ผู้เขียน หัวข้อ: กลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการสัมภาษณ์งาน  (อ่าน 658 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด

เชื่อว่าหลายๆ คนที่ได้ผ่านการสัมภาษณ์งานคงมีประสบการณ์การสัมภาษณ์งานในรูปแบบที่แตกต่างกันไป บางครั้งเตรียมตัวมาดีมากเกินก็ทำให้ประหม่าและกลายเป็นการสนทนาที่ท่องจำ ในทางกลับกันบางคนอาจจะไปสัมภาษณ์งานเพื่อลองเชิงหรือต้องการไปค้นหาประสบการณ์ในเวลานั้น  จริงๆ แล้วถ้าเรามองย้อนกลับไป ณ วันที่เราถูกสัมภาษณ์กับวันนี้ที่ได้รับการตอบรับเข้าทำงาน การเข้ามาทำงานจริงๆ ยุ่งยาก ท้าทายและซับซ้อนมากกว่าวันนั้นหลายเท่าตัว เพราะฉะนั้น การสัมภาษณ์งานไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราทุกคนคิด แต่ทุกอย่างเป็นการสร้างคำถามและการสร้างแรงกดดันจากตัวเราเอง ดังนั้น วิธีการคิดหรือเทคนิคต้องเริ่มจากความคิดภายในสู่ภายนอก โดยเริ่มจาก

1. การมีทัศนคติที่ดีในสิ่งที่เราต้องการจะทำ
    ในทุกบริษัทมีคนเก่งและคนดีอยู่มากมายแต่คนที่มีทัศนคติที่ดีในองค์กรมักจะเป็นคนที่ถูกจดจำและนึกถึงอยู่เสมอ เพราะการทำงานสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทำให้ดีขึ้นได้ตลอดเวลาถ้าเราพยายาม ทุกๆ วันคือการเริ่มต้น การหาประสบการณ์ใหม่ๆ แต่การเปลี่ยนแปลงทัศนคติเป็นสิ่งที่ท้าทายและใช้เวลาค่อนข้างนาน ดังนั้น ถ้าเราแสดงออกถึงความเป็นคนมีทัศนคติที่ดีอย่างจริงใจ ยิ้มแย้ม แจ่มใสพอประมาณในวันสัมภาษณ์ เชื่อได้เลยว่าผู้สัมภาษณ์ก็คงจะอยากจะร่วมงานกับคุณ

2. ตอบคำถามให้ตรงประเด็นและแสดงจุดแข็งของเรา
    ตั้งสติก่อนสตาร์ท ทุกคนคงเคยได้ยินคำนี้ และขอรับประกันได้เลยว่าคำนี้ใช้ได้กับทุกสถานการณ์จริงๆ แน่นอนความตื่นเต้นคงหลีกเลี่ยงกันไม่ได้ โดยเฉพาะการที่ถูกสัมภาษณ์ด้วยผู้สัมภาษณ์หลายๆ คน บางคนอาจจะมาแนวตลก หรือมาแนวเคร่งขึม ซื่งทำให้เรามีความกดดันที่แตกต่างกันไป บางครั้งการสัมภาษณ์ไม่ได้เน้นข้อมูลของบริษัทหรือประสบการณ์โดยตรงของเรา แต่เป็นการวัดลักษณะนิสัยว่าเราว่าจะเข้ากับองค์กรได้หรือไม่ และสิ่งที่จะสร้างความมั่นใจให้กับคุณได้เพิ่มขึ้นก็คือ การจับประเด็นของผู้สัมภาษณ์ ตอบคำถามให้ชัดเจนและได้ใจความ เน้นรายละเอียดที่แสดงจุดแข็งของเรา แต่ต้องไม่โอ้อวดหรือเยินยอองค์กรมากจนเกินไป การอธิบายยาวและซ้ำไปซ้ำมาก็ไม่ได้เป็นประโยชน์ทั้งตัวเราและกับผู้สัมภาษณ์เลย ยิ่งทำให้ข้อมูลเปลี่ยนแปลงและสับสนมากยิ่งขึ้น

3. การสร้างความประทับใจ
    ข้อนี้ดูแล้วเหมือนจะยาก แต่จริงๆ แล้วเป็นสิ่งที่ทุกคนทำได้และอยู่ใกล้ตัวเรามากที่สุด นั่นก็คือ การให้เกียรติผู้สัมภาษณ์โดยการสบตา และการใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม บางสถานการณ์เมื่อเราขาดความมั่นใจ เรามักที่จะไม่สบตาผู้สัมภาษณ์ มองโต๊ะหรือก้มหน้า เหตุการณ์นี้นอกจากจะสร้างความไม่ประทับใจให้กับผู้สัมภาษณ์แล้ว คุณยังพลาดโอกาสที่จะสังเกตุปฏิกิริยาหรือความรู้สึกของผู้สัมภาษณ์ที่มีต่อการตอบคำถามของคุณ จงจำไว้ว่าคุณมีเวลาจำกัดในการสร้างความประทับใจและคุณควรจะใช้เวลานั้นให้เป็นประโยชน์สูงสุด

    นอกจากทั้งสามข้อที่กล่าวไปแล้วข้างต้น อย่าลืมว่าคุณควรจะหาข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทไว้ด้วย อย่างน้อยก็ควรรู้ว่าบริษัทดำเนินธุรกิจอะไร และทำไมคุณถึงอยากจะร่วมงานกับบริษัทนี้ เพราะเชื่อว่าสองคำถามนี้คงเป็นคำถามหลักๆ ที่ผู้สัมภาษณ์ทุกคนต้องถามอย่างแน่นอน และยังมีอีกหลายคำถามที่คุณยังสามารถศึกษาและหาข้อมูลได้ตามอินเตอร์เนตอีกด้วย การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพและการสร้างความมั่นใจให้กับตนเองและต่อผู้อื่นจะสร้างโอกาสใหม่ๆให้กับคุณ ขอให้ทุกคนโชคดีในการสัมภาษณ์ครั้งต่อไป


ที่มา: http://www.manpowerthailand.com/tris/content/detail/167-%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%93%E0%B9%8C%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99