ภัยในโลกไซเบอร์นั้นมีอยู่มากมายหลายรูปแบบ ทั้งที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตท่องเว็บไซต์ทั่วไป หรือกับผู้ที่สร้างเว็บไซต์เอง แต่ก่อน Hacker อาจจมุ่งโจมตีไปยังเว็บไซต์ที่จำเพราะเจาะจง แต่ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่จะใช้การโจมตีแบบสุ่มไป คือกวาดไปหมด ไม่ระบุเจาะจง มีทั้งเจาะได้และไม่ได้ โดยเฉพาะเว็บไซต์ที่สร้างจาก WordPress นั้นจะโดนมากที่สุด เพราะมีคนใช้งานมากที่สุดนั่นเอง การแฮคเว็บไซต์มีตั้งแต่ระดับไม่รุนแรงมาก ส่วนใหญ่จะเป็นการฝังสคริปต์ สร้าง backlink ส่งสแปมเมล ถ้าในขั้นรุนแรงก็อาจจะเป็นการขโขมข้อมูลสำคัญทางการเงินในเว็บที่เป็น ecommerce website
8 ข้อสังเกตง่ายๆ ว่าเว็บคุณอาจจะโดนแฮค
หน้า Homepage หรือหน้าอื่นๆ มีข้อมูลแปลกๆ ที่เราไม่ได้เป็นคนเขียนเองเช่น มีข้อความ โฆษณา มีรูปภาพ แบนเนอร์ต่างๆ ที่เราไม่เคยสร้างไว้หรือไม่เคยสมัครไว้มาก่อน บางทีก็อาจจะมีการสุ่มการแสดงผลด้วย บางทีแสดงเฉพาะในมือถือก็มี อันนี้ก็ลองเช็คกันดูค่ะ หวังว่าคงไม่เจอโฆษณายาไวอากร้า สงสัยคุณผู้ชายมีปัญหากันเยอะ
Traffic พุ่งสูงเป็นพิเศษในบางหน้าแฮคเกอร์พวกนี้มักไม่ลงทุน แต่ใช้เว็บเราเป็นตัวแสดงข้อมูลของพวกเขาแทน โดยการใช้หน้าเว็บของเราเป็นพื้นที่โฆษณาของตัวเอง แล้วกระจายไปยังแหล่งต่างๆ ล่อให้คนเข้ามาดูโฆษณาหรืออะไรก็ตามที่เขาต้องการ เราก็จะสูญเสียแบนวิธไปโดยใช่เหตุ ระบบทำงานหนักไปโดยใช่เหตุ อันนี้ต้องดูดีๆ ว่าอาจะเป็นเพราะบางหน้ามีคนแชร์ไปบน Facebook หรือเปล่า แค่ลิงค์เดียวก็อาจจะพุ่งจนโฮ้สต์ล่มได้เลยสำหรับเพจที่มีแฟนคลับเยอะๆ
เว็บของเรามีการ Redirect ไปเว็บอื่นอันนี้ชัดเจนมากๆ แต่คนที่ไม่ค่อยได้เข้าไปเชคเว็บตัวเองเลยอาจจะไม่รู้ตัว ว่าเว็บของเรานั้นกลายเป็นแค่ทางผ่านเสียแล้ว โดยแฮคเกอร์จะทำการฝังสคริปต์ไว้ที่เว็บของเรา เมื่อคนเข้าชมเว็บของเรา ก็จะโดนย้ายไปที่เว็บของพวกเขาแทน เว็บวิชาการดีๆ อาจกลายเป็นเว็บ 18+ ได้ในพริบตา
การแสดงผลการค้นหาที่ไม่ตรงและไม่เกี่ยวข้องกับเว็บของเราแฮคเกอร์เปลี่ยนข้อมูลบางส่วนของเว็บ ซึ่งก็จะทำให้ search engine เช่น google เก็บข้อมูลเหล่านี้ไปด้วย
มีการสร้างไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่แปลกๆ ขึ้นมาทำให้แฮคเกอร์สามารถที่จะเกาะติดเราได้แน่นมากยิ่งขึ้น ต่อให้เราลบข้อมูลเหล่านั้นออกไปแล้ว แต่มันก็ยังสร้างขึ้นมาใหม่ได้ เพราะมีการสร้างไฟล์สำคัญไว้ในระบบของเราแล้ว หรือบางทีก็มีการสร้าง backdoor ที่เขาจะเข้ามาอีกเมื่อไหร่ก็ได้ ลองใช้โปรแกรม Ftp ดูก็ได้ว่ามีไฟล์ไหนที่ไม่น่าเกี่ยวข้องเพิ่มขึ้นมาบ้าง
มี User แปลกหน้าเพิ่มเข้ามาในระบบบางครั้งแฮคเกอร์ก็จะทำการเพิ่ม user เข้ามา เพื่อใช้สิทธิ์ในการเผยแพร่โพสต่างๆ บนเว็บของเราได้ หากเว็บใครไม่ได้เปิดรับสมัครยูสเซอร์อยู่แล้ว ก็แนะนำให้ปิดระบบนี้ไปเลยก็ได้ หากมีพวกชื่อแปลกๆ อีเมลแปลกๆ มาสมัคร ก็ลบไปได้เลย และแสดงว่าเว็บเราอาจจะมีช่องโหว่อยู่
