ผู้เขียน หัวข้อ: หลังคารั่วปัญหาที่แก้ไม่หาย ซ่อมแล้วซ่อมอีกก็ยังรั่วเหมือนเดิม  (อ่าน 1076 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ anastasia

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 107
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ปัญหาหลังคารั่ว จัดเป็นปัญหาที่สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับเจ้าของบ้านได้ไม่น้อย เพราะเป็นปัญหาที่แก้ไม่ค่อยหาย แก้ไม่ตก แก้แล้วแก้อีก รั่วแล้วรั่วอีก บางบ้านจ้างช่างมาซ่อม 3-4 รอบ ใช้ได้ไม่นานก็กลับมารั่วอีก เสียเงินฟรีแท้ๆ
 
 
 วันนี้Homeenrichได้รวบรวมสาเหตุของปัญหาหลังคารั่วพร้อมกับวิธีแก้ไขเบื้องต้นที่เจ้าของบ้านควรรู้ เผื่อว่าไม่อยากจะจ้างช่างมาซ่อมให้เสียอารมณ์อีกแล้ว อยากลองซ่อมเองดูบ้าง เอ้า!อย่ารอช้ามาดูกันดีกว่า
 
 
สาเหตุการรั่วของหลังคา
  น้ำรั่วจากตัวครอบหลังคา height=240
    1. รั่วมาจากตัวครอบสันหลังคา
 การรั่วลักษณะนี่เกิดจากการที่ปูนที่อยู่ใต้ตัวครอบสันหลังคามันเกิดแตกออก ซึ่งอาจจะเกิดจากการถูกฝนกัดเซาะเป็นเวลานาน หรือช่างที่ทำอุดปูนไว้ไม่ดี พอนานวันเข้าก็อาจจะเสื่อมไปตามกาลเวลา พอฝนตกลงมาหนักๆ น้ำก็จะรั่วผ่านช่องว่างที่แตกนี้เข้ามาได้
 
 วิธีการแก้ไข
 
 ให้ไปหาซื้อปูนแบบนอน-ชริงค์มาอุดรอยแตกระหว่างตัวครอบหลังคาและหลังคา อุดให้สนิทไม่ให้เหลือช่องโหว่ไว้อีก จากนั้นหาน้ำยาอะคริลิคมาทาทับลงไปบริเวณที่ทาปูนไว้เพื่อเป็นการเพิ่มการ ป้องกันน้ำอีกชั้นหนึ่ง แค่นี้ก็หมดปัญหาหลังคารั่วซึมจากตัวครอบสันหลังคาแล้ว
 
 
 
น้ำรั่วมาจากโครงหลังคาผุหรือแอ่น height=240

 
  2. รั่วมาจากโครงหลังคาผุหรือแอ่น
 อีกจุดที่มักจะเป็นสาเหตุการรั่วของหลังคาบ้านเก่าที่สร้างมานานแล้วหลายปี ก็คือน้ำรั่วเพราะเกิดช่องว่างระหว่างโครงหลังคากับกระเบื้อง สาเหตุเกิดจากโครงหลังคาไม่ว่าจะเป็นไม้หรือเป็นเหล็กมันเกิดผุพัง หรือแอ่นไปตามกาลเวลา ทำให้กระเบื้องที่เคยเรียงต่อกันอย่างแนบสนิทเกิดช่องโหว่ให้น้ำไหลซึมเข้า มาได้
 
     วิธีการสังเกตอาการรั่วแบบนี้ทำได้ไม่ยาก แค่พยายามสังเกตแสงที่ลอดส่องเข้ามาผ่านช่องกระเบื้องในบ้าน ถ้ามีแสงลอดผ่านเข้ามาช่องไหน ก็แสดงว่าช่องนั้นนั่นแหละมีปัญหา
 
 วิธีการแก้ไข
 
 โครงหลังคาเหล็ก
  หากเป็นโครงหลังคาเหล็กให้แก้ไขด้วยการขัดสนิมออกก่อน จากนั้นก็หาเหล็กแผ่นมา 2 แผ่นนำมาประกบขนาบโครงเก่าและใช้น็อตขันติดให้แน่น ถ้าโครงเหล็กเก่ามันทรุดตัวลงมาก็อาจจะหาไม้ไปเค้ามันก่อนเพื่อให้โครงเก่า มันอยู่ในตำแหน่งเดิมก่อน จากนั้นจึงค่อยเอาแผ่นเหล็กที่เตรียมไว้ไปดามอีกที
 
