ผู้เขียน หัวข้อ: สั่งคอนกรีตสำเร็จ หรือสั่งปูน ทราย และหิน มาผสมเอง ต้องคำนวณอย่างไร  (อ่าน 1827 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ anastasia

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 107
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
 การสั่งคอนกรีตสำเร็จ หรือคอนกรีตผสมเสร็จมาใช้งาน เจ้าของบ้านสามารถคำนวณปริมาณคอนกรีตที่ต้องการสั่งได้โดยวัดพื้นที่และความหนาที่ต้องการเทในหน่วยเมตร (ม.) ตามสูตร
 
 กว้าง x ยาวx หนา = ปริมาณคอนกรีตที่ต้องสั่ง (หน่วยเป็น ลบ.ม. หรือนิยมเรียกว่า คิว ซึ่งย่อมาจากคิวบิกเมตร)
 
 เช่น พื้นที่จอดรถกว้าง 4 ม. ยาว 5 ม. เทคอนกรีตหนา 10 ซม. (0.1 ม.) จะได้ 5 x 4 x 0.10 = 2 คิว หรือ 2 ลบ.ม.
 
 ซึ่งการสั่งคอนกรีตผสมเสร็จมาส่งที่หน้างานนี้จะใช้รถโม่คอนกรีตวิ่งตรงจากโรงงานที่ใกล้เคียง มี 2 ขนาดคือ รถโม่ขนาดเล็ก สามารถบรรทุกคอนกรีตสูงสุดที่ 2 คิว และรถโม่ขนาดใหญ่ สามารถบรรทุกคอนกรีตสูงสุดที่ 5 คิว        นอกจากปริมาณคอนกรีตที่ต้องทราบแล้ว ต้องระบุประเภทงานด้วย เช่น คอนกรีตสำหรับเทเสาเข็ม ฐานราก เสา คาน พื้นภายในอาคาร หรือพื้นดาดฟ้า เป็นต้น เพราะการเทคอนกรีตในส่วนโครงสร้างที่กล่าวมานี้มีความแตกต่างกันที่ค่ากำลังอัด และค่าการยุบตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับวิศวกรเป็นผู้กำหนด

 
 ภาพ: การเทคอนกรีตเสาเข็มเจาะ 
ภาพ: แบบฟอร์มการสั่งคอนกรีต อ้างอิงข้อมูลจาก CPAC Application 

นอกจากนี้ผู้สั่งต้องระบุเวลา และรายละเอียดที่อยู่หน้างานให้ทางโรงงานทราบ เพื่อเจ้าหน้าที่จะผสมน้ำยาหน่วงคอนกรีตให้สัมพันธ์กับระยะเวลาและระยะทางการส่ง เพื่อป้องกันคอนกรีตเซตตัว ก่อนถึงหน้างาน ทั้งนี้เจ้าของบ้านต้องเตรียมพื้นที่ทางเข้า และจุดจอดลำเลียงคอนกรีตให้อยู่ในระยะปลอดภัยตามขนาดรถโม่ด้วย

ภาพ: ระยะปลอดภัยของรถโม่คอนกรีต        ส่วนการสั่งปูนซีเมนต์ ทราย และหินมาผสมเองที่หน้างาน จะมีอัตราส่วนผสมคอนกรีตที่ต่างกันออกไปตามการใช้งาน ดังนี้
 
        สูตร 1 : 2 : 4 เหมาะสำหรับงานโครงสร้างคอนกรีตทั่วไป เช่น พื้น เสา คาน ตอม่อ
        สูตร 1 : 3 : 5 เหมาะสำหรับเทคอนกรีตหยาบ ใช้ปรับระดับ หรืองานรับกำลังได้ต่ำ
        สูตร 1 : 1.5 : 3 เหมาะสำหรับงานถนน และโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรง
        สูตร 1 : 1.5 : 2 เหมาะกับงานโครงสร้างที่ต้องการความแข็งแรงและความทนทานมากขึ้น 
  ภาพ: ส่วนผสมคอนกรีต ปูน + ทราย + หิน และน้ำ (อาจใส่สารผสมอื่นๆ)         การคำนวณปริมาณ ปูนซีเมนต์ ทราย และหิน สามารถยึดตามมาตรฐานจากกรมโยธาธิการและผังเมือง (http://www.dpt.go.th/phangnga/main/images/stories/pdf/Provisionordinance/Phangnga1.pdf) ซึ่งกำหนดปริมาณวัสดุที่ต้องใช้ผสมเป็นคอนกรีต 1 คิว ไว้ดังนี้
 
