ผู้เขียน หัวข้อ: การหางานในช่วงวิกฤติภัยธรรมชาติ และคนตกงาน  (อ่าน 1454 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
 ในช่วงเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ หรือกระทั่งช่วงวิกฤติทางการเมืองหรือเศรษฐกิจก็ตาม ผลกระทบมักจะตามมาในหลากหลายด้าน รวมถึงสถานการณ์ที่ไม่ดีนัก ในส่วนของตลาดแรงงานด้วย ธุรกิจหลายแห่งได้รับความเสียหายต้องปลดคนงาน บางแห่งต้องย้ายฐานการผลิต ในขณะที่บางแห่งก็ขาดแคลนแรงงาน กำลังการผลิตไม่เพียงพอ กับคำสั่งซื้อ เป็นต้น ในบทความนี้จึงขอนำเสนอเกร็ดความรู้สำหรับน้องๆที่ต้องการจะหางาน ในช่วงภาวะสถานการณ์ไม่ปรกติเช่นนี้ ได้ลองนำไปปรับใช้กัน
 
  ประเมินสถานการณ์ พลิกวิกฤติให้เป็นโอกาส

1. ในช่วงวิกฤตินั้นคนมักจะลังเลที่จะเปลี่ยนงาน เพราะไม่มั่นใจในความไม่แน่นอนของสถานการณ์ต่างๆ ประกอบกับถ้ายิ่งเป็นช่วงปลายปีซึ่งโดยปรกติคนทำงานที่มีฝีมือดีๆ จะยังไม่เปลี่ยนงานช่วงนี้ เพราะรอโบนัส หรือรอเริ่มงานในช่วงต้นปีใหม่ เพื่อให้ได้อายุงานที่ใหม่เต็มปี ทำให้ผู้ที่สมัครงานในช่วงนี้มีโอกาสมาก เพราะมีตัวเปรียบเทียบน้อย ในขณะที่มีหลายแห่งมีตำแหน่งงานดีๆว่าง และอาจไม่ต้องการรอเวลาข้ามปีที่จะรับคน จึงเป็นโอกาสเหมาะที่น้องๆจะสมัครเข้ารับการคัดเลือกได้

2. ช่วงที่เกิดภัยธรรมชาติในหลายธุรกิจอาจมีการปลดคนงานเนื่องจากได้รับผลกระทบ ไม่สามารถดำเนินการผลิต หรือจำหน่ายสินค้าได้ตามปรกติ ในขณะเดียวกันในอีกหลายธุรกิจกลับตรงกันข้าม คือ ผลิตสินค้าไม่ทันขาย มีคำสั่งซื้อมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่น หลังอุทกภัยใหญ่ ธุรกิจรับเหมาและวัสดุเกี่ยวกับการก่อสร้าง ธุรกิจค้าปลีก อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เฟอร์นิเจอร์ของตกแต่งบ้าน การมองหางานในธุรกิจเหล่านี้ ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และมีโอกาสมากที่จะประสบความสำเร็จในช่วงนี้
 

 
  3. มีงานอีกหลายงานที่ต้องการรับผู้ที่จบการศึกษาใหม่ๆ ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ เพื่อเข้าไม่ว่าจะเป็นสายงานการตลาด การบริการลูกค้า การจัด Event งาน Freelance งานสายการโรงแรมและการท่องเที่ยว ถ้าน้องๆมีความสนใจ หมั่นหาข่าวสารทางเว็ปไซต์ หรือแม้แต่ทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ก็จะพบว่ามีงานที่น่าสนใจอีกเป็นจำนวนมาก
 

 4. ยอมรับข้อมูลที่ว่าความต้องการจ้างงานยังคงมีอยู่ แต่รูปแบบการจ้างอาจเปลี่ยนแปลงไป ในช่วงวิกฤติเราอาจเห็นการจ้างงานในแบบชั่วคราว การจ้างพนักงานสัญญาจ้าง แบบมีกำหนดระยะเวลา พนักงานโครงการพิเศษต่างๆ มาทดแทนตำแหน่งพนักงานประจำมากขึ้น เป็นข้อดีสำหรับน้องๆจบใหม่ ที่จะถือโอกาสในการได้เรียนรู้ และสัมผัสกับประสบการณ์งานที่หลากหลาย โดยไม่ยึดติดกับรูปแบบของงานประจำ เพื่อให้ค้นพบตัวเองว่าเหมาะกับงานประเภทไหนมากที่สุด เพื่อที่จะสามารถต่อยอดความรู้เพิ่มความชำนาญ ทักษะในสายอาชีพนั้นๆต่อไปในอนาคตได้

 
  เคล็ดไม่ลับเพื่อให้ได้งานในช่วงวิกฤติ

 1. หาโอกาสเข้าไปมีประสบการณ์ทำงานเล็กๆน้อยๆเบื้องต้นกับองค์กรต่างๆในสายงาน ที่เราสนใจก่อน เช่น ขอไปฝึกงาน ขอไปช่วยงานโครงการต่างๆ เพื่อให้ได้มีโอกาสเรียนรู้งาน เป็นการสั่งสมประสบการณ์ที่จะสามารถไปต่อยอดได้ หรือกรณีที่บริษัทเปิดรับพนักงานเพิ่ม เราก็จะเป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกๆที่จะทราบข่าว และมีโอกาสได้รับการคัดเลือกก่อน
 
