อาจกล่าวได้ว่า ความเข้าใจในเป้าหมายของการสอบสัมภาษณ์แต่เพียงอย่างเดียวนั้น ยังไม่เป็นการเพียงพอ ทางที่ดีผู้เข้าสอบควรจะทราบถึงวิธีการที่ผู้ทำการสอบประเมินคุณสมบัติของผู้เข้าสอบด้วย ก็จะเป็นการเตรียมพร้อมที่เป็นประโยชน์อย่างมาก และในการประเมินคุณสมบัติของผู้เข้าสอบนั้นก็แตกต่างกันอกไปมากมายหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่ก็จะครอบคลุมหัวข้อที่สำคัญเหล่านี้คือ
1. การปรากฏตัว (Appearance)
การปรากฏตัวในที่นี้รวมถึง
- การแต่งเนื้อแต่งตัว (Physical-make up)
- การแต่งกาย (Dress sense)
- การวางตัว (Poise)
2. ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร (Ability to communicate)
รวมถึง
- ความสามารถในการเข้าใจคำถามที่ผู้สัมภาษณ์ถาม
(Ability to understand questions asked by the interviewer)
- ความสามารถในการแสดงออกเป็นภาษาอังกฤษได้อย่างชัดเจน
(Ability to express oneself clearly in English)
ซึ่งในที่นี้ก็รวมถึง พูดถูกหลักไวยากรณ์ ออกเสียงได้อย่างถูกต้องและใช้คำศัพท์ได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งควบคุมเสียงได้อย่างสม่ำเสมอ ไม่พูดดังหรือค่อยจนเกินไป ประกอบกับแสดงกริยาท่าทางประกอบการพูดได้อย่างดี
3. ความสำเร็จ (Attainments)
ความสำเร็จรวมถึง
- ภูมิหลังทางด้านการศึกษา (Education Background) เป็นต้นว่าปริญญา อนุปริญญา หรือประกาศนียบัตรวิชาการต่าง ๆ ที่ได้รับ
- ประสบการณ์ที่ได้รับจากงานเก่า (Experience gained in previous jobs)
4. อุปนิสัย (Character)
อุปนิสัยในที่นี้ รวมถึงบุคคลิกภาพเฉพาะตัวเช่น
- มีความเป็นผู้ใหญ่ หรือมีวุฒิภาวะ (Maturity)
- มีความทะเยอทะยาน (Ambition)
- ให้ความร่วมมือ (Co-operativeness)
5. ความสามารถ (Aptitude)
- มีความสามารถแฉพาะด้าน (Special area of competence)
เช่น มีความสามารถทางด้านเทคนิค (Technical competence) ด้านการใช้ตัวเลข(The use of figures)
- มีความเป็นผู้นำและริเริ่ม (Leadership qualities and intiative)
6. ความสนใจ (Social)
ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ เป็นแต่เพียงหลักการใหญ่ ๆ เท่านั้น ส่วนการที่ผู้เข้าสอบสัมภาษณ์จะตอบคำถามได้ดีแค่ไหนนั้น ย่อมขึ้นอยู่กับความพร้อมในด้านอื่น ๆ ด้วย ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
ที่มา:
http://www.jobenter.com/content/job_tips/detail.php?type=1&cid=195