ผู้เขียน หัวข้อ: งานวิจัยพบว่า 'ท้องเสีย' อาจเป็นอีกหนึ่งอาการของโรค 'โควิด-19' ได้  (อ่าน 87 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ spammer

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 139,825
  • พอยท์: 100
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์

ไวรัสโควิด-19 เป็นเชื้อไวรัสที่มีความอันตรายซ่อนอยู่ภายใต้ความเงียบ เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าใครบ้างที่ติดเชื้อนี้ หรือติดแล้ว มันจะทำให้ร่างกายแสดงอาการอะไรออกมาให้รับรู้ได้บ้าง ล่าสุด มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่เตรียมจะตีพิมพ์ลงใน The American Journal of Gastroenterology ระบุว่า ในผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 รายที่มีอาการไม่หนักมาก จะมีอาการปอดอักเสบ ไปจนถึงอาการที่แสดงให้เห็นถึงความผิดปกติของระบบทางเดินหายใจที่สังเกตเห็นได้ในภายหลัง หรือแม้กระทั่งบางรายก็ไม่มีอาการที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจออกมาให้เห็นเลย ดังนั้น สิ่งที่เราต้องทำ คือต้องไม่ละเลยกลุ่มผู้ที่ป่วยที่ไม่แสดงอาการ แต่มีความผิดปกติของระบบย่อยอาหารแบบกะทันหัน ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่อาจติดเชื้อไวรัสได้

นอกจากนี้ ในงานวิจัยอีกฉบับที่ถูกตีพิมพ์อยู่ในวารสารเดียวกันได้ระบุว่า ในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 200 รายที่พักรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาลเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีนประมาณ 50% มีรายงานว่ามีความผิดปกติของระบบย่อยอาหารกับผู้ป่วย อีกทั้งราว 18% พบว่ามีอาการท้องเสีย อาเจียน หรือปวดท้อง ซึ่งในรายงานของงานวิจัยฉบับนี้ได้ให้ความสนใจไปที่กลุ่มผู้ป่วยอาการหนักมากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักมาก

ในรายงานฉบับใหม่นี้ นักวิจัยได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลของผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 206 รายซึ่งรักษาตัวอยู่ที่ Union Hospital, Tongji Medical College ในเมืองอู่ฮั่น เป็นกลุ่มที่ผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักและไม่มีปัญหาเรื่องการหายใจ หรือระดับออกซิเจนในร่างกายต่ำ พบว่า ผู้ป่วยกว่า 48 ราย หรือประมาณ 23% ที่ระบบการย่อยอาหารมีปัญหา ส่วนผู้ป่วยจำนวน 89 คน หรือประมาณ 43% ให้ข้อมูลว่ามีปัญหากับระบบทางเดินหายใจเท่านั้น และผู้ป่วยจำนวน 69 คน หรือประมาณ 33% ให้ข้อมูลว่ามีปัญหาทั้งระบบทางเดินหายใจและระบบย่อยอาหาร

จากการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยจำนวน 117 รายที่มีปัญหาในเรื่องระบบการย่อยอาการ พบว่าราว 67 คน หรือประมาณ 58% มีอาการท้องเสีย และ 13 คน หรือประมาณ 20% มีอาการท้องเสียเป็นอาการแรกเริ่มเมื่อมีการป่วย ทั้งยังพบว่าผู้ป่วยมีอาการท้องเสียตั้งแต่วันแรกลากยาวไปจนถึงวันที่ 14 โดยเฉลี่ยแล้ว 5 วันที่มีอาการและ 1 ใน 3 ของผู้ที่มีอาการท้องเสียทั้งหมดไม่เคยมีไข้เลย ซึ่งด้วยความที่ไม่มีไข้และมีอาการท้องเสียนี่เองที่เป็นสาเหตุให้ผู้ป่วยเข้าพบแพทย์เพื่อรับการตรวจช้ากว่าผู้ติดเชื้อที่มีอาการเป็นไข้ เฉลี่ยแล้วจะพบแพทย์เมื่อเริ่มมีอาการประมาณ 6 วัน ในขณะที่คนมีไข้ หรือมีปัญหาด้านระบบการหายใจจะเข้าพบแพทย์เมื่อมีอาการได้ประมาณ 11 วัน นอกจากนี้ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาการอาจจะใช้เวลาในการกำจัดเชื้อออกจากร่างกาย (ผลการตรวจโควิด-19 เป็นลบ) นานกว่าผู้ติดเชื้อรายอื่นๆ เฉลี่ยแล้วจะใช้เวลาราวๆ 41 วัน ในขณะที่ผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจจะใช้เวลาน้อยกว่า อยู่ที่ 33 วัน

มากกว่าไปกว่านั้น ในงานวิจัยชิ้นใหม่นี้ยังระบุเพิ่มเติมอีกว่า มีการตรวจพบเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 หรือเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในอุจจาระของผู้ป่วยติดเชื้อประมาณ 73% ที่มีอาการผิดปกติของระบบย่อยอาหารอีกด้วย ซึ่งยังไม่มีข้อมูลเพิ่มเติมว่าเชื้อไวรัสนั้นจะส่งผลต่อระบบทางเดินอาหารต่อไปหรือไม่ โดยสรุปแล้ว ข้อมูลทั้งหมดเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 ที่มีอาการท้องเสียแรกๆ นั้น ถึงจะไม่มีไข้ ไม่มีอาการไอ จาม เจ็บคอ น้ำมูกไหล หรือหายใจเหนื่อยหอบ ก็ไม่ได้หมายความว่าปลอดภัย หากเป็นไปได้ ควรรับไปตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งในระบบทางเดินหายใจและอุจจาระด้วยก็จะดี

อ่านข่าว COVID-19 ทั้งหมดเพิ่มเติม

อ่านเพิ่มเติม : สุขภาพ
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง : เคล็ดลับสุขภาพ

Tags : สุขภาพ, ยารักษาโรค