ผู้เขียน หัวข้อ: รับออกแบบบ้าน: หลักการออกแบบแปลนห้อง ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน  (อ่าน 88 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออนไลน์ siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,395
  • พอยท์: 100
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
การออกแบบภายในที่อยู่อาศัยนั้นส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยเป็นอย่างมาก เพราะมนุษย์รับรู้ความรู้สึกผ่านประสาทสัมผัสต่างๆ การนำองค์ประกอบ เช่น เส้น แสง สี สไตล์ มาใช้ในการตกแต่ง ล้วนแล้วแต่ส่งผลต่อผู้อยู่อาศัยทั้งสิ้น ดังนั้น การออกแบบแปลนห้องที่ดีและเหมาะกับผู้อยู่อาศัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้จึงได้ทำการรวบรวมไอเดียการออกแบบแปลนห้อง ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน


การวางแปลนห้องนั่งเล่น

ห้องนั่งเล่น จัดเป็นห้องที่อยู่ในหมวดหมู่โซนสาธารณะ โดยส่วนมากบ้านที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก-กลาง มักจะทำห้องนั่งเล่นติดกับประตูเข้าออก ซึ่งเมื่อมีการเปิดประตูเข้าออกก็จะต้องเดินผ่านห้องนั่งเล่น ดังนั้น จึงมีโอกาสที่ผู้ใช้งานมักจะเดินผ่านทางนี้บ่อยๆ การจัดวางเฟอร์นิเจอร์ จึงควรหลีกเลี่ยงบริเวณที่เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างประตูเข้าออก เพื่อให้บริเวณทางเดินมีพื้นที่ในการเดินเข้าออกที่สะดวกและไม่รบกวนผู้อยู่อาศัยที่กำลังใช้งานในโซนนั่งดูโทรทัศน์

การจัดวางเฟอร์นิเจอร์

    ควรหลีกเลี่ยงโซนทางเดิน จัดวางเฟอร์นิเจอร์ในรูปแบบตัว L หรือ U เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานโซนนี้ได้อย่างสะดวก และเพิ่มการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
    วางโต๊ะกลางห่างจากโซฟาอย่างน้อย 40 เซนติเมตร ให้เดินผ่านได้สะดวก
    ผนังด้านที่วางทีวีและผนังฝั่งตรงข้ามควรเป็นผนังทึบเพื่อไม่ให้มีแสงแยงตาและแสงสะท้อน
    สำหรับผู้อยู่อาศัยจำนวน 2- 4 คน ควรมีพื้นที่ห้องนั่งเล่นอย่างน้อย 9-16 ตรม. จะสามารถใช้งานพื้นที่ได้สะดวกสบาย


ขนาดความห่างของการจัดวางโทรทัศน์ให้พอดีกับสรีระ

    ขนาดหน้าจอ 26 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1 เมตร
    ขนาดหน้าจอ 32 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.25 เมตร
    ขนาดหน้าจอ 42 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.60 เมตร
    ขนาดหน้าจอ 50 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 1.90 เมตร
    ขนาดหน้าจอ 52 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2 เมตร
    ขนาดหน้าจอ 60 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2.20 เมตร
    ขนาดหน้าจอ 70 นิ้ว ระยะห่างทีวี ที่เหมาะสมคือ 2.63 เมตร


การวางแปลนห้องนอน

"ผังห้องแบบหน้ากว้าง" เป็นตัวเลือกที่ดีกว่า "ผังห้องแบบหน้าแคบ"

การเลือกผังห้องก็เป็นส่วนสำคัญที่ส่งผลต่อความอึดอัดของผู้อยู่อาศัย ถึงแม้ในกรณีที่ห้องจะมีขนาดพื้นที่เท่ากัน เช่น ขนาดพื้นที่ 21 ตรม. กลับพบว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้ากว้าง ส่งผลให้ผู้ที่อยู่อาศัยอึดอัดน้อยกว่าผังห้องที่มีรูปแบบหน้าแคบ การจัดห้องของผังห้องรูปแบบนี้สามารถทำได้หลากหลาย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดที่ควรเลือกเฟอร์นิเจอร์ที่มีขนาดเล็กใหญ่คละกัน เพื่อลดทอนความเป็นกล่องของผังห้องแบบหน้ากว้างหรือสีเหลี่ยม และไม่ควรกั้นห้องแบบก่อกำแพงปิดกั้น เพราะจะทำพื้นที่ซึ่งน้อยอยู่แล้วยิ่งคับแคบมากกว่าเดิม

1.ห้องนอนทั่วไปที่อยู่สบายควรใช้พื้นที่ประมาณ 18-24 ตารางเมตร ขึ้นอยู่ขนาดของเฟอร์นิเจอร์ภายในห้อง

2. ควรเว้นทางเดินข้างเตียงควรกว้างอย่างน้อย 60 เซนติเมตร เพื่อสะดวกต่อผู้ใช้งานหากต้องการลุกไปเข้าห้องน้ำในเวลากลางคืน

