ผู้เขียน หัวข้อ: “คลายปมสงสัย เหตุใดจึงไม่ได้งาน”  (อ่าน 1475 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
“คลายปมสงสัย เหตุใดจึงไม่ได้งาน”
« เมื่อ: 22 พฤศจิกายน 2016, 13:13:59 »
 บทความนี้จะเป็นการรวบรวมประเด็นต่างๆที่จะสามารถคลายข้อสงสัยของผู้สมัครงาน ส่วนใหญ่ว่า เหตุใดจึงไม่ได้งานทำ และวิธีการปรับตัวเพื่อช่วยให้เป้าหมายในการหางานของคุณสำเร็จได้ง่ายขึ้น

ความเชื่อมั่นในตัวเองที่หายไป ความ กังวลเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตา หรือแม้กระทั่งความรู้ความสามารถของตัวเองว่าเหมาะสมกับงานนั้นๆ หรือไม่ ทำให้เกิดความประหม่าเมื่อถึงเวลาต้องนำเสนอตัวเอง หรือการแสดงออกทางสีหน้า แววตาที่เลื่อนลอย ขาดความมุ่งมั่น อาการประหม่า หรือตื่นเต้นในช่วงเริ่มต้นของการสัมภาษณ์เป็นเรื่องที่กรรมการพอจะเข้าใจ ได้ แต่หากอาการต่างๆ ยังคงแสดงให้เห็นอยู่ตลอดการสัมภาษณ์  ก็ย่อมส่งผลต่อการประเมินผลเพื่อรับคนเข้าทำงานเช่นกัน ผู้สมัครที่ว่างงานมาระยะหนึ่ง หรือถูกปฏิเสธจากหลายๆบริษัท ในเวลาใกล้เคียงกัน จะยิ่งเผชิญกับปัญหาขาดความมั่นใจได้มาก เมื่อทราบสาเหตุหลักๆแล้ว พึงเร่งแก้ไขให้ถูกจุด ก่อนปัญหาจะวนเวียนเป็นวัฎจักรที่บั่นทอนอนาคตด้านอาชีพของคุณต่อไป

เต็มไปด้วยความสงสัย แต่ไม่ใฝ่รู้   ใน ช่วงเวลาการพูดคุยกัน ผู้สมัครอาจมีช่วงที่ได้รับโอกาสให้สอบถามผู้สัมภาษณ์งานได้บ้าง แต่ไม่ได้หมายความว่า จะถามได้ทุกๆเรื่องที่อยากทราบ ผู้สมัครที่ถามเรื่องส่วนตัวของผู้สัมภาษณ์ ถามเรื่องความลับทางธุรกิจ  หรือแทนที่จะสอบถามเรื่องหน้าที่ความรับผิดชอบ แต่กลับสนใจอยากรู้เรื่องเงินเดือน สวัสดิการ  วันลาหยุด ลาพักผ่อน ลากิจ ลาป่วย มากเป็นพิเศษ เป็นการส่งสัญญาณถึงผู้คัดเลือก ให้ใส่คะแนนในทางลบคุณได้ง่ายๆ ในทางตรงข้ามหากคุณศึกษาข้อมูลของบริษัท หรือองค์กรนั้นๆ มาอย่างดี (โดยอาจดูจากเว็บไซต์ หรือวารสารขององค์กรนั้น)  จะช่วยลดข้อสงสัยต่างๆได้มาก แต่จะกลับได้ประเด็นที่น่าสนใจ เพื่อมาสอบถามผู้สัมภาษณ์ที่บ่งบอกว่าคุณ รู้จักองค์กรแห่งนั้นพอสมควร และเหมาะสมที่จะเข้ามารับผิดชอบในตำแหน่งที่คุณสมัครอย่างยิ่ง เช่น การนำเสนอโครงการหรือแผนงานที่คุณคิดไว้ ว่ามีโอกาสได้รับการสนับสนุนจากองค์นั้นมากน้อยเพียงใด นโยบายด้านการตลาดสำหรับลูกค้ากลุ่มต่างๆ ขององค์กร จะมีส่วนช่วยให้คุณและองค์กรบรรลุเป้าหมายร่วมกันได้อย่างไร เป็นต้น

ไม่ให้เกียรติสถานที่ ผู้ สมัครจำนวนมากไม่ให้ความสำคัญ หรือละเลยมารยาท ข้อพึงปฏิบัติพื้นฐานในการไปเยือนสถานที่ทำงานของผู้อื่น เช่น  มาไม่ตรงเวลานัด การแต่งกายที่ไม่รัดกุม หรือไม่เหมาะกับโอกาส เช่น ใส่ชุดนักศึกษา หรือเสื้อช็อป รองเท้าผ้าใบ มาสัมภาษณ์งาน นักศึกษาชาย ไว้หนวดเคราใส่ต่างหู หรือสวมกางเกงขาเดฟ ขณะนั่งรอสัมภาษณ์ก็พูดคุยกับเพื่อนด้วยความเฮฮา สนุกสนาน หรือคุยโทรศัพท์เสียงดัง ใช้ภาษาไม่สุภาพ สูบบุหรี่  เคี้ยวหมากฝรั่ง นั่งหลับระหว่างรอ แสดงอาการหงุดหงิดทางสีหน้า หรือทางวาจา กับเจ้าหน้าที่ของบริษัท

