ผู้เขียน หัวข้อ: นากลางกรุง เกษตรใหม่ไร้สารเคมี ตอนที่ 2 หลังเก็บเกี่ยวผลิต  (อ่าน 141 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,554
  • พอยท์: 100
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
ผลกระทบของตะกอนเลนต่อการเลี้ยงกุ้ง   เมื่อเกิดตะกอนมาก  ส่งผลให้ค่าพีเอชและค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำรอบวันแกว่งมาก   การให้อาหารที่ไม่สอดคล้องต่อความต้องการของกุ้งในบ่อ หรือการที่ต้องให้อาหารมากเนื่องจากการลงกุ้งในบ่ออย่างหนาแน่น จะทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ในอาหารที่เหลือและขี้กุ้งที่ขับถ่ายออกมาในตะกอนเลนพื้นบ่อเป็นปริมาณมาก   เมื่อเกิดการย่อยสลายจะทำให้มีการสะสมของธาตุอาหารต่าง ๆ ได้แก่ ไนโตรเจนและฟอสฟอรัสในปริมาณที่มากด้วย ซึ่งธาตุอาหารเหล่านี้เป็นตัวเร่งส่งผลทำให้แพลงก์ตอนพืชมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว  จนทำให้ปริมาณแพลงก์ตอนพืชหนาแน่นจนเกินไป ทำให้น้ำในบ่อมีสีเขียวเข้ม น้ำหนืดเร็ว มีค่าความโปร่งแสงต่ำ ซึ่งการที่อัตราการเจริญเติบโตของแพลงก์ตอนพืชรวดเร็วจนกระทั่งสูงเกินกว่าระดับที่เหมาะสมนั้น จะส่งผลกระทบทำให้ค่าพีเอชและค่าออกซิเจนในรอบวันมีความแตกต่างกันมาก โดยในช่วงเวลากลางคืนจนกระทั่งถึงเช้าน้ำในบ่อเลี้ยงจะมีค่าพีเอชลดลงมาก ส่วนปริมาณออกซิเจนก็จะลดต่ำลงด้วยอาจไม่เพียงพอต่อกุ้งได้   ส่วนในเวลากลางวันน้ำจะมีค่าออกซิเจนสูงเกินจุดอิ่มตัวและมีค่าพีเอชสูง ซึ่งการแกว่งของค่าพีเอชและปริมาณออกซิเจนละลายน้ำค่อนข้างมากย่อมส่งผลกระทบต่อกุ้งโดยตรง ทำให้กุ้งเครียด เจริญเติบโตช้า ติดเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ง่าย รวมทั้งการที่พีเอชของน้ำที่สูงขึ้นยังส่งผลกระทบต่อสารพิษบางตัว เช่น แอมโมเนีย มีความเป็นพิษเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นอันตรายต่อกุ้งได้ นอกจากนี้เมื่อมีปัจจัยควบคุมการสังเคราะห์แสง เช่น ความเข้มแสงที่ลดลง ก็ทำให้เกิดการตายของแพลงก์ตอนพร้อม ๆ กัน ออกซิเจนจะถูกใช้ไปโดยจุลินทรีย์เพื่อย่อยสลายซากแพลงก์ตอนเหล่านี้    ทำให้ปริมาณออกซิเจนลดลงอย่างรวดเร็วจนกระทั่งเกิดสภาวะการขาดแคลนออกซิเจน ส่งผลให้กุ้งเครียด อ่อนแอ กุ้งกินอาหารได้ลดลง หรืออาจมีการตายของกุ้งในกรณีที่ระดับออกซิเจนลดต่ำมาก    ถ้าไม่รีบแก้ไขปัญหาก็จะเกิดสภาวะไร้ออกซิเจนที่พื้นบ่อ ทำให้การย่อยสลายสารอินทรีย์ยิ่งลดน้อยลงไปอีก เนื่องจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่มีออกซิเจนจะเกิดขึ้นดีและเร็วกว่าการย่อยสลายที่ไม่ใช้ออกซิเจน ทำให้เกิดการสะสมของสารอินทรีย์ต่างๆเพิ่มมากยิ่งขึ้น และทำให้สารพิษบางชนิดจากการย่อยสลายของจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน  เกิดสารที่เป็นพิษต่อกุ้งจากกระบวนการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ที่ไม่ใช้ออกซิเจน  ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า เกิดขึ้นเนื่องจากกระบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์ในสภาวะที่ไม่มีออกซิเจนโดยแบคทีเรียบางกลุ่มสามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ต่าง ๆ ได้โดยใช้ออกซิเจนจากซัลเฟต (SO2-4) ทำให้ได้ไฮโดรเจนซัลไฟด์ซึ่งเป็นรูปของสารประกอบซัลไฟด์ที่เป็นพิษต่อกุ้ง โดยความเป็นพิษของก๊าซไข่เน่าจะทำให้สัตว์เกิดอาการคล้ายกับการขาดออกซิเจนแต่จะรุนแรงกว่าการขาดออกซิเจนมาก ซึ่งสภาวะดังกล่าวทำให้กุ้งอ่อนแอ และเกิดการตายของกุ้งได้

BEN klean น้ำยาทำความสะอาดอเนกประสงค์สูตรชีวภาพไร้สารเคมี
เมื่อใช้ BEN klean ชะล้างคราบสกปรก น้ำทิ้งที่ปล่อยสู่สาธารณะจะใสไม่มีสีขุ่น
BEN klean จึงช่วยลดภาระให้กับระบบบำบัดน้ำเสีย และลดภาระให้กับสาธารณะและส่ิงแวดล้อม


สนใจติดต่อ
Call Center: 02 880 4744
Line: @bcithailnd


นากลางกรุง เกษตรใหม่ไร้สารเคมี ตอนที่ 2 หลังเก็บเกี่ยวผลิต ดูเพิ่มเติมคลิ๊กที่น่ี่ https://www.youtube.com/watch?v=gIym46cOzFQ


ติดตามรายละเอียดสินค้า เพื่อสิ่งแวดล้อมมีคุณภาพ ได้ท่ี่เว็บ https://www.bcithailand.net