ผู้เขียน หัวข้อ: ฉนวนกันเสียง ใยแก้ว อีกหนึ่งสินค้าที่ช่วยลดเสียงดัง  (อ่าน 64 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,395
  • พอยท์: 100
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
วันนี้มาทำความรู้จักกับ ฉนวนกันเสียงใยแก้ว หนึ่งในสินค้าฉนวนกันเสียง

 
1.   ฉนวนกันเสียงใยแก้วมีกี่แบบ

ถ้าแบ่งตามความหนาแน่น (density) จะมี 2 แบบคือ แบบความหนาแน่นต่ำ (low density) และ แบบความหนาแน่นสูง (high density) ซึ่งฉนวนกันเสียงใยแก้วความหนาแน่นสูงก็จะมีราคาที่สูงกว่าและน้ำหนักต่อหน่วยมากกว่าแบบความหนาแน่นต่ำ แต่มีข้อดีคือสามารถทนต่อพลังงานเสียงที่มีความเข้มข้นสูงได้ และอายุการใช้งานที่นานกว่า



2.    ราคาของฉนวนกันเสียงใยแก้ว

สำหรับตลาดในเมืองไทยจะนิยมขายกันเป็นแผ่น ซึ่งจะมีขนาดมาตรฐานของแต่ละยี่ห้อไม่เหมือนกัน เช่นขนาด 0.60×1.20 เมตร ขนาด 1.20×2.40 เมตร ขนาด 0.50×1.00 เมตร เป็นต้น แต่เมื่อคิดเป็นราคาต่อตารางเมตรแล้ว เฉลี่ยจะอยู่ที่หลักร้อยถึงพันบาทต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับความหนาแน่น (density) ความหนา (thickness) ค่าการลดเสียง (NRC) ค่าการซับเสียง (SAC) ค่าการต้านทานเสียง (TL) ลวดลายหรือวัสดุที่มาหุ้มห่อฉนวนกันเสียงใยแก้ว และคุณสมบัติอื่นๆ เช่น การกันน้ำหรือมีควันพิษน้อยเมื่อโดนไฟไหม้


3.    ฉนวนกันเสียงใยแก้วลดเสียงได้เท่าไร

ประสิทธิภาพในการลดเสียงของฉนวนใยแก้วขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ระดับความดังเสียง (SPL) ระดับพลังงานเสียง (SWL) ความถี่เสียงรบกวน (frequencies) ความพรุนของวัสดุหุ้มฉนวนกันเสียงใยแก้ว (porosity) วิธีการติดตั้ง (installation) ความหนาของฉนวน (thickness) และอื่นๆ แต่โดยภาพรวมแล้ว ฉนวนกันเสียงใยแก้วเพียงอย่างเดียวจะลดเสียงลงได้ประมาณ 3-6 dBA


4.    อายุการใช้งานของฉนวนกันเสียงใยแก้ว

ส่วนใหญ่ฉนวนกันเสียงใยแก้วจะถูกติดตั้งภายในอาคาร บริเวณที่มีหลังคาปกคลุมโดยไม่ได้โดนแสงแดดและฝนตรงๆ หรือบางกรณีได้ถูกนำไปติดตั้งในห้องปรับอากาศด้วย ทำให้อายุการใช้งานของฉนวนใยแก้วมีความยาวนานเกินกว่า 10 ปี ยกเว้นฉนวนกันเสียงใยแก้วที่มีความหนาแน่นต่ำแต่ถูกนำไปใช้ในที่มีพลังงานเสียงสูง จะทำให้ฉนวนมีการยุบตัวเร็วขึ้น


5.    ฉนวนกันเสียงใยแก้วมีฝุ่นคันหรือไม่

ฉนวนกันเสียงใยแก้วไม่ว่าจะเป็นแบบความหนาแน่นสูงหรือต่ำ หากเป็นตัวฉนวนเปลือยไม่ได้มีวัสดุอย่างอื่นห่อหุ้ม จะมีเส้นใยเล็กๆที่เรียกว่า กล๊าสไฟเบอร์ (glass fiber) ซึ่งเส้นใยนี้เมื่อสัมผัสกับผิวหนังจะทำให้ระคายเคือง มีอาการคันหรือผื่นตามมา ดังนั้นผู้ผลิตจึงต้องมีการห่อหุ้มหรือสเปรย์กาวแผ่นใยแก้ว ที่จะนำมาใช้เป็นแผ่นซับเสียงหรือฉนวนกันเสียง เพื่อป้องกันฝุ่นและอาการคันที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งาน


6.    งานประเภทใดบ้างที่เหมาะกับฉนวนกันเสียงใยแก้ว

งานกันเสียงห้องเครื่องปั่นไฟ (generator room)

งานกันเสียงเครื่องเติมอากาศ (rotary air blowers)

งานกันเสียงพัดลมอุตสาหกรรม (industrial air blowers)

งานกันเสียงห้องเครื่องอัดอากาศ (air compressor room)

งานกันเสียงจากท่อลำเลียงวัตถุดิบ (conveyor line) เป็นต้น


ฉนวนกันเสียง ใยแก้ว อีกหนึ่งสินค้าที่ช่วยลดเสียงดัง  อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://noisecontrol365.com/