หากเบรกเกอร์ไม่ตัดไฟอัตโนมัติ ควรเรียกช่างไฟฟ้ามาเช็คสายไฟและหาจุดที่ไฟรั่วทุกจุด เพื่อเปลี่ยนสายไฟใหม่
2.ตรวจสอบบริเวณที่มีสายไฟเยอะ ๆ
โดยปกติแล้วสายไฟทั่วไปจะมีอายุการใช้งานอยู่ที่ 15 – 20 ปี หากติดตั้งสายไฟเยอะเกินไปก็ยิ่งต้องหมั่นตรวจเช็คสายไฟทุกเส้นอย่างละเอียด และควรตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเรียกช่างไฟฟ้ามาตรวจสอบอย่างละเอียด โดยช่างจะใช้เครื่องตรวจสอบสายไฟขาดและใช้ไขควงเช็กจุดที่มีรอยไหม้ สายไฟเปื่อย หรือจุดที่ขาดชำรุดจากแมลงและหนู รวมถึงตรวจสอบสายไฟตามผนังและเพดานบริเวณโดยรอบ ว่ามีรอยน้ำใกล้ ๆ สายไฟหรือไม่ เพราะอาจสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่วได้
3.ตรวจสอบสอบปลั๊กไฟว่ามีไฟแลบไหม
นอกจากจะตรวจเช็คสายไฟแล้ว ก็ต้องทำการตรวจสอบปลั๊กไฟด้วยว่ามีไฟแลบไหม มีจุดที่ชำรุด หรือมีประกายไฟขึ้นมาหรือเปล่า รวมถึงมีปลั๊กหลวมเสียบแล้วไม่แน่นบ้างไหม หากปลั๊กไฟไม่สามารถใช้งานได้ หรือมีการใช้งานมากเกินไป จนปลั๊กเกิดความร้อนจัด ก็ถือว่าอาการเหล่านี้ล้วนผิดปกติ ไม่ควรปล่อยไว้ ต้องรีบแก้ไขปัญหาโดยด่วน มิเช่นนั้นอาจทำให้เกิดไฟรั่วหรือไฟช็อตได้
4.ตรวจสอบความชำรุดของเต้ารับ
อีกจุดที่จะต้องตรวจเช็คระบบไฟฟ้าบ้านให้ดีก็คือ บริเวณเต้ารับ ที่ต้องดูว่าเต้ารับมีรอยแตก รอยร้าว หรือหลุดออกมาจากผนังหรือไม่ ถ้ามีก็ควรเรียกช่างไฟฟ้ามาเปลี่ยนเต้ารับใหม่ ซึ่งช่างจะมีวิธีตรวจเช็คสายไฟและระบบไฟด้วยไขควงว่ารูเสียบปลั๊กยังมีกระแสไฟไหลผ่าน หรือว่ามีการใช้งานผิดปกติหรือไม่ และไม่ลืมที่จะตรวจสอบว่าเต้ารับว่าหลวมหรือมีการเปลี่ยนสีไปหรือเปล่า หากพบปัญหาให้รีบเปลี่ยนเต้ารับอันใหม่ทันที
5.ตรวจสอบการทำงานของตู้ควบคุมไฟฟ้า
แน่นอนว่าทุกบ้านจะต้องมีตู้ควบคุมไฟฟ้าเป็นของตนเอง และจุดเช็คสายไฟภายในบ้านก็มักเริ่มต้นจากจุดนี้ เพราะตู้ควบคุมไฟฟ้าเป็นศูนย์กลางในการควบคุมกระแสไฟทั้งบ้าน หากมีสิ่งสกปรก หรือมีสัตว์เข้าไปทำรังอยู่ด้านใน ความเสียหายย่อมเกิดขึ้นแน่ คุณจึงควรหมั่นตรวจสอบตู้ควบคุมไฟฟ้าให้มีความสะอาดอยู่เสมอ และสังเกตสีของสายไฟว่ามีความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และตรวจสอบคัตเอาต์ หรือเบรกเกอร์ว่ายังสามารถทำงานได้ดีอยู่หรือเปล่า เมื่อเกิดเหตุไฟรั่วจะต้องทำงานได้ทันที หากมีจุดไหนที่เสื่อมสภาพต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
6.ตรวจสอบไฟรั่วของเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน
