ผู้เขียน หัวข้อ: จะซื้อหรือจะเช่าดี คำถามคาใจของคนอยากมีบ้าน  (อ่าน 45089 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การตัดสินใจซื้อบ้านหรือไม่นั้น ถือเป็นเรื่องยิ่งใหญ่ที่สุดในชีวิตเรื่องหนึ่งของบุคคลทั่วไป เพราะหลังจากเรียนจบและเริ่มวัยทำงาน ต่างก็อยากมีบ้านเป็นของตัวเองไว้อยู่อาศัย ส่วนใหญ่ก็จะเริ่มต้นจากการหาบ้านเช่าอยู่ก่อน แล้วค่อยคิดซื้อบ้านทีหลัง จนมาถึงจุดหนึ่งที่คุณจะเริ่มคิดว่าค่าเช่าที่จ่ายไปแล้วในช่วงที่ผ่านมานั้นมากโขอยู่ หากเปลี่ยนมาเป็นค่าผ่อนบ้านก็คงจะดี

  คำถามคาใจเมื่อถึงจุดนั้นก็คือ จะเช่าต่อไปดี หรือจะซื้อบ้านหลังใหม่ดี ซึ่งการที่จะตอบคำถามเหล่านั้นได้ คุณจะต้องชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีข้อเสียของแต่ละกรณีให้มากๆ เพราะการตัดสินใจซื้อนั้น มันจะเป็นเงินก้อนใหญ่ในชีวิตที่ใช่ว่าจะเปลี่ยนแปลงอะไรย้อนหลังได้โดยง่าย

 ประโยชน์ของการซื้อบ้าน
 – เมื่อถึงวันที่ผ่อนบ้านหมด บ้านจะเป็นของคุณ และคุณไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าเช่าบ้านอีกต่อไป แถมยังมีทรัพย์สินเป็นของตัวเองที่มีมูลค่านับล้านบาทอยู่ด้วย
– ถ้าละแวกบ้านมีความเจริญขึ้นมา บ้านคุณราคาก็จะสูงไปด้วย ถือเป็นการลงทุนอย่างหนึ่ง คุณอาจจะตัดสินใจขายบ้านหลังนี้ แล้วไปซื้อบ้านหลังใหญ่กว่านอกเมืองได้โดยสบายๆ
– คุณสามารถทำการปรับปรุงบ้าน เพื่อเพิ่มมูลค่า หรือเพื่อความสะดวกสบาย สะอาดตา โดยไม่ต้องขออนุญาตเจ้าของบ้านอีกต่อไป
– บางครั้งการซื้อบ้านอาจจะถูกกว่าเช่าบ้านด้วยซ้ำ เมื่อคำนวนเงินผ่อนในแต่ละเดือน จากอัตราดอกเบี้ยในห้วงเวลานั้น
 ข้อเสียของการซื้อบ้าน – ถือเป็นการลงทุนครั้งใหญ๋ของชีวิต ต้องคิดให้ดีว่า งานการมั่นคงหรือยัง หากมีเหตุจำเป็นจะมีทางผ่อนบ้านต่อได้หรือไม่ เช่น ตกงาน เปลี่ยนงานเป็นต้น
– บางครั้งซื้อไปแล้ว กลายเป็นหมู่บ้านร้าง อาจจะด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่ เช่นเศรษฐกิจโดยรวมตกต่ำ หรือคนย้ายออกเป็นจำนวนมาก มูลค่าบ้านที่แท้จริงจะลดลงไปทันที
– หากอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ยอดผ่อนบ้านแต่ละเดือนก็จะสูงขึ้น คุณเตรียมพร้อมรับมือกับมันหรือไม่
– พร้อมที่จะจ่ายค่าซ่อมแซมต่างๆหรือยัง เช่นแอร์เสีย หลังคารั่ว ท่อน้ำแตก เพราะหากเป็นบ้านท่านต้องซ่อมเอง ไม่มีเจ้าของบ้านเช่ามาดูแลให้เหมือนเมื่อก่อน
– หากซื้อบ้านราคาแพงเกินตัว อาจจะต้องลดการทานอาหารนอกบ้าน หรือสิ่งบันเทิงนอกบ้านลง
– หากต้องย้ายที่อยู่เพราะได้งานใหม่ การจะขายบ้านเก่าแล้วหาซื้อบ้านใหม่นั้น ยุ่งยาก วุ่นวาย ค่าใช้จ่ายสูง และขายบ้านเก่ายากกว่ากรณีเช่าบ้านเยอะ ดังนั้นหากคิดว่าจะต้องเปลี่ยนงานในอีกไม่กี่ปี การซื้อบ้านเป็นของตัวเองอาจจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดี
– หากชีวิตครอบครัวยังไม่ชัดเจน แล้วต้องกู้ร่วมกับแฟน แล้วหากเลิกกันก็ใช่ว่าจะแบ่งบ้านกันคนละครี่งได้ การประกาศขายบ้านอาจจะใช้เวลานาน ท่านพร้อมที่จะผ่อนต่อคนเดียวได้หรือไม่

