ผู้เขียน หัวข้อ: เคล็ดไม่ลับกับการเจรจาค่าตอบแทนฉบับผู้สมัครงาน  (อ่าน 1575 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
 โดยทั่วไปผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทุกๆคนย่อมต้องแสวงหางานที่ให้ค่าตอบแทน ที่เพียงพอต่อการดำรงชีพ และ เหมาะสมกับคุณสมบัติและลักษณะงานที่ทำ ในบทความนี้เรามีข้อแนะนำดีๆมาฝาก สำหรับผู้ที่กำลังมองหางาน ที่จะใช้ในการพูดคุยเจรจาต่อรองเรื่องค่าตอบแทนให้ได้ตามที่ตนเองคาดหวัง

หลักการที่ต้องทำความเข้าใจ
 1.เรื่องเงินเป็นเรื่องที่อ่อนไหว ควรจะพูดถึงในจังหวะเวลาและโอกาสที่เหมาะสมมาถึงแล้วเท่านั้น
 2. บริษัทส่วนใหญ่ จะมีโครงสร้างเงินเดือนสำหรับแต่ละตำแหน่งกำหนดไว้อย่างชัดเจน แต่แปรผันไปตามตัวแปรอื่นๆได้ในระดับหนึ่ง
 3.ต้องวิเคราะห์ให้ออกว่า เรามีอำนาจต่อรองในเรื่องค่าตอบแทนสำหรับตำแหน่งงานนั้นๆ มากน้อยเพียงใด
 4. คำศัพท์ที่ใช้เรียกค่าตอบแทน แต่ละตัว แต่ละองค์กรอาจจะใช้ในความหมายที่แตกต่างกันไปบ้าง ดังนั้นคุณต้องมั่นใจว่าเข้าใจความหมายของค่าตอบแทนตัวนั้นจริงๆ ว่านายจ้างให้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร มีเงื่อนไขการจ่ายอย่างไร เช่น เงินเดือน ค่าครองชีพ ค่าอาหาร ค่าล่วงเวลา โบนัส  ค่าพาหนะ ค่าเดินทาง ค่าโทรศัพท์มือถือ ค่าช่วยเหลือตามสภาวะเศรษฐกิจ ฯลฯ เพื่อให้คุณมีข้อมูลที่เพียงพอและถูกต้อง สำหรับการต่อรอง
 5. โลกนี้ไม่มีอะไรฟรี เงินเดือน หรือค่าตอบแทนในการทำงาน เป็นสิ่งที่นายจ้างมอบให้ลูกจ้างเพื่อตอบแทนผลงาน เมื่อค่าตอบแทนสูง นายจ้างย่อมต้องคาดหวังผลงานในระดับที่สูงตามไปด้วย


 

สิ่งที่ต้องเตรียม
  • สำหรับ ผู้ที่มีประสบการณ์ ควรเตรียมหลักฐานแสดงรายได้จากที่เดิม ทุกๆอย่างเท่าที่จะนำมายืนยันได้ เช่น สลิปเงินเดือนล่าสุด เอกสารการรับค่านายหน้า ค่าคอมมิชชั่น ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเดินทาง ค่ารับรองลูกค้า ค่าโทรศัพท์ ค่าพาหนะ ค่าน้ำมัน ฯลฯ
  • หลักฐานแสดงความรู้ความสามารถพิเศษต่างๆ เช่น ผลการทดสอบทางภาษา ผลการทดสอบวัดระดับความรู้ในวิชาชีพนั้นๆ ประกาศนียบัตร รางวัลต่างๆ
  • ศึกษา หาข้อมูลเรื่องอัตราค่าตอบแทนทั้งจากบริษัทที่คุณสมัคร หรือบริษัทอื่นที่ๆทำธุรกิจใกล้เคียงกัน จากเพื่อนๆ จากรุ่นพี่ จากสมาคมวิชาชีพนั้นๆ หรืออาจเปิดหาทางเว็ปไซต์สมัครงานต่างๆ ซึ่งมักจะมีข้อมูล อัตราเงินเดือนเฉลี่ยของแต่ละตำแหน่งงานเป็นข้อมูลให้ผู้สมัครอยู่ด้วย เพื่อให้ได้แนวทางการจ่ายคร่าวๆว่า เค้าจ่ายให้ในตำแหน่งที่คุณกำลังสมัครอยู่นั้นอยู่ที่ประมาณเท่าไหร่
 
 