 2. สร้างความสัมพันธ์ หาเครือข่าย ที่เกี่ยวข้องกับงาน องค์กร หรือบริษัทที่เราสนใจ เช่น เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือสังคม สมาคม ชมรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่คุณอยากร่วมงานด้วย เพื่อสร้างโอกาสทำความรู้จักกับพี่ๆพนักงานในบริษัทนั้น อันจะสามารถต่อยอดไปสู่การเป็นส่วนหนึ่งของที่นั่นได้
 

 3. ยืดหยุ่นต่อลักษณะงานที่หลากหลาย บางแห่งอาจยังไม่เปิดรับตำแหน่งงานที่เราสนใจโดยตรง แต่มีลักษณะงานที่ใกล้เคียง เราอาจพิจารณาทำไปก่อน เพื่อเป็นประสบการณ์ และอาจมีการสลับโยกย้าย สายงานภายหลังก็เป็นสิ่งที่สามารถทำได้
 
 4. ลดข้อต่อรองลงบ้าง เตรียมตัวเตรียมใจหากเงื่อนไขหรือข้อเสนอการจ้างอาจไม่ได้สวยหรูอย่างที่คิด ไว้ เนื่องจากช่วงนี้ตลาดเป็นของนายจ้าง เราจึงยังไม่สามารถตั้งข้อต่อรองได้มากนัก
 
 5. เป็นตัวของตัวเอง อย่าตัดสินใจเลือกสมัครงานตามเพื่อน โดยเฉพาะน้องๆที่จบใหม่ เพื่อนสมัครงานที่ไหนก็จะตามไปสมัครพร้อมๆกัน ทำให้โอกาสในการได้งานของเรา ก็จะน้อยลงไปด้วย บางคนยิ่งไปกว่านั้น คือทำประวัติส่วนตัวในรูปแบบที่เหมือนๆกันกับเพื่อนๆ โดยเปลี่ยนแค่ชื่อกับที่อยู่ และส่งไปสมัครบริษัทเดียวกัน ซึ่งในช่วงวิกฤตินี้ นายจ้างมักจะหาคนที่โดดเด่น โอกาสที่จะหันมามองสิ่งที่ไม่มีความแตกต่างจึงค่อนข้างน้อยมาก
 
 6. กระตือรือร้นที่จะทำงาน น้องๆบางคนที่ยังไม่เคยทำงานมาก่อน อาจไม่ได้ใส่ใจกับเรื่องนี้ ทางที่ดีคือ ควรแสดงความพร้อมที่จะทำงานโดยเร็วที่สุด โดยมีข้อแม้ ข้อต่อรองน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงการแสดงถึงความไม่พร้อม เช่น ถามฝ่ายบุคคลที่รับสมัครงานว่า เริ่มงานเดือนถัดไปได้หรือไม่ เพราะจะขอหยุดพักผ่อน หรือไปเที่ยวก่อน หรือสนใจถามถึงแต่เรื่องการลาพักผ่อน การลากิจ ลาป่วย หรือมาสายได้กี่ครั้งในหนึ่งเดือน ซึ่งเป็นการแสดงถึงการขาดความพร้อมที่จะทำงาน
 
 7. ฝึกทักษะในการสื่อสารเชิงบวก ในช่วงที่หลายๆคนเผชิญกับความเครียดทั้งจากภัยธรรมชาติ สภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ในยุคปัจจุบัน ทำให้หลายคนอาจเปลี่ยนเป็นคนอารมณ์เสียง่าย ฉุนเฉียว หรืออาจหดหู่ เศร้า หรือขาดชีวิตชีวาไปเลย ซึ่งมักจะแสดงออกทางสีหน้า แววตา น้ำเสียง และกิริยาอาการต่างๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก จำไว้ว่า ไม่ว่าเราจะผ่านเรื่องเลวร้ายอะไรมามากมายก็ตาม “เดี๋ยวมันก็ผ่านไป” หน้าที่เราคือดูแลสภาพจิตใจของตนเองให้สมบูรณ์ที่สุด เมื่อน้องๆได้รับการติดต่อเรื่องงาน ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามข้อมูลเบื้องต้นทางโทรศัพท์ หรือนัดสัมภาษณ์จากฝ่ายบุคคล ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ที่พร้อมหรือไม่ เวลาที่สื่อสารต้องพูดคุยด้วยคำพูดและน้ำเสียงสุภาพ แสดงถึงวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่ดี แม้ว่าจะต้องปฏิเสธ ก็ควรตอบปฏิเสธด้วยความนุ่มนวล เพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับองค์กรนั้นๆเอาไว้ เผื่อในอนาคตที่มีตำแหน่งงานที่ตรงใจเรา เราก็ยังมีโอกาสได้ร่วมงานกับที่นั้นๆได้


ที่มา: http://jobmarket.co.th/mustKnow/content_detail.php?dd=5695
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 พฤศจิกายน 2016, 11:09:38 โดย Master »