ทราบหรือไม่ว่า การแก้ปัญหาเสียงดัง ที่เกิดขึ้นในโรงงานนั้น มีวิธีการอยู่ 3 แนวทาง ประกอบด้วย
1) sources treatment หรือการแก้ปัญหาที่แหล่งกำเนิดเสียงโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นการปรับปรุงเครื่องจักรหรือการดัดแปลงอุปกรณ์ก็ตาม
2) paths treatment หรือการแก้ปัญหาที่ทางผ่านของเสียง เช่น การทำกำแพงกันเสียง การกรุฉนวนซับเสียงที่ผนังห้อง
3) receivers treatment หรือการใช้อุปกรณ์ป้องกันเสียงส่วนบุคคล เช่น ให้ผู้สัมผัสเสียงสวมใส่ earplugs หรือ earmuffs
จะทราบได้อย่างไรว่าเสียงดังเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด (ฉนวนกันเสียง ช่วยลดเสียงดัง)
ฉนวนกันเสียง ช่วยแก้ปัญหาเสียงดังรบกวน ปัญหาเสียงดังรบกวนหรือระดับเสียงดังกว่าที่กฎหมายกำหนด
ปัญหาเสียงดังรบกวนหรือมลพิษทางเสียง สร้างปัญหาและความหนักใจให้กับหลายๆคน โดยที่ผู้ได้รับผลกระทบเรื่องเสียงเหล่านั้น อาจจะไม่เคยทราบว่ากฎหมายในเมืองไทยให้ความคุ้มครองแก่ผู้ที่ได้รับเสียงอยู่ 4 ประเภทด้วยกัน กล่าวคือ
1. ว่าด้วยเรื่องของระดับเสียงเฉลี่ย 24 ชั่วโมงริมรั้วโรงงาน ต้องไม่เกิน 70 dBA
2. ว่าด้วยเรื่องระดับเสียงที่ได้รับเฉลี่ย 8 ชั่วโมงในพื้นที่ทำงาน ต้องไม่เกิน 85 dBA
3. ว่าด้วยเรื่องระดับเสียงรบกวน ต้องต่างจากระดับเสียงพื้นฐานไม่เกิน 10 dBA
4. ว่าด้วยเรื่องเสียงที่ออกจากแหล่งกำเนิดเสียงหรือกิจกรรมต่างๆ ต้องไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ
ยกตัวอย่างรายละเอียดของความดังเสียงแต่ละประเภท ที่กฎหมายควบคุม
1. ตั้งเครื่องวัดเสียงตามระเบียบวิธีการวัดเสียงเฉลี่ยของกรมควบคุมมลพิษ บันทึกค่าเสียงทิ้งไว้ให้ครบ 24 ชั่วโมง หากระดับเสียงเฉลี่ยที่บันทึกได้เกินกว่า 70 dBA ทางโรงงานหรือแหล่งกำเนิดเสียงต้องทำการปรับปรุงหรือลดเสียงลง ให้มีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงต่ำกว่า 70 dBA
2. เมื่อทำการติดตั้งเครื่องวัดการสัมผัสเสียง (noise dosimeter) ที่พนักงาน แล้วพบว่ามีค่า TWA (Time Weight Average) ที่ 8 ชั่วโมง หรือค่าเฉลี่ยการสัมผัสเสียง 8 ชั่วโมงเกินกว่า 85 dBA ทางโรงงานหรือผู้รับผิดชอบพื้นที่ จะต้องทำการปรับปรุงหรือจัดทำโครงการอนุรักษ์การได้ยิน ตามรายละเอียดที่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานกำหนด
ฉนวนกันเสียง: แนวทางในการ แก้ปัญหาเสียงดัง อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/