ประวัติ Sound Cardก่อนหน้าที่จะมี Sound Card นั้น PC ในสมัยแรก ส่งเสียงได้เพียงจาก Speaker ที่ต่อจาก
Mainboard เท่านั้น ที่เราได้ยินเสียงปี๊ปๆ ตอนเปิดเครื่องนั่นแหละ เรียกว่า Beeping Speaker
โดยเสียงที่ส่งออกนั้น ลองจินตนาการถึงเสียงปี้บๆๆๆ ตอนเปิดเครื่องแล้วเอามาเรียงเป็นทำนอง
ดูละกัน และหากมีผู้ที่เคยเล่นเกม SimFarm หรือ SimAnt ละกัน น่าจะจำกันได้ (ถ้าเคยเล่น 2
เกมที่ว่ามา แสดงว่าอายุอานามแต่ละท่านคงจะไม่ใช่น้อยๆ กันแล้ว ^^ )
Sound Card หรือที่เรียกในสมัยแรกๆ กันว่า Sound Board นั้น ได้ถูกพัฒนาขึ้น
และสามารถวางจำหน่ายได้เป็นเจ้าแรกโดย บริษัท Ad Lib.ซึ่งได้ผลิตและส่งให้เป็น OEM
เพื่อนำไปใช้ใน PC ของ IBM ในช่วงปี 1988 โดยในช่วงแรกนั้น AdLib ใช้ Sound Chip ของ
Yamaha YM3812 ทำงานบน slot ISA 8 bit ซึ่งได้กลายเป็นมาตรฐาน และถือเป็นจุดกำเนิด
ของคำว่า Multimedia ใน PC สืบมา
ในช่วงแรกนั้น ผู้ผลิตที่เน้นตลาดด้านนี้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดมีสองรายใหญ่
ซึ่งนับว่าเป็นผู้บุกเบิกและถือเป็นมาตรฐานของ Sound Card ใน PC ยุคปัจจุบันนี้ คือ
Creative และ Yamaha
ADLib Music Synthesis ในยุคแรก
การทำงานของ Sound Card เมื่อข้อมูลจากภายนอกถูกนำเข้าโดยผ่านทางช่องรับสัญญาณเช่น Line-in หรือ Microphone
สัญญาณที่ถูกนำเข้าจะมีรูปแบบเป็นสัญญาณเสียงหรือก็คือสัญญาณ Analog ซึ่งเป็นคลื่นเสียง
ที่มีความถี่ ( Frequency ) และ ความกว้าง ( Amplitude ) เมื่อสัญญาณถูกส่งมาถึงในส่วนแรก
คือภาค ADC ( Analog-to-Digital Converter ) ในขั้นตอนนี้ ADC จะทำการแปลงสัญญาณให้
เปลี่ยนไปอยู่ในรูปของ Binary ซึ่งเป็นรูปแบบของสัญญาณ Digital ( มีค่าเป็น 0 และ 1 )
จากนั้น ข้อมูล Binary จากภาค ADC จะถูกส่งต่อไปให้กับภาค DSP ( Digital Signal Processor )
เพื่อทำการประมวลผล ในขั้นตอนนี้ DSP จะทำการบีบอัดข้อมูลที่ได้รับมาให้มีขนาดเล็กลงก่อน
และทำการส่งต่อไปให้กับ CPU เพื่อทำการประมวลผลตามคำสั่งต่อไปว่าจะนำไปจัดเก็บลงในส่วน
บันทึกข้อมูลหรือส่งข้อมูลเพื่อใช้งานต่อ
เมื่อเราต้องการนำข้อมูลเสียงที่ถูกจัดเก็บไว้ในรูปแบบ Digital ไปใช้งานไม่ว่าจะเป็น จาก CD ,
Harddisk , หรืออุปกรณ์บันทึกข้อมูลต่างๆ ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกส่งผ่านบัสของระบบไปยัง CPU
ทำการจัดส่งไปให้ภาค DSP ทำการคลายการบีบอัดเสียก่อน แล้วจึงทำการส่งข้อมูลต่อไปยัง
ภาค DAC ( Digital-to-Analog Converter )
ภาค DAC จะทำการแปลงสัญญาณที่ได้รับมาซึ่งอยู่ในรูปแบบ Binary ที่คลายการบีบอัดแล้วให้
กลับไปอยู่ในรูปแบบของสัญญาณคลื่นเสียง ( Analog ) แล้วส่งต่อไปให้กับส่วนรับสัญญาณปลาย
ทาง ไม่ว่าจะเป็น ภาคปรี ( PreAmplifier) หรือ ภาคขยาย ( Amplifier ) หรือ ลำโพงและหูฟังต่อไป
