ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีให้ อาหารสายยาง เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ !  (อ่าน 7 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออนไลน์ siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 3,444
  • พอยท์: 100
    • ดูรายละเอียด
    • อีเมล์
วิธีให้ อาหารสายยาง เพื่อป้องกันไม่ให้ติดเชื้อ !

การให้อาหารทางสายยางนั้นถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่ต้องเรียนรู้ สำหรับผู้ที่มีญาติเป็นผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับประทานอาหารได้เองทางปากได้ แต่ระบบย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารยังใช้งานได้ตามปกติ และมีเหตุผลต้องพากลับมาดูแลเองที่บ้าน ผู้ที่ดูแลใกล้ชิดจึงควรที่จะต้องศึกษาถึงวิธีการให้อาหาร และการดูแลสายยางให้อาหารก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ เพราะผู้ป่วยที่ให้อาหารทางสายยางมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้ง่ายหากดูแลสายยางให้อาหารไม่ดีพอ โดยวันนี้เราจะมีขั้นตอนเหล่านี้อย่างละเอียดเพื่อเป็นประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยให้ปลอดภัยที่สุด ดังต่อไปนี้

อุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในการให้อาหารผู้ป่วยทางสายยาง ?
– อาหารเหลว หรืออาหารตามที่แพทย์สั่ง
– กระบอกให้อาหารทางสายยาง
– สำลี แอลกอฮอล์
– สบู่ล้างมือ หรือ แอลกอฮอล์ล้างมือ


ตำแหน่งที่ให้อาหารทางสายยาง ?

ตำแหน่งที่จะให้อาหารทางสายยางผู้ป่วยนั้นมีอยู่ 3 ตำแหน่งด้วยกันคือ
– ใส่สายยางให้อาหารทางจมูกลงไปในกระเพาะอาหาร
– ใส่สายยางให้อาหารทางปากเพื่อลงสู่กระเพาะอาหาร
– ใส่สายยางให้อาหารโดยเจาะผ่านผนังหน้าท้องสู่กระเพาะอาหารโดยตรง


วิธีให้อาหารทางสายยางเบื้องต้น ?

– จัดเตรียมอุปกรณ์ทั้งหมดที่ได้บอกไว้ข้างต้นให้พร้อม
– จัดท่านอนของผู้ป่วยให้ศีรษะตั้งฉากประมาณ 45 องศา ถ้าในผู้ป่วยที่มีการรู้สึกตัวก็ควรให้หนุนหมอนสูง หรือเป็นไปได้ให้นั่งเก้าอี้ หรือพนักเตียง
– จัดพื้นที่โดยรอบของผู้ป่วยให้มีความสะอาดมากที่สุด และผู้ที่เป็นคนให้อาหารผู้ป่วยก็ต้องล้างมือให้สะอาดตามการล้างมือที่ถูกวิธี
– กระตุ้นให้ผู้ป่วยไอ หรือขากเสมหะออก ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถเอาเสมหะออกมาได้ ให้ทำการดูดเสมหะออกก่อน เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน ปอดอักเสบจากการสำลักอาหาร และล้างมืออีกครั้งหลังจากที่ขับเสมหะของผู้ป่วยแล้ว
– ทำการดึงจุกที่ปิดหัวตัวสายยางให้อาหารออก ในขณะเดียวกันก็ให้ใช้นิ้วพับสายคีบเอาไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไปในกระเพาะอาหารของผู้ป่วย ซึ่งเป็นเหตุให้ผู้ป่วยเกิดอาการท้องอืดตามมาด้วย
– ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุก เช็ดทำความสะอาดบริเวณจุกให้อาหารทางสายยาง ให้นำกระบอกอาหารพร้อมลูกสูบต่อกับหัวต่อ เมื่อสวมต่อเรียบร้อยแล้ว ก็ให้ทำการปล่อยมือที่คีบไว้ออก พร้อมทั้งให้ทำการทดสอบว่าปลายสายยางให้อาหาร อยู่ในกระเพาะอาหารหรือไม่ โดยการทดสอบเป็นขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนแรก ให้ทำการใช้กระบอกให้อาหารดูดเอาอาหาร หรือน้ำในกระเพาะอาหาร หากว่ามีมากเกินกว่า 50 ซีซี ก็ให้ดันอาหารหรือน้ำกลับไปอย่างช้าๆ แล้วให้เลื่อนเวลาทดสอบออกไปประมาณ 1 ชั่วโมง แล้วให้กลับมาทดสอบใหม่ หากว่าไม่เกิน 50 ซีซี ก็ให้ดันกลับไปอย่างช้าๆ และเริ่มทำการให้อาหารทางสายยางได้

ขั้นตอนที่สอง แต่ถ้าหากว่าดูดออกมา แต่ไม่มีอาหารตามขึ้นมาเลย ก็ให้ดูดลมเข้ามาในกระบอก ประมาณ 20 ซีซี แล้วค่อยต่อเข้าไปที่สายยางให้อาหาร แล้วให้ทำการนำฝ่ามือ หรือหู แนบไปที่ใต้ชายโครงด้านซ้ายมือ แล้วค่อยๆดันลมเข้ากระเพาะอย่างช้าๆ โดยหากได้ยินเสียงลมเข้าไปในกระเพาะจนมั่นใจแล้วก็ให้สูบลมออก

ขั้นตอนที่สาม อันนี้ถือว่าน่ากลัวซึ่งหากว่าดูดออกมาแล้วกลับกลายเป็นน้ำสีน้ำตาลเข้มๆ ให้รีบปรึกษาทางโรงพยาบาลโดยด่วน เพราะ ผู้ป่วยอาจจะมีแผลในกระเพาะอาหารได้ ซึ่งเป็นอันตราย

– เมื่อทำการเช็คสายยางให้อาหารเรียบร้อยแล้ว ก็ให้พับสายยางให้อาหาร แล้วปลดกระบอกออกนำไปต่อกับกระบอกให้อาหารใหม่ เพื่อเตรียมขั้นตอนการให้อาหารผู้ป่วย
– เทอาหารปั่นผสมใส่กระบอกครั้งละประมาณ 50 ซีซี ยกกระบอกให้สูงกว่าผู้ป่วยประมาณ 1 ฟุต โดยปล่อยให้อาหารไหลตามสายช้าๆ ห้ามให้เร็วเด็ดขาด เพราะอาจจะทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง หรือท้องเดินได้
– เมื่ออาหารลดลงจากกระบอกให้ค่อยๆเติมอาหาร อย่าให้ขาดช่วงจนมีลมเข้าไป เพราะจะทำให้ผู้ป่วยมีอาการท้องอืดได้
– เมื่ออาหารที่เตรียมไว้ใกล้จะหมดแล้ว ให้ทำการเติมน้ำและยาหลังอาหารตามลงไป เมื่อใส่ยาแล้วให้ทำการใส่น้ำตามลงไปเพื่อไม่ให้ยาติดที่สายยาง และไม่ควรมีน้ำหลงเหลือในสายยางด้วย
– เมื่อทำทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้ทำการพับสายยาง ปลดกระบอกให้อาหารออก เช็ดหัวต่อด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก และปิดจุกหัวต่อให้เรียบร้อย
– เมื่อทุกทุกอย่างเสร็จเรียบร้อยแล้วอย่าพึ่งให้คนป่วยนอนในทันที ให้จับอยู่ในท่านั่งหรือพิงไว้ก่อนประมาณ 1 ชั่วโมง ก็จะถือว่าเสร็จสบบูรณ์