3.หัวเตียงควรเป็นผนังทึบเพื่อความรู้สึกปลอดภัยในการพักผ่อน



การวางแปลนห้องครัว

การออกแบบแปลนห้องครัวให้สะดวกต่อผู้ใช้งาน อย่างแรกคือการเลือกรูปแบบเคาน์เตอร์ครัวให้เหมาะกับพื้นที่ เช่น

การจัดวางผังครัวแบบ I หรือ I-Shaped Kitchen

เหมาะกับพื้นที่ขนาดเล็ก  3-5 ตร.ม. ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นห้องในอาคารชุด เช่น อพาร์เม้นท์ คอนโดมิเนียม หรือ ทาวน์เฮ้าส์

การจัดวางผังครัวแบบ L หรือ L-Shaped Kitchen

เหมาะกับพื้นที่ตั้งแต่  6 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นห้องชุดคอนโดมิเนียมที่มีขนาดใหญ่ หรือ บ้านพักอาศัยทั่วไป แต่การจัดผังครัวในลักษณะนี้มักไม่มีรูปแบบการวางฟังก์ชั่นที่ตายตัว 100% ดังนั้นการจะจัดวางตำแหน่งฟังก์ชั่นใดๆ จะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากตำแหน่งพื้นที่ตั้ง จำนวนช่องเปิด และบริบทสภาพแวดล้อมเป็นหลัก

การจัดวางผังครัวแบบ U หรือ U-Shaped Kitchen

เป็นการจัดวางผังครัวที่เหมาะกับพื้นที่ขนาด  9 ตร.ม. ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นบ้านพักอาศัย หรือ อาคารสาธารณะ เช่น ครัวโรงแรม หรือ ครัวในร้านอาหาร

 

ทริคการออกแบบเคาน์เตอร์ครัวให้พอดีกับสัดส่วนของสรีระ

ใช้วิธีการคำนวนโดยนำส่วนสูงของผู้ใช้งานมาเป็นหลักในการหาขนาดความสูงของเคาน์เตอร์ครัวที่พอดีกับสรีระ โดยสูตรการคำนวนคือ ส่วนสูงหาญด้วย 2 และบวก 5 เซนติเมตร เช่น 160÷2+5 = 85 ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนสูง 160 เซนติเมตร เหมาะกับการเลือกใช้เคาน์เตอร์ที่มีความสูงประมาณ 85 เซนติเมตร จะเป็นความสูงที่พอดีในการใช้งาน ทำให้ไม่ต้องโค้งตัวจนเกินไป หรือสูงจนทำครัวไม่ถนัด

ลักษณะพื้นที่ใช้สอยแบบต่างๆ ของห้องครัว (Function Zoning)

สามารถแบ่งออกได้ ดังนี้

Zone 1 : พื้นที่จัดเตรียมวัตถุดิบ

Zone 2 : พื้นที่ประกอบอาหาร

Zone 3 : พื้นที่เก็บของหรือเก็บล้าง

Zone 4 : โซนโต๊ะรับประทานอาหาร

 
การวางแปลนห้องน้ำ

    ควรมีแสงสว่างอย่างเพียงพอ เพื่อบรรยากาศที่สว่างปลอดโปร่ง ไม่อึดอัด
    ควรออกแบบช่องระบายอากาศให้สามารถถ่ายเทอากาศได้อย่างเหมาะสม อย่างน้อย 1 จุด เพื่อเพิ่มอากาศดีไล่อากาศเสีย ซึ่งจะช่วยลดความอับชื้น และการสะสมของเชื้อโรคภายในห้องน้ำได้
    ฟังก์ชันทั่วไปของห้องน้ำจะเหมือนกันทุกบ้าน จะแตกต่างกันเมื่อมีการเพิ่มฟังก์ชันพิเศษ เช่น อ่างอาบน้ำ อ่างน้ำวน หรือเป็นห้องน้ำผู้สูงอายุ
    ประตูห้องน้ำทั่วไปควรเปิดเข้า เพื่อไม่ให้น้ำหยดออกมานอกห้อง แต่ถ้าเป็นห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ ควรใช้ประตูแบบเปิดออกหรือบานเลื่อน
    ควรแยกพื้นที่ส่วนแห้ง คือ อ่างล้างหน้าและโถสุขภัณฑ์ เพื่อให้ทำความสะอาดง่าย และลดอันตรายจากพื้นที่เปียกน้ำ
    พื้นที่ส่วนเปียกสำหรับยืนอาบน้ำควรกว้างอย่างน้อย 80 เซนติเมตร และลดระดับพื้นลง 10 เซนติเมตร อาจแบ่งสัดส่วนด้วยผนังกระจก ม่าน หรือตู้อาบน้ำ
    บริเวณผนังด้านที่ติดตั้งสุขภัณฑ์ ควรให้ทำเป็นผนัง 2 ชั้น เพื่อฝังท่อน้ำ และลดเสียงรบกวนไปยังห้องข้างเคียง



รับออกแบบบ้าน: หลักการออกแบบแปลนห้อง ให้เหมาะสมกับพฤติกรรมผู้ใช้งาน อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://luxuryhomesdesigns.com/