ขั้นตอนและหลักสำคัญเมื่อต้องเจรจาเรื่องค่าตอบแทน

  • ให้ ฝ่ายนายจ้างเป็นคนเริ่มต้นพูดถึงเรื่องนี้ก่อน เป็นการไม่สมควรยิ่งที่เราจะเป็นฝ่ายเริ่มต้นพูดถึงเรื่องเงินก่อน โดยเฉพาะเมื่อยังไม่มีสัญญาณตอบรับว่าคุณจะได้รับเสนอให้ทำงานนั้นเพราะคุณ จะถูกมองในแง่ลบทันที
  • เริ่ม ต้นจากการขายตัวเองก่อน เมื่อถูกถามเรื่องตัวเลขที่คาดหวังไว้ อาจเริ่มต้นจากการสรุปคุณสมบัติเด่นของตัวเองคร่าวๆ เช่น จำนวนปีของประสบการณ์ที่ผ่านมา จำนวนยอดขายที่เคยทำได้ จำนวนลูกค้าที่อยู่ในความดูแล ขนาดของหน่วยงานที่เคยบริหารส่วนผู้สมัครที่เพิ่งจบการศึกษา อาจอ้างอิงถึงกิจกรรมต่างๆที่เคยทำที่โดดเด่น สมัยยังเป็นนักเรียน นักศึกษา รวมถึงผลงาน การวิจัย รางวัลจากผลการเรียนที่ยอดเยี่ยม การประกวดโครงการ หรือการแข่งขันต่างๆ เป็นต้นโดยในทางปฏิบัติอาจรวบรวมเอกสารเหล่านี้ไว้จัดทำเป็นแฟ้มเพื่อแสดง ให้นายจ้างพิจารณาแล้วอาจสอบถามนายจ้างหรือฝ่ายบุคคลก่อนว่าตามโครงสร้างของ บริษัทแล้ว จากคุณสมบัติของเราควรจะเหมาะสมกับตัวเลขที่เท่าไหร่ แต่หากไม่ได้คำตอบก็สามารถแจ้งตัวเลขที่เราคาดหวังไปก่อนได้ ซึ่งแน่นอนว่าเป็นตัวเลขที่สูงสุด ที่เราคาดว่าน่าจะได้ก่อน (เผื่อถูกต่อรอง) แต่นั่นก็ต้องเป็นตัวเลขที่เราสามารถอธิบายได้ว่า คิดคำนวณมาจากอะไร เช่น จำนวนปีของประสบการณ์ การนำเอาโบนัสการันตีที่เคยได้มารวมไว้ด้วย  หรือเป็นการนำตัวเลขไปเปรียบเทียบจากข้อเสนอที่ได้รับจากบริษัทอื่นที่ไป สัมภาษณ์มา  เป็นต้น
  • หลัก สำคัญ คือการตอกย้ำให้ความมั่นใจแก่นายจ้าง ถึงสิ่งที่คุณจะสามารถสร้างสรรค์ หรืออุทิศตัวทุ่มเทเพื่อให้ได้ผลงานเกิดขึ้นกับองค์กรนั้นๆ ได้ มากน้อยเพียงใด ซึ่งจะเป็นการทำให้นายจ้างมั่นใจว่า การจ้างเราเข้าไปเป็นลูกจ้างครั้งนี้เป็นการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์ที่ให้ผล ตอบแทนคุ้มค่า
  • ควร สร้างบรรยากาศการเจรจาที่ผ่อนคลาย ผู้สมัครไม่ควรแสดงท่าทีแข็งกร้าว ดุดัน หรือยืนกราน ในความต้องการของตนเองว่าต้องได้ตามใจตนเองมากจนเกินไป งดเว้น การใช้คำพูดบาดหูผู้ฟัง เช่น “ถ้าไม่ได้ ก็ไม่เอา” หรือ “ข้อเสนอของบริษัทนี้ไม่มีความน่าสนใจเท่าไหร่เลย” เป็นต้น ควรแสดงท่าที รับฟังข้อเสนอและคำต่อรองอย่างใจเย็น โต้ตอบด้วยคำพูดสุภาพ อ่อนน้อม พร้อมๆกับยืนยัน ถึงความพร้อมในการทำงานและรับรองถึงผลงานที่คุณจะสามารถทำให้บริษัทบรรลุ เป้าหมายได้
  • อย่า เพิ่งรีบร้อนตัดสินใจ ในกรณีที่นายจ้างเสนอตัวเลขกลับมา ไม่ว่าคุณจะพอใจหรือไม่ ในวินาทีนั้น ขอแนะนำว่าคุณไม่จำเป็นต้องตัดสินใจในทันที อาจขอเวลาเพื่อการตัดสินใจ (โดยปรกติไม่ควรเกิน 3- 5 วัน) แล้วจึงค่อยให้คำตอบ เพราะคุณจะได้มีเวลาศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมในเชิงลึกเกี่ยวกับบริษัทนั้นๆ ก็ก็ต้องดูสถานการณ์ด้วยว่านายจ้างมีท่าทีอย่างไร สามารถรอฟังคำตอบของคุณได้หรือไม่ เพราะคุณอาจไม่ใช่ผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเพียงคนเดียว
  • อย่า ลืมว่า การตัดสินใจร่วมงานกับที่ใดที่หนึ่งนั้น มิได้มีเพียงปัจจัยเรื่องค่าตอบแทนเพียงอย่างเดียว ยังมีมิติอื่นๆอีกมากมาย เช่น สิทธิประโยชน์และสวัสดิการอื่นๆ ความมั่นคงของบริษัทซึ่งดูได้จาก ผลประกอบการของบริษัท โอกาสความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ซึ่งดูได้จากโครงสร้างหน่วยงาน สภาพแวดล้อมในการทำงาน โอกาสในการพัฒนาตนเองทั้งในด้านการเรียนรู้ตัวงาน และการฝึกอบรมต่างๆ ความยากลำบากในการเดินทางมาทำงาน และบางคนอาจต้องรับฟัง ความคิดเห็นจากบุคคลในครอบครัวหรือเพื่อนๆประกอบการตัดสินใจด้วย
  • แม้ การตกลงเรื่องเงินเดือนอาจเป็นขั้นตอนท้ายๆของกระบวนการว่าจ้าง แต่ตัวคุณก็อย่าวางใจ หรือตัดสินใจลาออกจากที่ทำงานเดิม จนกว่าจะได้รับการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรถึงข้อตกลง ดังกล่าวอาจเป็นรูปแบบของหนังสือข้อตกลงการว่าจ้างหรือสัญญาจ้างลงนามร่วม กัน ในส่วนของนายจ้าง ผู้มีอำนาจลงนาม และฝ่ายตัวผู้สมัครเอง
ที่มา: http://jobmarket.co.th/mustKnow/content_detail.php?dd=4306