ดังนั้น ประสิทธิภาพในส่วนการทำงานใดๆ ก็ตามของ Sound Card ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติเฉพาะของ
อุปกรณ์ในวงจรแต่ละชิ้น กระแสไฟเลี้ยง เส้นทางการเดินของไฟฟ้าและสัญญาณ รูปแบบวงจรและ
จุดเชื่อมต่อต่างๆ ล้วนมีผลให้เกิดลักษณะเสียงที่แตกต่างกันออกไป โดยเฉพาะช่วงการทำงานและ
เดินทางของคลื่นเสียงในรูปแบบ Analog ซึ่งเป็นสัญญาณที่สามารถเปลี่ยนแปลงและผิดเพี้ยนจาก
ผลกระทบและองประกอบต่างๆ ได้โดยง่าย ทำให้ Sound Card แต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ ให้ลักษณะ เด่น
ด้อย แต่ละอย่างไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะเลือกใช้ตัวไหน อย่างไร ให้เหมาะสมกับความ
ต้องการของแต่ละบุคคล ทั้งเรื่องแนวเสียง ความสามารถ และราคา
ในปัจจุบัน External DAC หรือที่เรียกสั้นๆ เป็นที่เข้าใจ ว่า DAC เริ่มแพร่หลายเป็นที่นิยมมากขึ้น ใช้
การเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ทั้งผ่านสาย USB หรือ Coax หรือบางตัวเชื่อมต่อได้ทั้ง 2 แบบ ยิ่งถ้า
จุดประสงค์ของผู้ที่ต้องการนำไปใช้งานเน้นด้านการฟังเพลงเป็นหลักแล้วละก็ คงมีหลายๆ ท่านให้
คำแนะนำว่าเลือก DAC ดีกว่า Soundcard เพราะ DAC คืออุปกรณ์สังเคราะห์และประมวลผลทางเสียง
ที่ผลิตขึ้นเฉพาะทางเพื่อการแปลงสัญญาณ Digital to Analog เป็นหลัก บางรุ่นบางตัวอาจมีเสริมใน
ด้านภาค Pre หรือ ADC เข้าไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้มีภาคส่วนอื่นมากมายเพื่อหวังให้ใช้งานได้อย่างครอบคลุม
และคำนึงถึง Interface การติดตั้งบน Slot ในเครื่องคอมพิวเตอร์เหมือนกับ Soundcard จึงสามารถ
เน้นเรื่องอุปกรณ์ไปที่ภาค Digital to Analog Converter ได้เต็มที่ หากถ้าคิดถึงหน้าที่โดยหลักของ
DAC ระดับเริ่มต้นที่ราคาไม่แพงมาก เทียบกับ USB Soundcard แบบ 2 ชาเนล ที่เน้นการทำงานเพียง
แค่ภาค DAC-ADC แล้วละก็ จะเรียก USB Soundcard ตัวนั้นว่า DAC หรือ จะเรียก DAC ตัวนั้นว่า
Soundcard มันก็คงไม่ต่างกัน เพราะ Soundcard สมัยนี้ ถึงมันจะยังมีคำว่า Card พ่วงท้ายอยู่ มันก็ไม่
จำเป็นต้องติดตั้งบน Mainboard เสมอไปเหมือนสมัยก่อนเท่านั้นเอง
Sound Card มีความจำเป็นหรือไม่ ? ปัจจุบัน Mainboard ของเครื่อง PC แทบทุกตัว ล้วนติดตั้งวงจรแสดงผลการประมวลและส่งออกของเสียง
มาในตัวเองทั้งสิ้น หรือที่เรียกกันว่า Sound on Board ดังนั้น ความจำเป็นในการซื้อ Sound Card มาใช้งานจึงลดความจำเป็นลง หรือบางคนอาจคิดว่าไม่จำเป็นอีกต่อไป ก็ในเมื่อมีภาครับ-ส่งสัญญาณเสียงอยู่แล้ว
แล้วยังจะต้องซื้อ Sound Card มาใช้งานให้ทับซ้อน สิ้นเปลืองสตางค์อีกทำไม เมื่อมันก็ทำงานเหมือนๆ กัน
มาถึงจุดนี้ คงต้องถามตัวเองแล้วละ ว่า เราใส่ใจกับเสียงที่อยากได้ยินนั้นแค่ไหน ?