การแจ้งเตือนจาก Browsersหากมีคนบอกคุณว่าขณะที่เข้าเว็บคุณแล้วเจอหน้าแดงๆ แจ้งเตือนว่าเว็บมีไวรัส ก็ควรจะรีบเชคและจัดการมันซะ เดี๋ยวคนเขาจะกลัวติดเชื้อจากเรานะ
วิธีการป้องกัน
เนื่องจากการแก้ปัญหานั้นยุ่งยากกว่าการป้องกันก่อนที่มันจะเกิด และยังมีความวุ่นวายกว่ามาก ดังนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการป้องกันก่อนที่มันจะเกิดขึ้น
เลือกโฮ้สต์อย่าเลือกแค่ราคาถูกและคิดว่าทุกโฮ้สต์ก็เหมือนกัน ของที่ราคาแพงกว่าบางเจ้านั้นก็อาจจะเพราะการลงทุนที่มากกว่าในเรื่องของทรัพยากรและระบบต่างๆ ด้วย โฮ้สต์ที่ดีก็ควรจะมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ระดับเซิฟเวอร์ด้วย เพราะบางทีการติดเชื้อที่เว็บเดียวอาจจะแพร่กระจายไปทั้งระบบ ควรสอบถามประสบการณ์การใช้งานจากคนอื่นด้วย บางที่อาจจะแค่เคยดี อย่าลืมในเรื่องของ Support เมื่อเกิดปัญหาขึ้นมา บางที่อาจจะปัดความรับผิดชอบกับเว็บเล็กๆ หรือเลี่ยงไม่ให้การช่วยเหลือ แบบนี้ถือว่าแย่ เพราะคุณไม่ได้มีใจรักในสิ่งที่ทำ แต่ทำเพราะเงินอย่างเดียว
ติดตั้งปลั๊กอินเกี่ยวกับความปลอดภัยWordPress มีปลั๊กอินเกี่ยวกับความปลอดภัยหลากหลายตัวให้เลือกใช้ มีทั้งการปรับแต่งระบบพื้นฐานของ WordPress เพื่อเลี่ยงการตกเป็นเป้าการโจมตี บล็อคการล็อคอินที่ไม่ปกติ ปกป้องและแจ้งเตือนเมื่อมีสิ่งผิดปกติ สร้าง firewall เพื่อกั้นการเข้าถึงจากแหล่งที่มาที่ผิดสังเกต เช่น Ninja Firewall (WP-Editrion), Securi, iTheme Security ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีเรื่องง่ายๆ ที่ช่วยให้เว็บเราแฮคได้ยากขึ้น อย่างการตั้งรหัสผ่านให้ยากๆ ไว้ก่อน
ใช้ธีมและปลั๊กอินที่ปลอดภัยดาวน์โหลดธีมและปลั๊กอินจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ จากแหล่ต้นฉบับโดยตรง ทั้งจาก worpress.org หรือเว็บไซต์ที่น่าเชื่อถือที่ทำธีมโดยเฉพาะ ไม่นำธีมจากแหล่งที่เอาของละเมิดลิขสิทธิ์มาปล่อยฟรีหรือให้ซื้อต่อในราคาถูกมาใช้บนเว็บที่จะต้องใช้งานจริง เพราะอาจจะติดมัลแวร์เพิ่มมาด้วย
อัพเดตสม่ำเสมอการเลี่ยงการอัพเดตไม่ใช่เหตุผลที่ดี เพราะหลายๆ ครั้งนั้นการอัพเดตเน้นไปที่การปิดช่องโหว่โดยตรง ทำให้เราพลาดการแก้ไขในจุดนี้ไป และบางทีจุดเล็กๆ เหล่านี้ก็อาจเป็นสาเหตุของปัญหาที่ใหญ่กว่าได้
หมายเหตุ : การโจมตีในลักษณะดังที่กล่าวมานี้ เป็นการโจมตี WordPress ทั่วไป ไม่ได้เกี่ยวกับการโจมตีแบบระบุเว็บโดยตรง เช่น DDos Attacks ที่ต้องใช้การป้องกันในระดับเซิฟเวอร์โดยตรงจึงจะได้ผล
credit :
https://secupress.me/10-signs-wordpress-website-hacked/ที่มา:
https://www.wpthaiuser.com/8-sign-your-website-got-hacked/