วิธีการสอบสัมภาษณ์ ก็เป็นกระบวนการหนี่ง ที่จะช่วยให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ เตรียมตัวรับ สถานการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างสุขุม รอบคอบ และยังจะช่วยให้ผู้เข้ารับการสัมภาษณ์ ใช้คำตอบได้ตรงกับประเด็นและสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ผู้สัมภาษณ์กำหนดไว้อีกด้วย ผู้เขียนเองตระหนักถึงความสำคัญข้อนี้ จึงนำเอาวิธีการสอบสัมภาษณ์มาแสดงไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการเข้าสอบต่อไป
วิธีการสอบสัมภาษณ์แบ่งออกเป็นหลายวิธี ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้1. การสอบสัมภาษณ์เพื่อคัดออก
วิธีการนี้จะเป็นการพูดคุยกันก่อน โดยมากจะเป็นการติดต่อทางโทรศัพท์เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้สมัครว่ามีคุณสมบัติและความเหมาะสมเพียงพอ ที่จะเชิญมาเข้ารับการสอบสัมภาษณ์ที่บริษัทได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการประหยัดเวลาปละค่าใช้จ่ายโดยคัดผู้ที่ขาดคุณสมบัติออกไปเสียแต่เริ่มแรกขั้นตอนหนึ่งก่อน
2. การสอบสัมภาษณ์แบบตัวต่อตัว
วิธีนี้ส่วนมากจะใช้ก็ต่อเมื่อผู้สัมภาษณ์พิจารณาเห็นว่า เป็นการไม่ยากที่จะแยกแยะคุณสมบัติและทักษะของผู้สมัครในตำแหน่งนั้น ๆ และโดยมากก็จะใช้กับการสอบสัมภาษณ์ในระดับตำแหน่งที่ไม่สูงนัก ตัวอย่างเช่น เสมียนหรือพนักงานพิมพ์ดีด เป็นต้น ดังนั้นวิธีนี้จึงไม่เหมาะที่จะใช้กับการสอบสัมภาษณ์ตำแหน่งสูง อย่างเช่น ระดับบริหาร ซึ่งต้องอาศัยกระบวนการที่พิถีพิถันมากขึ้น
3. การสอบสัมภาษณ์หมู่
การสอบสัมภาษณ์วิธีนี้ “ ซี่งถือคติที่ว่า หลายคนช่วยกันคิดดีกว่าคนเดียว” ดังนั้นผู้สัมภาษณ์จะรวมกันเป็นทีม ซึ่งอาจจะมีจำนวน 3 ถึง 5 คน หรือถ้าเป็นตำแหน่งสำคัญ ก็อาจจะมีจำนวน 6 ถึง 8 คนก็ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็แสดงว่าผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จะต้องเผชิญกับผู้สัมภาษณ์หลายคนในเวลาเดียวกัน ดังนั้น ผู้เข้าสอบจะต้องควบคุมอารมณ์ให้ดี เพราะอาจจะถูกซักถาม แบบวกไปเวียนมา ในทำนองยั่วยุให้อารมณ์เสียได้ง่าย
4. การสอบสัมภาษณ์แบบไม่มีการวางแผน
วิธีนี้กล่าวง่าย ๆ คือการสัมภาษณ์หมู่นั้นเอง แต่ว่าในทีมผู้สัมภาษณ์นั้น สมาชิกของทีมมีอิสระในการป้อนคำถามตามแต่ตนจะเห็นสมควร โดยที่ทางบริษัทจะไม่กำหนดคำถามมาให้ เพียงแต่แจ้งความประสงค์ว่าทางบริษัทต้องการผู้สมัครที่มีคุณสมบัติอะไรบ้าง เฉพาะตำแหน่งนั้น ๆ ข้อเสียของวิธีนี้อยู่ที่ว่าผู้สัมภาษณ์อาจใช้คำถามซ้ำซากกับผู้ร่วมทีมคนอื่น ๆ จนมองข้ามหัวข้อสำคัญไปก็ได้
5. การสอบสัมภาษณ์แบบมีการวางแผน
คือการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งมีวิธีตรงกันข้ามกับแบบที่ 4 (การสอบสัมภาษณ์แบบไม่มีการวางแผน) ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น กล่าวคือ ในที่นี้ผู้สัมภาษณ์ จะได้รับมอบหมายหน้าที่จากบริษัทให้ทำโดยแยกแยะออกไปตามความถนัดว่า แต่ละคนจะซักถามในเรื่องใดบ้าง เช่น ด้านการศึกษา ด้านคุณสมบัติ หรือประสบการณ์ เป็นต้น
6. การสอบสัมภาษณืแบบสมมุติเหตุการณ์
คือการสอบสัมภาษณ์แบบหยิบยกเหตุการร์ใด เหตุการณ์หนึ่งขึ้นมาประกอบการสัมภาษณ์ โดยที่อาจจะเป็นเหตุการจริงหรือสมมุติขึ้นมาก็ได้ แต่เป็นเหตุนำไปสู่ปัญหาอย่างไร โดยที่ทีมผู้สัมภาษณ์จะสังเกตุพฤติกรรม และท่าทางในการแสดงออกของผู้สมัครด้วย เช่น ความคิดสร้างสรรค์ ความรอบคอบ ความฉับพลัน ในการแก้ไขเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างมีเหตุผล เป็นต้น
7. การสอบสัมภาษณ์แบบประเมินผล
วิธีนี้เหมาะสมเฉพาะงานบางอย่างเท่านั้น เช่น พนักงานขายสินค้า หรือ พนักงานขายประกัน เป็นต้น ในที่นี้ผู้สัมภาษณ์จะเปิดโอกาสให้ผู้สมัครได้ศึกษานโยบายและรายละเอียดต่าง ๆ ที่จำเป็นก่อนแล้ว จึงให้ผู้สมัครสาธิตเทคนิคในการขาย หรือแสดงศิลปในการพูดโน้มน้าวจุดสนใจของลูกค้าให้คล้อยตาม โดยที่อาจจะมีการสมมุติว่า พนักงานของบริษัทนั้นเป็นลูกค้าก็ได้ หลังจะนี้จึงมีการประเมินผลกันอีกครั้งหนึ่ง เพื่อหาผู้ที่มีความเหมาะสมกับตำแหน่งต่อไป
ที่มา:
http://www.jobenter.com/content/job_tips/detail.php?type=1&cid=185