- ถ้าคุณรู้สึกว่า เสียงที่ได้จาก เพลง หนัง ละคร ไม่ว่าจะฟังจาก คอม วิทยุ เครื่องเล่น CD โทรทัศน์ ทุกอย่างมันก็เหมือนๆ กัน ฟังรู้เรื่องว่าเป็นเสียงอะไร ต่างกันแค่เสียงดัง หรือเสียงเบาเท่านั้น - หากเป็นเช่นนั้น สรุปได้ว่า Sound Card นั้น ไม่มีความจำเป็นกับคุณเลย
- แต่ถ้าคุณรู้สึกถึงว่า เสียงที่ได้ยินจากแต่ละเครื่องเล่น แต่ละอุปกรณ์ คอมแต่ละเครื่อง มีความแตกต่างกัน
อันนั้นเบสหนักสะใจ อันโน้นเสียงโปร่งๆ ปิ้งๆ ฟังสบาย อันนี้เสียงหวาน นิ่มนวล ฯ - แบบนี้ Sound Card
อาจมีส่วนช่วยคุณได้ เพื่อให้ได้เสียงที่ออกจากระบบคอมพิวเตอร์เป็นไปในแบบทีชอบหรือต้องการมากขึ้น
แล้วเสียงที่ได้จาก Sound Card แต่ละรุ่น แตกต่างกันรึเปล่า มนุษย์เราแต่ละคน มีสัมผัสและความชอบใน รูป รส กลิ่น เสียง ที่แตกต่างกันออกไป ถ้าดูรูปภาพ 1 ภาพ
แต่ละคนมองแล้วคงมีทั้งบอกว่าสวยและไม่สวย ,บางคนชอบรสเปรี้ยว บางคนชอบรสหวาน , กลิ่นทุเรียน
บ้างว่าหอม บ้างว่าเหม็น , แน่นอน เสียงก็เช่นเดียวกัน มิเช่นนั้น ทำไมจึงมีดนตรีหลายแนว หลายจังหวะ พร้อมทั้งเครื่องดนตรีอีกไม่รู้กี่ชิ้น
อุปกรณ์และรูปแบบวงจรบน Sound Card อาจมีความคล้ายหรือแตกต่างกันไป ตามแต่ละรุ่น แต่ละยี่ห้อ
ผลที่ได้นอกจากความแตกต่างของรูปแบบและราคาก็คือ คุณภาพ ความทนทาน เอฟเฟค ความสามารถ
ในการตอบสนองย่านความถี่ต่างๆ ฯลฯ การจะเลือกให้เหมาะสมกับความต้องการไม่ว่าจะด้วยความชอบ
หรือการนำไปใช้งาน ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล Sound Card รุ่นนั้น อาจจะมีคนบอกว่าดีอย่างนั้น ดีอย่างนี้
พอซื้อตามที่เค้าว่ามา เพราะคิดว่าเสียงจะดีขึ้น อาจจะกลายเป็นว่าหลอกตัวเอง หรือ กลายเป็นเสียงไม่ดี
ไปเลยก็ได้ Sound Card บางตัวให้เสียงเบสทุ้มหนัก บางตัวให้เสียงสดใส บางตัวเน้นรายละเอียดเสียง
เยอะแยะมากมาย ถ้าอยากได้ Sound Card ที่ถูกใจตัวเอง สมกับคำว่า
เสียงดี จึงควรจะรู้ความต้องการ
ที่แท้จริงของตัวเองก่อน ว่าต้องการอะไรจาก Sound Card ที่จะเลือกใช้ มิใช่เพียงเห่อไปตามกระแสและ
คำชม ส่วนรุ่นไหน ยี่ห้อไหนที่จะตรงกับความต้องการของตัวเอง ก็หาข้อมูล ความเห็นจากผู้เคยใช้งาน
และโอกาสลองฟังด้วยตัวเองต่อไป
การพิจารณาเลือกซาวด์การ์ด - บางคนเลือกตามกระแสนิยม รุ่นใหม่ ชื่อเสียง อย่างนี้คงไม่มีปัญหาอะไร เมื่อได้ลองด้วยตัวเอง ก็จะรู้ได้เองเช่นกัน
- บางคนเลือกตามแนวเสียงที่คิดว่า Sound Card ตัวนั้นๆ จะตอบสนองแนวเสียงที่ตัวเองต้องการได้ ดังนั้น
ขึ้นอยู่กับ งบประมาณ และการศึกษาจากความคิดเห็นของผู้เคยใช้งานโดยอิงกับแนวเสียงที่ผู้เคยใช้งานนั้นชอบด้วย
การวิเคราะห์จากรูปแบบวงจรและอุปกรณ์ที่ใช้ เพื่ออ้างอิงแนวเสียงสำหรับผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับวงจรอิเล็คโทรนิค
