ผู้เขียน หัวข้อ: เพิ่งเรียนจบใหม่ จะทำงานอะไรดี ?  (อ่าน 1253 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
เพิ่งเรียนจบใหม่ จะทำงานอะไรดี ?
« เมื่อ: 20 พฤศจิกายน 2016, 12:08:17 »
 ในช่วงที่นักศึกษาใกล้เรียนจบ คำถามที่พี่ๆทีมงาน Jobmarket ได้ยินบ่อยๆ คือ จะทำงานอะไรดี  เป็นคำถามยอดฮิตที่แม้แต่ครูอาจารย์ในสถานศึกษาต่างๆ ก็ยังกังวลใจแทนน้องๆ เมื่อได้ยินคำถามนี้ ด้วยความที่ปัจจุบันอัตราการแข่งขัน ในการเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทวีความรุนแรงมากขึ้น น้องๆที่เรียนมาสายวิชาชีพเฉพาะ เช่น แพทย์ ทันตแพทย์ สัตวแพทย์ พยาบาล วิศวกร สถาปัตย์ บัญชี วิทยาศาสตร์ ฯลฯ ก็อาจไม่ต้องลำบากใจมาก เพราะพอจะมองเส้นทางในสายอาชีพอยู่ไม่ไกล แต่น้องๆอีกหลายคนที่เรียนในสาขาวิชาแนวกว้าง เช่น บริหารธุรกิจ การตลาด ศิลปศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ อักษรศาสตร์ หรือสาขาวิชาอื่นๆที่เปิดกว้างต่อการเลือกสายงานที่จะทำ ก็อาจเกิดความเครียดได้ในการเลือกทำงานที่มีความแตกต่างหลากหลายค่อนข้างมาก จะทำงานอะไรดี ?

คำตอบง่ายๆ คือ ทำ “งานที่ดี”งานที่ดีในอุดมคติ ควรจะมีคุณสมบัติอย่างน้อยๆ 3 ข้อ ดังนี้ คือ

1.ตรงกับความชอบความถนัด
 คน ทุกคนล้วนมีความแตกต่าง มีจุดขายของตัวเอง และมีความฝันที่ต่างกัน อาจสะท้อนมาจากสาขาของการเรียนส่วนหนึ่ง หรือ อาจสะท้อนจากกิจกรรมพิเศษที่ทำในเวลาว่าง หรือที่ทำเป็นงานอดิเรก การเลือกงานที่ตรงกับความชอบและความถนัดของตัวเอง จะเป็นเครื่องรับรองความสำเร็จได้ในระดับหนึ่งเลยทีเดียว เพราะงานที่เรามีความถนัด รักที่จะทำ ก็ย่อมง่ายต่อการต่อยอดสู่ความสำเร็จในสายอาชีพนั้นๆ

2.ให้ผลตอบแทนดี
 เนื่อง จากเหตุผลของการทำงานส่วนหนึ่งก็คือ การหารายได้เพื่อเลี้ยงชีพ หากงานนั้นๆ สามารถนำมาซึ่งผลตอบแทนที่ดี คุ้มค่ากับสิ่งที่ลงทุนลงแรงไป สามารถนำไปเลี้ยงดูตัวเองและครอบครัวได้โดยไม่ขาดแคลน ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการพิจารณาเลือกทำงานนั้นๆ อย่างไรก็ตามการพิจารณาประเด็นเรื่องค่าตอบแทนนั้นต้องดูให้รอบด้าน ไม่ใช่เรื่องตัวเงินอย่างเดียว ควรพิจารณาถึงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นๆ รวมถึงเรื่องของความมั่นคง จากการทำงานนั้นๆด้วย

3.มีคุณค่าต่อสังคม
 งาน ที่จะทำนั้น สร้างประโยชน์ให้กับสังคมมากน้อยเพียงใด ตรงกันข้าม หากงานที่จะทำนั้น นำมาซึ่งความเสื่อมโทรมของสังคม หรือเกิดผลเสียต่อผู้อื่น ผิดศีลธรรม จริยธรรม แม้ว่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีเพียงใด ก็ควรหลีกหนีให้ห่าง งานสุจริตทุกงานล้วนมีค่าในตัวของงานเอง และหากงานที่ทำนั้นก่อประโยชน์ได้กว้างขวางให้กับสังคมด้วยแล้วละก็ ย่อมนำมาซึ่งความภาคภูมิใจของคนทำงานนั้นๆ อีกด้วย


