ผู้เขียน หัวข้อ: ความเป็นมาของกุญแจทรงกระบอก  (อ่าน 860 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ความเป็นมาของกุญแจทรงกระบอก
« เมื่อ: 5 พฤศจิกายน 2017, 01:23:14 »
กุญแจทรงกระบอก

 อียิปต์เป็นชนชาติแรกที่ระดิษฐ์กุญแจขึ้นตั้งแต่เมื่อ  4,000  ปีที่แล้ว ในระยะหลายร้อยปีที่ผ่านมา ได้มีการปรับปรุงกุญแจให้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้น 
 หลังปี  พ.ศ. 2403  ไลนัส  เยล  จูเนียร์ จดสิทธิบัตรกุญแจทรงกระบอกซึ่งปรับปรุงจากกุญแจที่บิดาของเขาเคยประดิษฐ์ ไว้  กุญแจทรงกระบอกยี่ห้อ  “เยล”   ที่ใช้กันทั่วไปทุกวันนี้ เป็นกุญแจที่ผลิตในระบบอุตสาหกรรม  ชนิดแรกที่มีคุณภาพดี ให้ความปลอดภัยสูง

 กุญแจทรงกระบอกมีลักษณะเป็นทรงกระบอก มีรูกุญแจเอียงเยื้องศูนย์อยู่ที่ไส้กุญแจ  (รูปที่  1) กระบอกกุญแจและไส้กุญแจมีรูเจาะถึงกันจำนวนห้ารู เมื่อยังไม่ได้สอดลูกกุญแจเข้าไปหรือสอดแล้วแต่ยังไม่ได้บิดลูกกุญแจรูเหล่า นี้จะอยู่ในแนวเดียวกัน  รูเจาะแต่ละรูมีหมุดสลักและลูกเลื่อนสอดอยู่ เมื่อสอดลูกกุญแจเข้าไปหมุดสลักจะถูกบังคับให้เคลื่อนที่ไปตามรูเจาะ ปลายด้านในของไส้กุญแจมีลูกเบี้ยวทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของกลไกสลักประตู เมื่อบิดลูกกุญแจ  ลูกเบี้ยวจะลากสลักประตูถอยออกมา


ลูกกุญแจที่ไม่ถูกต้อง
เมื่อ คุณสอดลูกกุญแจ  ร่องของลูกกุญแจจะดันหมุดสลักขึ้นตามร่อง ถ้าเป็นลูกกุญแจที่ไม่ถูก แนวสัมผัสของหมุดสลักกับลูกเลื่อนไม่ได้อยู่ตรงรอยต่อ จึงไม่สามารถไขไส้กุญแจได้

ลูกกุญแจถูกต้อง

 เมื่อคุณสอด ลูกกุญแจ  ร่องของกุญแจจะดันสลักขึ้นไปบนร่องฟันของลูกกุญแจ ถ้าเป็นลูกกุญแจที่ถูกต้อง  แนวสัมผัสของหมุดสลัก และลูกเลื่อน จะอยู่ตรงรอยต่อพอดี  เราจึงสามารถหมุนไส้กุญแจได้
ขอบคุณข้อมูลจาก www.rmutphysics.com ฟิสิกส์ราชมงคล

ที่มา: http://ppmobilephone1.blogspot.com/2010/03/blog-post_08.html