เครื่องเสียง หรือถ้าเป็นไปได้ดีที่สุดคือหาโอกาสลองฟังด้วยตัวเอง ทั้งนี้ก็แล้วแต่โอกาสจะเอื้ออำนวย
- บางคนเลือกตามจุดประสงค์ที่จะนำไปใช้งาน กรณีนี้ถือว่าอาจจะง่ายที่สุด เพราะโดยหลักแล้ว ความต้องการ
จะขึ้นอยู่กับสเปคและความสามารถของ Sound Card เป็นหลัก ซึ่งในส่วนนี้ สามารถอ้างอิงจากข้อมูลผลิตภัณฑ์
คู่มือ ผู้ผลิตหรือผู้จำหน่ายได้โดยตรง
- บางคนเลือกโดยมองคุณสมบัติในการรองรับเสียงแบบ Multi-Channel
อย่าง Dolby และ DTS ประกอบในการตัดสินใจด้วย เช่น ถ้าบนกล่องบรรจุภัณ
ฑ์หรือบนการ์ดมีการระบุ
สัญลักษณ์เหล่านี้แล้ว จะทำให้เสียงที่ได้ในการใช้ดูหนัง เล่นเกม ดีขึ้น โดยผู้ผลิตการ์ดเสียงเองก็มอง
ในจุดนี้ไว้สำหรับใช้เป็นจุดขายของตัวการ์ดเช่นกัน ใส่ความสามารถด้านนี้ ด้านนั้น พิมพ์ระบุสัญลักษณ์
Dolby , DTS , Dolby Digital Live , DTS Connect และอื่นๆ เยอะแยะลงบนสินค้า กรณีผู้ที่มีความรู้
ศึกษาข้อมูลต่างๆ มาดีแล้ว มองเห็นข้อเท็จจริงในการตัดสินใจเลือกซื้อ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร ถูกใจบ้าง
ไม่ถูกใจบ้าง ปล่อยต่อ/ซื้อใหม่ ค่อยมาว่ากันอีกที แต่สำหรับผู้ที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในจุดนี้ .....
..... มาทำความรู้จักกับ Dolby และ DTS กันนิดๆ หน่อยๆ ดีไหม ..... Dolby ระบบเสียง Dolby เป็นระบบเสียงแบบ Multi Channel ที่ใช้กันทั่วไปในโรงหนัง และชุดโฮมเธียร์เตอร์ใน
บ้าน โดยแผ่น DVD และไฟล์หนังส่วนใหญ่จะบันทึกเสียงมาในระบบ Dolby Digital (ยังมีปลีกย่อยลงไป
เป็นส่วนย่อยต่างๆ อย่าง EX ,Surround EX ,Live , Plus ,True HD อีก) โดยมีรูปแบบการบันทึกเสียงลง
บนฟิล์มต้นฉบับโดยตรง ใช้ bit rate มาตรฐานคือ 320 kbit/s และสูงสุด 620 kbit/s ใช้การบีบอัดข้อมูล
เป็นไฟล์รูปแบบที่เรียกว่า AC-3 ( .AC3)
Dolby Digital Live หรือ DDL คืออะไร
คือการเข้ารหัสสัญญาณเสียง (Encoder) แบบ Real-Time จากคอมพิวเตอร์หรือเครื่องเล่นเกมส์ (Console)
ที่สนับสนุนเทคโนโลยีนี้ ให้กลายเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อจำลองและแปลงเป็นสัญญาณ Dolby Surround
( 16-bit/48 KHz at 640kbps ) ก่อนส่งผ่านช่องสัญญาณ Digital (Coax ,Optical) ไปให้ภาคถอดรหัส
(Decoder) อย่าง AVR หรือ Software แยกแยะตำแหน่งเสียงต่างๆ และส่งต่อไปให้ภาคขยายเสียงหรือลำโพง
Dolby EX เป็นเทคโนโลยีระบบเสียงที่พัฒนาขึ้นในมาตรฐานเดียวกับ Dolby Pro Logic (4.0 หรือ 4.1) เป็นระบบเสียง
รอบทิศทาง แต่เพิ่มในส่วน กลางหน้า และกลางหลัง (mono) ขึ้นมา โดยอาศัยการบันทึกเสียงให้เหลื่อมล้ำ
กันจากสัญญาณเสตอริโอของลำโพงคู่หน้าและคู่หลัง
DTS DTS คือ ชื่อเรียกระบบเสียง Surround อีกแบบหนึ่ง ที่มีข้อแตกต่างกับ Dolby คือ ระบบ DTS จะแยก
บันทึกตัวไฟล์เสียงออกจากฟิล์มต้นฉบับและจะทำงานร่วมกันโดยอ้างอิงตามรหัสเวลาที่ตรงกันจากทั้ง
