ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็กในเมืองไทย ไม่ได้เล็กเหมือนชื่อเพราะจากผลการวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า มีสัดส่วนการตลาดสูงถึง 80% ของร้านอาหารทุกแบบและขยายตัวปีละ 6% ขึ้นไป เรียกว่าเป็น “ธุรกิจรากหญ้า” ของแท้
ธุรกิจร้านอาหารขนาดเล็กในเมืองไทย ไม่ได้เล็กเหมือนชื่อเพราะจากผลการวิจัยของศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า มีสัดส่วนการตลาดสูงถึง 80% ของร้านอาหารทุกแบบและขยายตัวปีละ 6% ขึ้นไป เรียกว่าเป็น “ธุรกิจรากหญ้า” ของแท้
แต่ความจริงที่น่าตกใจกว่าคือ มีจำนวนไม่ถึง 50% ที่จะอยู่รอดหลังจาก 5 ปีแรก… อ่านบทความนี้แล้วคุณจะพบทางรอดไม่เป็นหนึ่งในจำนวนนั้น
ถ้าจะตีวงให้เห็นกันชัดๆ ร้านอาหารขนาดเล็กจะไล่ตั้งแต่ร้านแผงลอย, รถเข็น ไปจนถึงร้านห้องแถวเล็กๆ ขนาด 1 ห้อง ส่วนใหญ่ขายอาหารเพียงชนิดเดียวเพราะข้อจำกัดเรื่องเงินทุนและพื้นที่ เช่น ไก่ทอด, หมูทอด, ข้าวมันไก่, ส้มตำ, ก๋วยเตี๋ยว, ข้าวราดแกง, อาหารตามสั่ง ฯลฯ
การลงทุนเปิดร้านอาหารเล็กๆ ก็เริ่มตั้งแต่หลักพันไปถึงหลักหมื่นบาทขึ้นไป หากต้องเซ้งหรือเช่าตึกก็ต้องลงทุนเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า จำนวนพนักงานยืนพื้นที่เจ้าของร้านทำเองคนเดียวทุกอย่างจนถึงร้านที่มีลูกจ้างไม่เกินสิบคน
ซึ่งพบได้ทั่วไปทั้งในตรอกซอกซอยหรือริมถนน หาร้บประทานได้ตลอด 24 ชั่วโมงไม่แพ้ 7-11 เจ้าเก่าปิดไปก็มีเจ้าใหม่มาเปิด วนเวียนอยู่แบบนี้ หากเราต้องการเปิดร้านให้“รุ่ง”จะต้องทำอย่างไรบ้าง มาดูกัน!
ข้อแรก.. ทำเล ทำเล และทำเล
คำแนะนำส่วนใหญ่คือ ให้เลือกตั้งในบริเวณแหล่งชุมชนคนเยอะๆ ไว้ก่อน นั่นแค่ส่วนหนึ่งเท่านั้น จะเปิดร้านทั้งทีต้องทำแบบมืออาชีพนั่นคือ ไปนั่งเฝ้าดูทำเลที่เราหมายตาไว้ก่อนอย่างน้อยหนึ่งอาทิตย์
ลองดูสิว่า กลุ่มคนแถวนั้นเป็นกลุ่มพนักงานบริษัท กลุ่มคนทำงานโรงงาน กลุ่มนักศึกษา นักเรียน หรือพ่อบ้านแม่บ้าน ชนิดของกลุ่มคนจะสัมพันธ์กับชนิดสินค้าและราคาที่เราจะขาย เช่น
เราคงไม่ขายเสต๊ก, สลัด หรืออาหารสุขภาพในย่านโรงงาน แต่ควรขายของที่กินง่ายๆ อิ่มท้องอย่างข้าวเหนียวหมูทอดไก่ทอดในราคาไม่แพง
นอกจากนั้นต้องรู้ว่าเวลาเข้างาน พักเที่ยง เลิกงานคือช่วงเวลาไหน ไม่ใช่ว่ามาเริ่มขายตอนลูกค้าเข้าทำงานไปแล้วแถมเก็บของกลับบ้านก่อนเวลาเลิกงานเสียอีก อย่างนี้ก็เจ๊งเพราะไม่มีคนมาซื้อแน่นอน
บริการด้านอาหาร 4 เคล็ดลับเปิดร้านอาหารขนาดเล็กไม่ให้เจ๊ง! คลิ๊กที่นี่ http://snss.co.th/dt_post/catering-service/