โรคกระเพาะอาหารเป็นโรคสำคัญ และพบได้บ่อยโดยเฉพาะกลุ่มวัยทำงานซึ่งต้องเร่งรีบกับเวลา ทำให้รับประทานอาหารไม่ตรงต่อเวลาส่งผลให้สุขภาพแย่ลงและปัญหาทางสุขภาพที่พบได้บ่อยคือการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะถ้าได้รับการรักษาและดูแลตนเองให้ถูกต้องส่วนใหญ่เป็นแล้วก็จะหาย ดังนั้นผู้ป่วยควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานด้วยวิธีดังต่อไปนี้
1. ถั่วลิสง วิตามินอีในถั่วลิสงช่วยลดการหลั่งน้ำย่อยของกระเพาะอาหาร เป็นการลดภาระของกระเพาะ
ถั่วลิสงมีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียมแคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก สังกะสี
ถั่วลิสง มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บรรเทาอาการท้องเสีย
2. กะหล่ำปลี กะหล่ำปลีมีวิตามินยูและวิตามินเค ช่วยบำรุงและซ่อมแซมเยื่อบุของกระเพาะอาหารช่วยป้องกันและบรรเทาอาการของโรคกระเพาะทุกประเภท
กะหล่ำปลีมีสารอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินซี วิตามินเค วิตามินยู โพแทสเซียม แคลเซียม
กะหล่ำปลี มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ป้องกันมะเร็งลำไส้
3. กวางตุ้งฮ่องเต้ แคลเซียมในกวางตุ้งฮ่องเต้ช่วยสร้างอุจจาระ ช่วยชดเชยแคลเซียมที่สูญเสียไปขณะท้องเสีย ช่วยบรรเทาอาการท้องเสียเรื้อรัง
กวางตุ้งฮ่องเต้ มีสารอาหารได้แก่ เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม ธาตุเหล็ก
กวางตุ้งฮ่องเต้ มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ช่วยให้แผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น
4. หัวไช้เท้า หัวไช้เท้าอุดมไปด้วยเอนไซม์ย่อยอาหาร ช่วยย่อยอาหารช่วยบรรเทาอาการปั่นป่วนของกระเพาะและลำไส้ที่เกิดจากกินมากเกินไป
หัวไช้เท้า มีสารอาหารดังต่อไปนี้ เส้นใยอาหาร วิตามินซี โพแทสเซียม แคลเซียม
หัวไชเท้า มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชยโพแทสเซียมที่สูญเสียไป ขณะท้องเสีย ลดแก๊สในกระเพาะอาหาร
5. ฮ่วยซัว มิวโคโปรตีนในฮ่วยซัวช่วยปกป้องเยื่อเมือกและ ผนังกระเพาะอาหาร
ฮ่วยซัวมีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี วิตามินเค โพแทสเซียม
ฮ่วยซัว มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ บำรุงกระเพาะอาหารและลำไส้ทำให้มีเรี่ยวแรงจากอาการท้องเสีย
6. หอมหัวใหญ่ สาเมอร์แคปแทน(mercaptan) ที่อยู่ในหอมหัวใหญ่จะช่วยบำรุงรักษา เยื่อบุกระเพาะอาหาร ปรับสภาพของกระเพาะอาหารมีประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคกระเพาะ
หอมหัวใหญ่มีสารอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี โพแทสเซียม แคลเซียม ซีลีเนียม การประกอบซัลเฟอร์ สารฟลาโวนอยด์
หอมหัวใหญ่ มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชยแคลเซียมที่สูญเสียไปในขณะท้องเสีย
7. ว่านหางจระเข้ ของเหลวในว่านหางจระเข้จะห่อหุ้มเยื่อบุกระเพาะอาหารที่เป็นแผลเอาไว้ บรรเทาอาการของโรคกระเพาะอาหาร
ว่านหางจระเข้มีสารอาหารดังต่อไปนี้ เส้นใยอาหาร วิตามินเอ กรดนิโคทินิก (วิตามินบี3) โพแทสเซียมแคลเซียม ธาตุเหล็ก
ว่านหางจระเข้ มีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ว่านหางจระเข้ในวุ้นใส ออกฤทธิ์ช่วยลดอาการอักเสบช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหาร และมีสารกลุ่มแอนทราควิโนนออกฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้ลดอาการท้องผูกได้มีฤทธิ์ในการสมานแผลรักษาอาการผิวหนังอักเสบที่เกิดจากการฉายรังสี
8. มะม่วงวิตามินเอในมะม่วงช่วยรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
มะม่วงมีสารอาหารดังต่อไปนี้ คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินเอ วิตามินบี6 วิตามินซี โฟเลต กรดนิโคทินิก (วิตามินบี 3) โพแทสเซียม
มะม่วงมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร
9. ถั่วลิสง อาการท้องเสียมักทำให้ปริมาณโพแทสเซียมในร่างกายไม่เพียงพอ แก้ได้โดยการกินถั่วลิสงที่อุดมไปด้วยโพแทสเซียม เพื่อรักษาสมดุลของอิเล็กโทรไลต์ในร่างกาย
ถั่วลิสงมีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใยอาหาร วิตามินกลุ่มบี โพแทสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส ธาตุเหล็ก
ถั่วลิสงมีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชยแคลเซียมที่สูญไปขณะท้องเสีย
10. ปลาทูน่า ปลาทูน่าอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวช่วยบำรุงกระเพาะอาหาร มีประโยชน์ต่อผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร
ปลาทูน่ามีสารอาหารดังต่อไปนี้ โปรตีน กรดไขมันโอเมกา3 วิตามินกลุ่มบี วิตามินอี โพแทสเซียม ธาตุเหล็ก ซีลีเนียม
ปลาทูน่ามีประโยชน์ต่อร่างกายคือ ชดเชย โพแทสเซียมที่สูญเสียไปขณะท้องเสีย
อาหาร คือสิ่งสำคัญควรเอาใจใส่ในเรื่องการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยเฉพาะอาหาร 10 ชนิดที่กล่าวข้างต้น และรับประทานอาหารให้ตรงต่อเวลา หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของมันของทอด หลีกเลี่ยงการเข้านอนหลังรับประทานอาหารเสร็จใหม่ๆ การงดดื่มแอลกอฮอล์ การงดสูบบุหรี่ และหมั่นการออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมน้ำหนักทั้งหมดนี้คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อเป็นการรักษาสำคัญที่ทำให้โอกาสหายขาดจากโรคกระเพาะอาหารได้ ด้วยความปรารถนาดี
อาหารเพื่อสุขภาพ ที่เหมาะสำหรับคนเป็นโรคกระเพาะ อ่านบทความเพิมเติมคลิ๊กที่นี่ https://thetastefood.com/