 
 โครงหลังคาไม้
  โครงหลังค้าไม้ก็จะทำเหมือนๆกับโครงหลังคาเหล็ก ก็คือไปหาไม้แผ่นขนาดพอเหมาะมา 2 แผ่น เพื่อเอามาประกบกับไม้ที่ผุ แต่ก่อนที่จะประกบไม้เข้าไปใหม่ให้ตัดไม้อันเก่าที่ผุออกก่อน แล้วค่อยเอาไม้แผ่นใหม่เข้าไปประกบ จากนั้นก็ใช้น็อตขันให้แน่น ดามโครงหลังคาขึ้นไปให้ติดกับกระเบื้อง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดช่องว่างระหว่างกระเบื้อง กันน้ำรั่วเข้าบ้าน
 
 
 
น้ำรั่วมาจากรางรับน้ำตะเข้ผุ height=179

 
  3. รั่วมาจากรางรับน้ำตะเข้ผุ
 อีกจุดหนึ่งของหลังคาบ้านที่มีโอกาสรั่วได้ก็คือ รางรับน้ำตะเข้ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาจากสังกะสี พอโดนน้ำบ่อยๆเข้าก็จะผุกร่อนไปตามกาลเวลา หรือบางทีอาจเกิดจากปีกของรางรับน้ำตะเข้มันสั้นไป ทำให้เวลาที่ฝนตกและมีลมพัดแรงน้ำอาจจะไหลซึมผ่านหลังคาเข้ามาได้ง่าย
 
 วิธีแก้ไข
 
 ให้ทำการเปลี่ยนรางรับน้ำตะเข้ใหม่ โดยให้รางมีความกว้าง 20 cm และมีความลึกอย่างน้อย 5 cm ขึ้นไป ส่วนปีกของลางนั้นควรยาวอย่างน้อย 20 cm ขึ้นไป เพื่อให้สอดเข้าไปในกระเบื้องได้ลึกๆ จะได้ไม่ทำให้น้ำตีเข้ามาที่รอยต่อได้
 
 
 
รั่วจากการขึงเสาอากาศขนาดสูง height=320

 
  4. รั่วจากการขึงเสาอากาศขนาดสูง
 อีกจุดที่เราอาจทำให้หลังคารั่วแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์นั่นก็คือ จุดที่เราใช้ขึงเสาอากาศ หรือเสาทีวีเอาไว้ เนื่องจากการปักเสาทีวีขนาดสูงบนหลังคานั้นจำเป็นต้องมีลวดสลิงมาเกี่ยวกับ ชายกระเบื้องประมาณ 3-4 จุด เพื่อป้องกันไม่ให้เสาอากาศที่มีขนาดสูง ทีนี้พอเวลาฝนตกลมพัดแรงๆ ลวดสลิงที่ขึงไว้มันก็จะไปดึงชายหลังคา ถ้าหากหลังคามันยึดกับโครงไว้ไม่ดี หรือน็อตที่ยึดหลังคาไว้มันหลวม หลังคาก็อาจจะถูกงัดขึ้นมาและเกิดการรั่วซึมได้
 
 วิธีแก้ไข
 
 ให้ลดเสาอากาศให้สั้นลง และเอาลวดสลิงที่ขึงไว้ออกก่อน จากนั้นให้จัดการขันกระเบื้องกับแปรด้วยสกรูหรือมัดด้วยลวดให้แน่หนา จากนั้นค่อยเอาเชือกสลิงมาขึงเสาอากาศใหม่ แค่นี้ก็สามารถป้องกันการรั่วซึมของหลังคา จากการตั้งเสาอากาศได้แล้ว
 
 
     นี่ก็เป็นสาเหตุและวิธีการแก้ไขหลังคารั่วเบื้องต้นที่ เจ้าของบ้านควรรู้เอาไว้ เผื่อวันไหนฝนตกหนักๆ น้ำเกิดรั่วเข้าบ้านจะได้หาทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ นอกจากนี้ยังช่วยประหยัดค่าช่างได้อีกด้วย หลังคาไม่รั่วตังค์ก็ไม่เสีย โอ้!อะไรจะดีขนาดนั้น


ที่มา: http://homeenrich.blogspot.com/2013/10/roof-leaks.html#
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 10 ธันวาคม 2016, 22:35:11 โดย anastasia »