Sealant ชนิดที่ 1
1. Acrylic หรือ อะครีลิค คือวัสดุที่เรารู้จักกันในนามของแด๊ป (DAP) ที่เวลาช่างอลูมิเนียมจะทำอะไรๆ
ก็มักจะบอกว่าใช้ DAP ซึ่งจริงๆแล้ว DAP คือยี่ห้อหนึ่งของผลิตภัณฑ์ Sealant ที่กลายเป็นชื่อสามัญของ Acrylic ไปแล้ว
การใช้งานหลักๆของ Acrylic ที่ใช้กันก็คือใช้ปิดรอยต่อของกำแพงกับวงกบ
ถ้าถามว่าใช้ได้หรือไม่ ก็ต้องตอบว่าใช้ได้ แต่ถ้าถามว่าเหมาะหรือไม่ ต้องตอบว่าไม่เหมาะครับ เพราะคุณสมบัติ
ของ Acrylic นั้นจริงๆแล้วจะไม่เหมาะกับการใช้งาน outdoor ซํกเท่าไหร่ แต่ถ้าเป็นงาน indoor ก็ไม่มีปัญหาครับ
คุณสมบัติโดยทั่วไปของ Acrylic
- ราคาถูก
- ทาสีทับได้
- ความยืดหยุ่น 12.5% (แต่ที่ใช้ในวงการแทบจะไม่ยืดหยุ่นเลย)
- เหมาะกับการใช้งาน indoor
Sealant ชนิดที่ 2
2. Silicone หรือ ซิลิโคน เป็นวัสดุที่ใช้ปิดรอยต่อที่มีแยกย่อยอีกหลายชนิดเช่น
- ซิลิโคนชนิดมีกรด จะมีกลิ่นคล้ายๆน้ำส้มสายชู ใช้ยึดวัสดุที่มีความมันเงา เช่นกระจก หรือ สเตนเลส
- ซิลิโคนชนิดเป็นกลาง ใช้ยึดวัสดุที่มีรูพรุน เช่น ไม้ ปูน อันนี้ต้องระวังนิดนึงครับ ช่างกระจกบางคนกลัวลูกค้าเหม็นกลิ่นกรด
เลยใช้ชนิดเป็นกลางยิงกระจก แถมคิดเงินเพิ่มโดยบอกว่าใช้ของดี ไม่มีกลิ่น ฝากเขกกะโหลกไปทีนึงครับ แล้วบอกว่ามันไม่ได้ใช้
สำหรับติดกระจกเฟร้ย
- ซิลิโคนชนิดมีสารต่อต้านการเจริญเติบโตของเชื้อรา ส่วนมากใช้กับงานห้องน้ำและครัว อันนี้ในความเป็นจริงควรจะระบุว่าต่อต้าน
(ชั่วคราว)ไปด้วยนะ เพราะไม่มีซิลิโคนตัวไหนที่ต่อต้านได้อย่างถาวร เพราะงั้นช่างคนไหนบอกว่า "ใช้ตัวนี้เลยพี่ ราไม่ขึ้น เอาคอ
เป็นประกันได้เลย"เนี่ย ลับมีดรอได้เลยครับ ถ้าถามว่าแล้วทำไงดี ไม่อยากให้เชื้อรามาขึ้นเป็นดวงๆ อุจาดตาอ่ะ คำตอบมี 2 อย่างครับ
คือ 1. ลอกแล้วยิงใหม่บ่อยๆ 2. ใช้ซิลิโคนสีดำครับ ขึ้นแล้วจะมองไม่เห็น แต่ถ้าเป็นราขาวก็ซวยไป 555
- ซิลิโคนสำหรับงานพิเศษประเภทสัมผัสอาหารได้ กันไฟ
ซิลิโคนยังแบ่งเป็น 2 ชนิดคือซิลิโคน 100% และซิลิโคนผสม ซึ่งความแตกต่างหลักๆคือ ซิลิโคนผสมเมื่อแห้งแล้วจะหดตัวประมาณ 10-20%
คุณสมบัติโดยทั่วไปของ Silicone
- ราคาแพงขึ้นมาหน่อย
- ทาสีทับไม่ได้
- มีความมันเงา สวยงาม
- ความยืดหยุ่น 25%
- เหมาะกับการใช้งาน indoor & Outdoor
![](http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2012/09/R12695035/R12695035-4.jpg)
3. Poly Urethane (PU) การใช้งานของ PU ทั่วๆไปคือการใช้ปิดรอยต่อเมทัลชีท ปิดรอยต่อของแผ่นพรีคาสท์
หรือใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะทาง ผู้รับเหมาบางคนเรียก PU ว่า NP1 ด้วยความคุ้นเคยหรือเรียกตามคนอื่นๆ ซึ่งจริงๆแล้ว NP1
เป็นรุ่นของ PU รุ่นหนึ่งของ BASF เท่านั้น แต่เนื่องจากเป็นเจ้าตลาด ทำให้ใครๆก็เรียกหา NP1 เมื่อต้องการใช้ PU ที่หนักกว่านั้น
ผู้รับเหมาหลายๆท่านยังเรียกว่า Silicone NP1 ด้วยความที่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่า PU กับ Silicone นั้นต่างกันอย่างลิบลับ
คุณสมบัติโดยทั่วไปของ PU
- ราคาแพงขึ้นมาอีกหน่อย
- ทาสีทับได้
- ความยืดหยุ่น >25% บางรุ่น 50%
- เหมาะกับการใช้งาน indoor & Outdoor
- มีทั้งกันเสียง ป้องกันการเติบโตของเชื้อรา กันไฟ กันน้ำมัน เยอะ
![](http://topicstock.pantip.com/home/topicstock/2012/09/R12695035/R12695035-5.jpg)
4. Hybrid ช่วงนี้กระแส Hybrid กำลังมาแรง ขอพูดเรือง Hybrid หน่อยลละกัน แต่ไม่เกี่ยวกับเรื่องรถยนต์นะครับ
Hybrid จะเป็นวัสดุที่สังเคราะห์ขึ้นมาโดยจะนำคุณสมบัติที่ดีของ PU กับ ซิลิโคนมารวมกัน โดยจะมีราคาแพงลิบลิ่วชนิดหาที่เปรียบมิได้