เป็นวิธีเช็คสายไฟอย่างง่ายที่ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่วหรือไฟช็อตได้เป็นอย่างดี เพียงคุณตรวจสอบเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอย่างสม่ำเสมอว่ามีสายไฟชำรุดหรือเปล่า มีรอยไหม้ตรงไหน หรือสีของเปลือกสายไฟเกิดความเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และหากพบว่ามีสายไฟแตกกรอบ ชำรุด หรือมีอุณหภูมิขึ้นสูงกว่าปกติ ก็ต้องรีบเปลี่ยนทันที ทางที่ดีจึงควรใช้ไฟฟ้าให้เหมาะสม ไม่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้ามากจนเกินไป
วิธีที่ช่างซ่อมไฟฟ้าตามบ้านใช้ในการเช็คไฟรั่ว ก็คือการเช็คสายไฟด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องตรวจสอบสายไฟขาด เครื่องวัดไฟ ไขควง หากพบว่ายังมีกระแสไฟไหลผ่าน หรือมีไฟรั่วช่างจะทำการเปลี่ยนสายไฟ ปลั๊กไฟ หรือจุดที่มีปัญหา รวมถึงติดตั้งสายดิน หรือติดตั้งตัวนำไฟฟ้าให้ไหลลงดิน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตราย
7.หากพบว่าไฟรั่ว ควรเรียกช่างไฟฟ้า
การตรวจเช็คระบบไฟฟ้าจะต้องสังเกตสภาพโดยรอบทั้งหมดด้วย ไม่ว่าจะเป็นแผงไฟ ปลั๊กไฟ เต้าเสียบ สายไฟทั้งหมด หากพบความน่าสงสัย มีสภาพผิดปกติสุ่มเสี่ยงต่อการเกิดไฟรั่วควรเรียกช่างไฟฟ้ามาตรวจสอบโดยทันที ซึ่งช่างจะมีวิธีเช็คสายไฟอย่างรอบด้าน มีอุปกรณ์ที่สามารถหาเบาะแสของการเกิดไฟรั่วได้อย่างตรงจุด ปลอดภัยจากอันตราย ซึ่งควรหมั่นตรวจสอบไฟฟ้าอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี
ปัญหาไฟฟ้าในบ้าน ไม่ควรซ่อมด้วยตัวเอง
หากคุณสงสัยว่าเกิดไฟรั่วภายในบ้าน หรือไฟบ้านดับหลังเดียว อย่าเพิ่งเช็คสายไฟด้วยตนเอง เพราะหากคุณยังไม่รู้ต้นสายปลายเหตุของการเกิดไฟรั่วแล้วไปสัมผัสกับสายไฟเข้า ก็อาจทำให้ถูกไฟช็อตได้ เพื่อความปลอดภัยจึงควรเรียกตามช่างไฟฟ้ามืออาชีพมาตรวจสอบดีกว่า
8.ติดตั้งสายดิน
ระบบติดตั้งสายดินจะช่วยป้องกันการเกิดไฟรั่วภายในบ้านได้เป็นอย่างดี หากตรวจเช็คสายไฟแล้วพบว่ามีการชำรุด เสียหาย หรือสายไฟเก่าเกินกว่าที่จะใช้งานต่อ ควรให้ช่างไฟมาตรวจสอบ และนำสายไฟจากเครื่องใช้ไฟฟ้าทั้งหลายลงดิน เพื่อป้องกันไฟรั่ว หรือไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งควรหมั่นตรวจสอบการทำงานของสายดินอย่างสม่ำเสมอ
บริหารจัดการอาคาร: วิธีเช็คสายไฟ เทคนิคขั้นเทพที่ทุกบ้านควรรู้ อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://snss.co.th/dt_post/technical-services/