        คอนกรีตส่วนผสม 1 : 2 : 4
        ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (ตราช้าง) 324 กก.
        ทรายหยาบ 0.57 ลบ.ม.
        หิน (เบอร์ 1-2) 1.09 ลบ.ม.
        (น้ำประมาณ 180 ลิตร)
 
        คอนกรีตส่วนผสม 1 : 3 : 5 (คอนกรีตหยาบ)
        ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (ตราช้าง) 260 กก.
        ทรายหยาบ 0.62 ลบ.ม.
        หิน (เบอร์ 1-2) 1.03 ลบ.ม.
        (น้ำประมาณ 180 ลิตร)
 
        ตัวอย่างเช่น ต้องการใช้คอนกรีต 2 คิวในการเทพื้นที่จอดรถกว้าง 4 ม. ยาว 5 ม. เทคอนกรีตหนา 10 ซม. (0.1 ม.)  คอนกรีตสูตร 1 : 2 : 4 จะได้
 
        ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ (ตราช้าง) 324 x 2 = 648 กก. ซึ่งใช้ปูนประมาณ 13 ถุง (ถุงละ 50 กก.)
        ทรายหยาบ 0.57 x 2 = 1.14 ลบ.ม.

        หิน (เบอร์ 1-2) 1.09 x 2 = 2.18 ลบ.ม.
 
        ส่วนการสั่งซื้อทรายและหินนั้น โดยทั่วไปร้านค้าจะมีจำหน่ายทั้งแบบเป็นถุง (ถุงละ 25, 30 และ 35 กก.) และแบบสั่งเป็นคิว ซึ่งหากใช้ปริมาณมากแบบถุงจะไม่คุ้มค่าเพราะมีราคาสูงกว่า ส่วนการสั่งเป็นคิวหากเป็นรถ 6 ล้อจะจัดส่งได้สูงสุดเที่ยวละ 5 คิว ซึ่งบางร้านสามารถสั่งทรายและหินรวมกันมาในรถคันเดียวได้ เช่น สั่งซื้อ ทราย 2 คิว และหิน 3 คิวรวมกัน ทั้งนี้สามารถสอบถามรายละเอียดการสั่งซื้อโดยตรงจากร้านขายวัสดุก่อสร้าง
  ภาพ: หลักการคำนวณปริมาณคอนกรีต 2 คิว ตามสูตร 1:2:4 โดยใช้ภาชนะในการชั่งน้ำหนักส่วนผสมเดียวกัน เช่น บุ้งกี๋ หรือ ถัง เป็นต้น  ภาพ: การผสมคอนกรีตหน้างาน โดยวิธีผสมด้วยมือ ภาพ: เครื่องผสมคอนกรีต แบบ Pan Mixer Tip: คอนกรีตที่ผสมเองหน้างานจะเหมาะกับงานปริมาณน้อย หรือมีพื้นที่ที่ไม่สะดวกต่อการลำเลียงคอนกรีตด้วยรถโม่ ส่วนคอนกรีตผสมเสร็จซึ่งควบคุมคุณภาพและมาตรฐานคอนกรีตได้คงที่กว่า จะเหมาะกับงานปริมาณมาก มีการวางแผนการทำงานที่แน่นอน และมีพื้นที่หน้างานที่เข้าถึงได้สะดวก
 
 ขอบคุณข้อมูลจาก CPAC

http://www.scgbuildingmaterials.com/th/LivingIdea/Maintenance/Calculate-Amount-of-Ready-Mix-Concrete.aspx