คุณสมบัติของผู้สมัครงาน ที่นายจ้างต้องการ
มุมมองของนายจ้างแต่ละรายที่จะใช้ในการตัดสินใจว่าจะรับหรือไม่รับผู้สมัครงานคนหนึ่งคนใดนั้นจะแตกต่างกันไป บางครั้งอาจขึ้นอยู่กับตำแหน่งงานที่ต้องการรับสมัครด้วย นายจ้างบางคนมองเน้นเฉพาะความสามารถ หรือทักษะที่จำเป็นกับงานในตำแหน่งนั้นเป็นหลัก แม้ผู้สมัครงานจะขาดคุณสมบัติอื่นใดไปบ้าง นายจ้างก็อาจผ่อนปรนรับเข้าทำงานไว้ก่อน และพยายามแก้ไขในช่วงทดลองงาน เป็นต้น ทั้งนี้คุณสมบัติโดยทั่วไปที่นายจ้างให้ความสำคัญและใช้ประกอบการตัดสินใจในการคัดเลือกผู้สมัครงาน ได้แก่
1. ความรู้ความสามารถและประสบการณ์ที่ตรงตามหน้าที่ความรับผิดชอบในตำแหน่งที่สมัคร
2. บุคลิกภายที่เหมาะสม แบ่งเป็น
- ความเป็นผู้ใหญ่
- การเรียนรู้และยอมรับข้อจำกัดของตนเอง
- การมีเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน
- ความรับผิดชอบสูง
3. การรักษาคุณภาพของอารมณื ลักษณะที่บ่งชี้ คือ
- สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดี ในขณะที่เผชิญกับสภาวะขัดแย้งและสิ่วที่ไม่พึงพอใจ
- สามารถรักษาและควบคุมให้ร่างกายมีการแสดงออกที่สมดุล ระหว่างอารมณ์และภาวะทางจิต เมื่อต้องเชิญกับปัญหาส่วนตัวและความเครียดเกี่ยวกับเรื่องในครอบครัว
- มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ สามารถแก้ปัญหาและอุปสรรคที่รุนแรงได้อย่างสงบและอดทน ตลอดจนมีความทะเยอทะยานในระดับที่เหมาะสม ซึ่งจะก่อให้เกิดความคิดก้าวหน้าและพัฒนางาน
4. ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างราบรื่น นายจ้างอาจสังเกตจากประสบการณ์เดิม ได้แก่
- การร่วมกิจกรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัย หมู่บ้าน และที่ทำงาน
- การให้ความกลมกลืนในพฤติกรรมเมื่ออยู่ในกลุ่มมากกว่าส่วนตัว
- มีความกลมกลืนในพฤติกรรมเมื่ออยู่ในกลุ่ม สามารถเป็นได้ทั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี ไม่ทำตัวแปลกแยก
5. ความสามารถในการสู้งานหนัก และเผชิญกับปัยหาอุปสรรคได้อย่างมั่นใจ สังเกตุได้จาก
- ผลสัมฤทธิ์ของการทำงานในอดีต
- การทำกิจกรรมที่ยากลำบากและต้องใช้ระยะเวลานานๆ ในสมัยเรียนให้ประสบผลสำเร็จได้
- การพัฒนาผลการเรียนให้อยู่ในระดับดีขึ้นเรื่อยๆ
- วิถีทางการดำรงชีวิต เช่นการทำงานหาเงินเรียนหนังสือด้วยตนเอง
6. ความซื่อสัตย์และความจริงใจต่อตนเอง/องค์กร/งานในหน้าที่ และเพื่อนร่วมงานเป็นสิ่งที่สามารถหล่อหลอมได้ตั้งแต่วัยเด็ก ให้เติบโตอย่างมีศีลธรรมและจริยธรรม โดยครอบครัวและสถานศึกษา เช่น การยอมรับที่จะแนะนำตนเอง ทั้งในด้านดีและไม่ดีให้ผู้อื่นทราบอย่างตรงไปตรงมา การรู้จักให้อภัยและขอโทษผู้อื่นเมื่อกระทำผิด การรู้จักให้และรับจากผู้อื่น และความมีเมตตาธรรมต่อคนรอบข้าง เป็นต้น
7. การรักษาระเบียบวินัย มีความละอาย และรู้สึกผิดเมื่อคิดจะกระทำผิดระเบียบ/กฎเกณฑ์ ของสังคม
ที่มา:
http://www.jobenter.com/content/job_tips/detail.php?type=1&cid=154