 มีเงินพอซื้อบ้านเองหรือไม่ หากตัดสินใจแล้วว่าการซื้อบ้านเป็นของตัวเองนั้นเป็นทางเลือกที่ดีกว่า คุณเตรียมเงินไว้พร้อมหรือยังสำหรับกรณีดังต่อไปนี้
– เงินดาวน์ประมาณ 10 – 20 % ของราคาบ้าน
 – ค่าธรรมเนียมการโอน การจดจำนอง และอื่นๆ รวมแล้วประมาณ 2% ของราคาบ้าน
 – ค่าตกแต่งบ้านให้อยู่อาศัยได้ เริ่มจาก มุ้งลวด เหล็กดัด ที่บ้านใหม่จะไม่มีสิ่งเหล่านี้มาให้ บ้านเดี่ยวสองชั้น 50 ตารางวา จะเสียค่าใช้จ่ายส่วนนี้ประมาณ 40,000 บาท
 – ค่าผ้าม่าน หน้าต่างอีกประมาณ 20,000 บาท
 – ค่าเครื่องปรับอากาศ ห้องเล็กๆ เครื่องละประมาณ 20,000 – 30,000 บาท
 – ค่าเตียง ฟูก ตู้เสื้อผ้า ประมาณ 20,000 บาท สำหรับห้องนอนห้องเดียว
 – ค่าตู้เย็น เตาแก้ซ อ่างล้างจาน เค้าเตอร์ครัว เตรียมเงินไว้ประมาณ  100,000 บาท
 – อุปกรณ์อำนวยความสะดวกอย่าง ทีวี เครื่องเสียง โต้ะทานข้าว โซฟา จานดาวเทียม

จะเห็นได้ว่ากว่าจะเข้าไปอยู่ได้เหมือนบ้านทั่วไป ท่านอาจจะต้องเสียเงินนอกจากการซื้อบ้านแล้ว อาจจะต้องใช้เงินอีกราว 200,000 บาท เพื่อให้ทุกอย่างลงตัวเหมือนบ้านทั่วไป ในขณะที่การเช่าบ้านอาจจะมีสิ่งเหล่านี้มาให้พร้อมอยู่ได้เลย ท่านเพียงแต่ทยอยจ่ายค่าเช่าในแต่ละเดือนเท่านั้น
ดังนั้นการที่จะซื้อบ้านเอง หรือเช่าเขาอยู่ จึงมีหลายปัจจัยมาเกี่ยวข้อง ท่านอาจจะต้องคิดคำนวนทั้งรายได้และค่าใช้จ่าย ว่าถึงจุดที่ต้องการซื้อบ้านเป็นของตัวเองหรือยัง อันจะทำให้การตัดสินใจเป็นไปได้อย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องมารู้สึกเสียดายทีหลังนั่นเอง


ที่มา: http://thaimoneyadvice.com/%e0%b8%88%e0%b8%b0%e0%b8%8b%e0%b8%b7%e0%b9%89%e0%b8%ad%e0%b8%ab%e0%b8%a3%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%88%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%94%e0%b8%b5-%e0%b8%84%e0%b8%b3%e0%b8%96%e0%b8%b2/