หาความพอดีไม่ได้ ผู้ สมัครส่วนหนึ่งมักจะสมัครตำแหน่งที่ระบุคุณสมบัติไว้สูงกว่าคุณสมบัติของตน เองมากๆ เช่น ต้องการผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในงานด้านนั้นๆ 5 ปี ขึ้นไปแต่ผู้สมัครไม่มี หรือระยะเวลาของประสบการณ์ไม่ถึง หรือจบการศึกษาในสาขาที่ไม่ตรงกับที่ประกาศรับ อีกกรณี คือ เป็นผู้สมัครที่มีคุณสมบัติสูงกว่าตำแหน่งที่สมัครไว้  เช่น ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ระดับต้น ต้องการผู้ที่เพิ่งสำเร็จการศึกษา แต่ผู้สมัครมีประสบการณ์การทำงานมาหลายแห่งแล้ว ทำให้ผู้ที่คัดเลือกไม่พิจารณาใบสมัครของคุณ ทางออกที่ดี คือ คุณควรพิจารณาตำแหน่งที่ทางบริษัทแจ้งคุณสมบัติไว้ใกล้เคียงกับคุณสมบัติของ คุณมากที่สุด เพื่อไม่ให้เสียเวลาทั้งฝ่ายผู้สมัครและผู้คัดเลือก หากหาตำแหน่งที่คุณสมบัติใกล้เคียงกับคุณไม่ได้ แนะนำให้สอบถามโดยตรงกับ ฝ่ายบุคคล ของบริษัทนั้นๆ เพื่อขอคำแนะนำเรื่องงานที่เหมาะสมที่เปิดรับในตำแหน่งอื่นๆ ต่อไป

ไม่รอบคอบเรื่องเอกสาร  ใบสมัครที่เขียนด้วยลายมือที่อ่านยาก เต็มไปด้วยรอยลบ ขีดฆ่า หรือตัวสะกดที่ตกหล่น ผิดหลักไวยากรณ์ จะเป็นใบสมัครกลุ่มแรกๆ ที่ถูก “คัดออก” โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากคุณสมัครงานในตำแหน่งที่ต้องอาศัยความละเอียดรอบคอบสูง เช่น งานด้านการเงิน บัญชี ฝ่ายตรวจสอบ ด้านกฎหมาย เป็นต้น ผู้สมัครบางรายขาดความรัดกุม ในการเตรียมเอกสารการสมัครงาน เช่น ให้เอกสารไม่ครบ ใช้เอกสารที่ชำรุด เลอะเลือน สกปรก ในการสมัครงาน  ซึ่งมีผลอย่างมากต่อกรรมการในการตัดสินและประเมินความเหมาะสมในการจ้างงานคุณ

วิพากษ์วิจารณ์ไม่เลือกที่ผู้ สมัครบางท่านมีแนวคิดหรือได้รับคำแนะนำมาว่าต้องแสดงความเป็นตัวของตัวเอง กล้าคิด กล้าพูด กล้าทำ กล้าแสดงออก ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เป็นที่ต้องการของนายจ้างส่วนใหญ่ แต่การแสดงออกซึ่งความคิดเห็นบางครั้งควรมีขอบเขตความเหมาะสมของกาลเทศะด้วย ถึงแม้จะเป็นเรื่องจริงแต่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ หรือไม่เหมาะกับเวลาและสถานที่ ก็ควรงดเว้นที่จะพูดเช่น การตำหนิ สถานที่ทำงานที่เราไปสมัคร ในเรื่องเล็กๆน้อยๆ ไปจนถึงเรื่องระดับนโยบาย ย่อมมีผลให้ผู้ประเมินเข้าใจได้ว่า คุณไม่เหมาะสม หรือมีความยากลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรนั้นๆได้

ไม่มีวินัยในการหางาน   ผู้ สมัครงานหลายคนสมัครงานไว้ 1-2 แห่ง แล้วนั่งบ่นว่า ทำไมบริษัทต่างๆไม่เรียก ทำไมไม่ได้งานสักที โดยลืมนึกไปว่า บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการทำงาน ควรต้องมีความเพียร และมีวินัยในการสมัครงานมากเพียงใด หลักที่ควรยึดถือ คือ ตลาดแรงงานเป็นตลาดของนายจ้าง ที่มีสิทธิเลือก มีคนว่างงานมากกว่าตำแหน่งงานอยู่มาก อย่ารอเพียงความหวังและโชคช่วยคุณเองต้องสร้างเหตุปัจจัยให้ถึงพร้อมด้วย  เช่น สมัครอย่างมีเป้าหมาย เตรียมไว้หลายช่องทาง  มองทุกอย่างในแง่บวก  เป็นต้น


ที่มา: http://jobmarket.co.th/mustKnow/content_detail.php?dd=975