2 ส่วน รูปแบบไฟล์เสียง DTS นั้นมีการบีบอัดข้อมูลไม่คงที่ ตั้งแต่ 1:1 ไปจนถึง 40:1 แต่ส่วนใหญ่มัก
ใช้การบีบอัดโดยเฉลี่ยะ ที่ 4:1 (ลดการบีบอัดในช่วงที่มีข้อมูลเสียงมาก และเน้นการบีบอัดในช่วงไม่มี
เสียง) ซึ่งน้อยกว่า Dolby(คงที่ 12:1 บีบอัดข้อมูลเท่ากันตลอด) ซึ่งจะทำให้ได้ bit rate ที่สูงกว่า และ
(เชื่อว่า)ทำให้ได้เสียงมีคุณภาพมากกว่า bit rate สูงสุดของ Dolby อยู่ที่ 640 kbit/s ส่วน DTS อยู่ที่
754.5 kbit/s สำหรับแผ่น DVD และ 1,509.75 kbit/s สำหรับโรงหนัง แต่หากเปรียบเทียบในกรณีแผ่น
DVD ที่วางจำหน่ายทั่วไป บิทเรทมาตรฐานของระบบเสียง DTS ที่บันทึกมาจะอยู่ที่ 768 kbps ตอบสนอง
ช่วงความถี่ 3h - 19khz ,ส่วน Dolby จะอยู่ที่ 448 kbps ตอบสนองช่วงความถี่ 3h - 20khz
แล้ว
DTS Connect คืออะไร
DTS Connect คือชื่อที่ใช้ระบุว่า อุปกรณ์ชิ้นนั้นสามารถรองรับสัญญาณเสียงใน PC ซึ่งเป็นรูปแบบ PCM
มาทำการแปลงสัญญาณแล้วเข้ารหัส ( Endoder ) ให้เป็นสัญญาณแบบ DTS เพื่อที่จะสามารถส่งต่อไป
ให้ภาคถอดรหัส ( Decorder ) หรืออุปกรณ์ต่อพ่วง( เช่น AVR ) ผ่านช่องส่งสัญญาณเชื่อมต่อแบบ Digital
( S/pdif หรือ Optical ) รับสัญญาณแล้วทำการจำลองแยก Channel ให้กลายเป็นเสียง Surround แบบ
DTS อีกที โดยความหมายของคำว่า DTS Connect นั้น จะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติ DTS 2 ส่วนคือ
DTS Interactive และ DTS Neo:PC
-
DTS Interactive : คือการเข้าสัญญาณระบบเสียงแบบ 5.1 ch. จำกัด PCM สูงสุดที่ 48kHz/24bit, ทำให้
ไม่สามารถสนับสนุนมาตรฐาน DTS 96/24 ได้
-
DTS Neo:PC : คือเทคโนโลยีที่คล้ายกับ DTS Neo:6 แปลงสัญญาณ Stereo 2 ch ให้กลายเป็น 5.1 หรือ
6.1 ch จากไฟล์เสียงที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์เช่น MP3 ,WMA ,เสียงจากเกมส์ ซึ่งหากแยกสัญญาณเป็น 7.1 ch
ในส่วนลำโพงคู่หลังจะได้รับสัญญาณเสียงแบบ mono หรือกลายเป็น เซ็นเตอร์/หลัง โดยปริยาย
มาถึงตรงนี้ หาก Sound Card มีการระบุสัญลักษณ์หรือระบุความสามารถ
Dolby Digital Live หรือ DTS Connect เอาไว้แล้วละก็ นั่นหมายถึง การ์ดตัวนั้น
สามารถในการ Encoder คือรับสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์มาเพื่อเข้า
รหัสให้เป็นรูปแบบสัญญาณเสียง Surround หรือ
ReEndoder คือแปลงสัญญาณ 2 channel Up Mix ให้กลาย
เป็น multi-Channel แล้วส่งต่อให้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงหรือ Software ทำการถอดรหัสก่อนจะกลายเป็นเสียงรอบทิศทาง
ไม่ใช่ว่าการ์ดตัวนั้นสามารถ Decoder หรือถอดสัญญาณเพื่อแสดงผลเป็นเสียงรอบทิศทางได้ด้วยตัวเอง
credit:
leolandss http://www.overclockzone.com/forums/showthread.php/1027580-%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87-Sound-Card