 
จะรู้ได้อย่างไรว่า เราชอบ หรือเหมาะสมกับงานอะไร?
 ขอให้เชื่อหลักอย่างหนึ่งว่า ไม่มีใครรู้จักเราดีเท่ากับตัวเราเอง เราอาจขอคำแนะนำจากพ่อ แม่ ครูอาจารย์ที่เคยสอน ญาติ พี่น้อง เพื่อนที่รู้จักหรือคุ้นเคยกับเรา ก็จะให้คำแนะนำได้ระดับหนึ่งว่าเราเหมาะกับงานอะไร น้องๆอาจใช้อีกช่องทางหนึ่งคือ การขอคำแนะนำจากผู้ที่ทำงานอยู่ในอาชีพนั้นๆ ในปัจจุบัน โดยอาจเข้าไปร่วมพูดคุยทาง Community web หรือ ฝากคำถาม ตั้งกระทู้ถามในเว็บบอร์ด หรืออาจเป็นผู้ติดตาม หรือเพิ่มคนที่ทำงานในอาชีพนั้นๆ เป็นเพื่อนทาง Facebook ก็ได้ เพื่อจะได้ทราบความเคลื่อนไหว ข่าวคราว หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องงานในสายอาชีพนั้นๆ อย่างตรงไปตรงมา และใกล้เคียงความจริงมากที่สุด แล้วนำกลับมาประมวลผลอีกทีว่า เราชอบหรือเหมาะกับงานนั้นๆ หรือไม่

ไม่ว่าจะเลือกงานอะไร การเตรียมความพร้อม เป็นเรื่องสำคัญ

1.ทักษะด้านภาษาและคอมพิวเตอร์เป็น ข้อกำหนดในคุณสมบัติขั้นต่ำ (Minimum requirement) สำหรับงานส่วนใหญ่ เรากำลังก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ ASEAN Economic Community โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเอเซียให้เป็นตลาดและฐานการผลิต เดียว มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ และการลงทุน แรงงานฝีมือ และเงินทุนอย่างเสรี ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ดังนั้น คนที่มีต้นทุนในด้านทักษะการสื่อสารภาษาต่างประเทศ ย่อมได้เปรียบ อีกทั้งเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ เราก็ควรขวนขวายหาความรู้ใส่ตัว ฝึกไว้ให้เชี่ยวชาญ

2. เตรียมพร้อมด้านประสบการณ์ตั้งแต่เนิ่นๆควร ใช้โอกาสระหว่างเรียน ทำงานพาร์ตไทม์ หรืองานชั่วคราวที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่อยากทำ หรืออาจไปขอฝึกงานในบริษัทที่อยากทำ หรือ ในสายงานที่เราสนใจ เพื่อที่จะอ้างอิง หรือระบุเป็นข้อมูลสนับสนุนให้เราเป็นผู้สมัครที่มีคุณสมบัติน่าสนใจได้ ในตอนสมัครงาน

3. เตรียมใจ เตรียมความคิด ปรับทัศนคติให้พร้อมสำหรับการทำงานคน ตกงานส่วนมาก ไม่ใช่ไม่มีงานให้ทำ แต่เป็นเพราะเลือกจะทำแต่งานที่ถูกใจ ไม่ลองเปิดโอกาสที่จะให้ตัวเองได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์บ้าง คนที่ประสบความสำเร็จหลายคนในวันนี้ ล้วนผ่านการสั่งสมประสบการณ์เล็กๆน้อยๆ มานับไม่ถ้วน และแน่นอนว่า เส้นทางไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป หลายคนไม่ยอมนับหนึ่ง แต่ต้องการฉลองความสำเร็จที่จุดสูงสุดเลย ทำให้ยังไม่ได้เริ่มออกตัวสักที และอาจจะถูกประเมินว่าเป็นคนจับจด ไม่อดทน ไม่มีความพยายามมากเพียงพอ

การเริ่มต้นนั้นอาจยาก แต่เมื่อได้เริ่มก้าวไปในทิศทางที่ถูกต้องแล้ว ก็สามารถไปสู่ปลายทางความสำเร็จได้ ทางทีมงาน Job market ขอเป็นกำลังใจให้น้องๆทุกคนไม่ย่อท้อที่จะเดินตามฝันของตัวเองต่อไป


ที่มา: http://jobmarket.co.th/mustKnow/content_detail.php?dd=6301
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 พฤศจิกายน 2016, 12:09:48 โดย Master »