โรคข้อเข่าเสื่อมโรคข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ พบมากในวัยกลางคน และผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมาก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือปฏิบัติตัวอย่างเหมาะสม โรคจะดำเนินไปเรื่อยๆ อาจท้าให้มีความเจ็บปวด ข้อเข่าผิดรูป เดินได้ไม่ปกติ การปฏิบัติกิจวัตรประจ้าวันต่างๆ ก็ทำได้ไม่สะดวก จะมีความทุกข์ทรมานทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ
โรคข้อเข่าเสื่อม หมายถึง โรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ ทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง การทำงานของกระดูกข้อต่อและกระดูกบริเวณใกล้ข้อ การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและอาจมีความเสื่อมรุนแรงขึ้นตามลำดับ
ลักษณะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของข้อเสื่อม- กระดูกอ่อนผิวข้อนุ่มกว่าปกติ[/*]
- สีเปลี่ยนจากใสเป็นสีเหลือง[/*]
- มีการแตกของผิวข้อ[/*]
- กระดูกผิวข้อเริ่มบางลง[/*]
- ผิวไม่เรียบ ขรุขระและลุ่ยออก[/*]
- มีกระดูกงอกบริเวณขอบกระดูก[/*]
- กระดูกใต้ผิวข้อหนาและแข็งขึ้น มีถุงน้้าเกิดขึ้นในกระดูก[/*]
- พิสัยการเคลื่อนไหวลดลง[/*]
โครงสร้างของข้อเข่าข้อเข่าประกอบด้วย กระดูก 3 ชิ้น ได้แก่ กระดูกต้นขา กระดูกหน้าแข้ง และกระดูกสะบ้า ยึดติดกัน ด้วยเส้นเอ็นซึ่งเป็นส่วนปลายของ กล้ามเนื้อนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ ท้าให้ข้อเข่าแข็งแรง ผิวสัมผัส ของกระดูกทั้งสามจะมีเยื่อบุข้อ เซลล์ประสาทรับความรู้สึก และมี กระดูกอ่อนค่อนข้างหนาคลุมอยู่ กระดูกอ่อนนี้มีลักษณะเรียบ มันวาว และผิวลื่น ทั้งนี้เพื่อรับแรงกระแทกที่เกิดขึ้น ขณะมีการเคลื่อนไหวข้อ และท้าให้รูปร่างกระดูกพอดีกัน ช่วยให้ข้อมั่นคงภายใน ข้อเข่ามีน้ำหล่อเลี้ยงช่วยในการหล่อลื่นและถ่ายน้ำหนัก
สาเหตุความเสื่อมของข้อเข่า[list=1]
- ความเสื่อมแบบปฐมภูมิ หรือไม่ทราบสาเหตุ เป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของผิวกระดูกอ่อนตามวัย ซึ่งมีปัจจัยของการเสื่อมของข้อเข่าได้แก่
[/size][/color]
- อายุ พบว่า อายุ 40 ปี เริ่มมีข้อเสื่อม อายุ 60 ปี เป็นข้อเข่าเสื่อมได้ถึงร้อยละ 40[/*]
- เพศ ผู้หญิงพบมากกว่าผู้ชาย 2-3 เท่า ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อของร่างกาย[/*]
- น้ำหนักตัวที่เกิน น้ำหนักตัวมีความสัมพันธ์อย่างมากกับเข่าเสื่อม พบว่าน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น 0.5 กิโลกรัม จะเพิ่มแรงที่กระทำต่อข้อเข่า 1-1.5 กิโลกรัม ขณะเดียวกันเซลล์ไขมันที่มากเกินไปจะมีผลต่อเซลล์กระดูกอ่อนและเซลล์กระดูก ส่งผลให้ข้อเสื่อมเร็วขึ้น[/*]
- การใช้งาน ท่าทาง กิจกรรมที่มีแรงกดต่อข้อเข่ามาก เช่น การนั่งคุกเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ ขึ้นลงบันไดบ่อยๆ เป็นต้น[/*]
- ความบกพร่องของส่วนประกอบของข้อ เช่น ข้อเข่าหลวมกล้ามเนื้อต้นขาอ่อนแรง[/*]
- กรรมพันธุ์ โรคข้อเข่าเสื่อมมีหลักฐานการถ่ายทอดทางพันธุกรรมน้อยกว่าที่ข้อนิ้วมือเสื่อม[/*]
- กระดูกใต้ผิวข้อหนา และแข็งขึ้น มีถุงน้้าเกิดขึ้นในกระดูก[/*]
- พิสัยการเคลื่อนไหวลดลง[/*]
[/*]
- ความเสื่อมแบบทุติยภูมิ เป็นความเสื่อมที่ทราบสาเหตุ เช่น เคยประสบอุบัติเหตุมีการบาดเจ็บที่ข้อ เส้นเอ็น การบาดเจ็บเรื้อรังที่บริเวณข้อเข่าจากการทำงานหรือการเล่นกีฬา โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เก๊าท์ ข้ออักเสบติดเชื้อ โรคของต่อมไร้ท่อ เช่น อ้วน เป็นต้น[/*]
อาการแสดงของโรคข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ มักพบบ่อยในผู้ที่อายุเกิน 60 ปี พบ มากในผู้หญิงและผู้ที่มีน้้าหนักตัวมาก มักเป็นทั้ง 2 ข้าง พบว่า เมื่อข้อเข่าข้างหนึ่งเริ่มเสื่อมแล้ว จะมีข้อเข่าอีกข้างเสื่อมเวลาต่อมา
