“เสียวฟันมาก โดยเฉพาะตอนเคี้ยวอาหาร เคี้ยวไม่ค่อยได้ กัดแล้วเสียว มีอาการปวดๆ ตึงๆ เป็นอยู่ซี่เดียวในปาก แต่เวลาไม่โดน ฟันซี่นี้ไม่มีอาการ”
อาการเหล่านี้มักจะมากับคนไข้เวลามาหาหมอเพราะ “ฟันร้าว” อาจจะให้ข้อมูลเพิ่มอีกนิดคือ อาการเกิดขึ้นหลังจากเคี้ยวอาหารแข็งๆ ถ้าใครกำลังมีอาการดังกล่าวแบบนี้ หรืออยากทราบข้อปฏิบัติถ้าเกิดขึ้นกับเรา ตามมาอ่านกันต่อเลยค่ะ
ฟันร้าวคืออะไร
โรคฟันร้าว มักเกิดกับฟันซี่ใดซี่หนึ่ง ส่วนใหญ่เป็นที่ฟันกรามใหญ่ รองลงมาคือฟันกรามน้อย โดยมีรอยร้าวเกิดขึ้นกับฟัน รอยร้าวนั้นอาจมีความลึกมากหรือน้อย ขึ้นกับความรุนแรง และเมื่อมีความรุนแรงมาก อาการของโรคก็จะเกิดรุนแรงจนก่อให้เกิดความเจ็บปวดอย่างมากต่อผู้ป่วย
อาการฟันร้าว
- ผู้ป่วยบางรายอาจไม่พบสัญญาณบ่งชี้ว่ามีฟันร้าว แต่เมื่อมีอาการเกิดขึ้น อาจรู้สึกปวดฟันแบบเป็น ๆ หาย ๆ เมื่อเคี้ยวหรือกัดอาหาร รู้สึกเสียวฟันเมื่อดื่มน้ำเย็นหรือร้อน หรือทานของหวานต่างๆ ปวดฟันเป็นพัก ๆ แต่ปวดอย่างต่อเนื่อง และอาจเหงือกบวมในบริเวณรอบ ๆ ฟันซี่ที่มีรอยร้าว อาการปวดจะรุนแรงมากขึ้นหากมีการเคี้ยวอาหารหรือใช้งานต่อเนื่อง จนถึงขั้นปวดจนนอนไม่หลับ ปวดตลอดทั้งคืน
- เมื่อมีอาการปวดฟันลักษณะดังระบุข้างต้น ควรรีบปรึกษาทันตแพทย์ เพราะหากรอยร้าวที่เกิด ไม่ลึกมาก ทันตแพทย์สามารถบูรณะฟัน ยับยั้งการเกิดรอยร้าวระดับลึก แต่หากปล่อยปละเลยจะเพิ่มโอกาสการสูญเสียฟันมากขึ้น เนื่องจากรอยร้าวลึกขึ้น จนถึงขั้นต้องถอนฟันได้
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดฟันร้าว ได้แก่
• การใช้ฟันกัดเคี้ยวอาหารที่แข็ง เช่น น้ำแข็ง ถั่ว ลูกอม ก้อนกรวดหรือหินในอาหาร เป็นต้น
• การนอนกัดฟัน ทำให้ฟันกระทบกันบ่อยๆ
• มีรอยอุดฟันขนาดใหญ่ ทำให้เนื้อฟันเหลือน้อย ความเเข็งแรงของฟันจึงลดลง
• อุบัติเหตุต่าง ๆ เช่น อุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการเล่นกีฬา การหกล้ม การชกต่อย เป็นต้น
ฟันหน้าร้าวเป็นเส้น ฟันร้าว ต้องทำอย่างไร อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://bit.ly/43cwHxV