อาการในระยะแรก เริ่มปวดเข่าเวลามีการเคลื่อนไหว เช่น เดินขึ้นลงบันได หรือนั่งพับเข่า อาการจะดีขึ้นเมื่อหยุดพักการใช้ข้อ ร่วมกับมีอาการข้อฝืดขัดโดยเฉพาะเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานาน เมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงดังในข้อ เมื่อมีภาวะข้อเสื่อมรุนแรงอาการปวดจะรุนแรงมากขึ้น บางครั้งปวดเวลากลางคืน อาจคลำส่วนกระดูกงอกได้บริเวณด้านข้างข้อ เมื่อเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาเต็มที่ จะมีอาการปวดหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า หากมีการอักเสบจะมีข้อบวม ร้อน และตรวจพบน้้าในช่องข้อ ถ้ามีข้อเสื่อมมานานจะพบว่า เหยียดหรืองอข้อเข่าได้ไม่ค่อยสุด กล้ามเนื้อต้นขาลีบ ข้อเข่าโก่ง หลวม หรือบิดเบี้ยวผิดรูป ทำให้ เดินและใช้ชีวิตประจ้าวันลำบาก และมีอาการปวดเวลาเดินหรือขยับ
แนวทางการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
[list=1]
หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้
[/size][/color]
- ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol[/*]
- ยาแก้อักเสบ steroid สมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น[/*]
- ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดภาวะโรคแทรกซ้อน[/*]
- ยาบำรุงกระดูกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม[/*]
- การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้ มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก ค่าใช้จ่ายสูงพอสมควร ได้ผลชั่วคราว[/*]
[/*]
เป็นอีกวิธีในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมซึ่งได้รับความนิยม แต่ก็มีข้อจำกัดในหลายด้าน วิธีการผ่าตัดมีได้หลายวิธีดังนี้
[/size][/color]
- การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรก ที่เกิดจาก การสึก ออกมา[/*]
- การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า เป็นการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแนวแรงที่ลงข้อเข่าให้ดีขึ้น ข้อเข่ากระดูกอ่อนจะต้องอยู่ในสภาพที่ดีพอสมควร จึงจะใช้วิธีนี้ได้[/*]
- การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม[/*]
การผ่าตัดอาจมีข้อจำกัดในเรื่องของอายุและสุขภาพของคนไข้ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยความจำเป็นและความเหมาะสมในการผ่าตัดกับการประเมินความเสี่ยง
[/*]
การรักษาโดยการใช้ยา สารเคมี หรือการทำกายภาพบำบัด มิได้เป็นการแก้ไขที่สาเหตุของโรค เพราะเป็นเพียงแค่การกดอาการของโรคเพื่อไม่ให้แสดงออกมา ทั้งยังอาจทำให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง ที่ต้องใช้การรักษาด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
การรักษาด้วยเซลล์บำบัด (Cell Therapy) ซึ่งเป็นการใช้เซลล์ต้นกำเนิดหรือสเต็มเซลล์ ผสมผสานกับสารปัจจัยการเจริญเติบโต (Growth Factors) และพลาเซนต้า ในการซ่อมแซมเซลล์กระดูกและข้อต่อที่เสื่อมสภาพ โดยการกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนส่วนที่สึกหรอ ซึ่งเป็นการรักษาที่ต้นเหตุที่นอกจากจะช่วยฟื้นฟูร่างกาย และช่วยฟื้นฟูกระดูกที่เกิดจากความเสื่อมแล้ว ยังช่วยฟื้นฟูอวัยวะทุกส่วนที่เกี่ยวข้องไปพร้อมๆ กันอีกด้วย
ดังนั้นโดยทฤษฎีแล้ว การรักษาด้วยเซลล์บำบัด คือ การรักษาสุขภาพแบบองค์รวมที่จะคืนสุขภาพที่ดีทั้งระบบให้แก่ร่างกาย รวมทั้งเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุได้โดยที่มีผลแทรกซ้อนน้อยหรือไม่มีเลย[/url]
[/size][/color][/*][/list]
อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
https://www.bacclinic.info/msc.html