ผู้เขียน หัวข้อ: จะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ควร “ปฏิเสธ” โอกาสที่เข้ามาใหม่  (อ่าน 744 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
“โอกาสมาหาเราแค่ครั้งเดียว” เป็นสำนวนที่มักมีการใช้กันอยู่บ่อยครั้ง นักธุรกิจและคนที่เพิ่งเริ่มทำงานใหม่หลายคนจึงตัดสินใจคว้าโอกาสแรกที่เข้ามาหาไว้ก่อนอย่างเร่งรีบ ถึงแม้คุณจะไม่สามารถบอกได้เลยว่ามันจะนำพาคุณไปที่ไหนใช่ไหมล่ะ? แต่นักธุรกิจที่มีประสบการณ์ผ่านร้อนผ่านหนาวมามากจะบอกคุณได้เลยว่า ความลับที่นำไปสู่ความสำเร็จคือ อย่าฉวยคว้าทุกโอกาสที่เข้ามาหาคุณ


เราจะแยกแยะโอกาสที่ดีออกจากโอกาสที่ทำให้เสียเวลาได้อย่างไร

ความสามารถในการบอกได้ว่าโอกาสไหนเป็นโอกาสที่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปเป็นทักษะที่ควรเรียนรู้ให้เร็วมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าคุณจะยังเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย ก็ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าการพัฒนาสั่งสมประสบการณ์ของตนเองให้มากที่สุดโดยเร็วที่สุด

เริ่มต้นด้วยการฝึกงานและมองหาสัญญาณที่คุณได้รับจากการฝึกงานว่าคุณอยากที่จะต่อยอดด้านไหนต่อไปหลังจบมหาวิทยาลัย การได้เป็นส่วนหนึ่งในวัฒนธรรมองค์กร และริเริ่มโครงการของตนเองเป็นครั้งแรก เป็นสองสัญญาณหลักที่การฝึกงานให้คุณได้เป็นอย่างดี ในการฝึกงานคุณจะได้รับเพียงแค่ทักษะที่คุณลงมือทำเท่านั้น ดังนั้นจงทุ่มเทความพยายามทั้งหมดของคุณลงไป ถึงแม้ว่าในตอนแรกอาจจะดูเหมือนไม่มีประโยชน์อะไร แต่ที่สุดแล้วเจ้านายของคุณจะสังเกตเห็นความทุ่มเทของคุณเอง

สิ่งที่สำค้ญพอกันๆ กับการเห็นความสำคัญของประสบการณ์ตนเองก็คือ ความสามารถในการคำนวณต้นทุนทางโอกาสให้เป็นด้วยว่า เวลาแบบไหนที่มีค่าสำหรับคุณ โดยให้ตัดสินจากความต้องการในปัจจุบันของคุณ ชุดทักษะและความสุขจากการทำงาน ความสามารถในการหยั่งรู้นี้เป็นสิ่งที่ดีต่อชีวิตประจำวันของคุณในทุกแง่มุมซึ่งจะช่วยให้คุณประหยัดทั้งเงินและเวลา ขึ้นอยู่กับว่าคุณต้องการอะไรมากกว่าในช่วงนั้น

เมื่อคุณมีประสบการณ์ทางธุรกิจอยู่ในตัว เส้นทางด้านการเงินและอาชีพที่คุณจะเริ่มเดินไปก็ยิ่งมีความสำคัญมากขึ้น หรือพูดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ต้นทุนทางโอกาสของคุณกำลังเพิ่มขึ้น เมื่อถึงตอนนี้ความจำเป็นในการประเมินความเสี่ยงของกิจการที่เกิดขึ้นใหม่ให้ออกในช่วงเวลาสำคัญเป็นเรื่องที่ใหญ่กว่าเมื่อครั้งที่คุณยังเป็นเด็กฝึกงานมากนัก

คุณต้องชั่งน้ำหนักเรื่องต่างๆ เช่น ความต้องการ (หรือไม่ต้องการ) อะไรในการเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง การลงทุนที่คุณต้องเสี่ยง โอกาสในการขยายตัว ความสุขที่คุณจะได้รับจากการตัดสินใจของคุณ และปัจจัยสำคัญอื่นๆ ก่อนที่คุณจะตัดสินใจในเรื่องใดไป


จะตัดสินใจได้อย่างไรว่าควรปฏิเสธโอกาสไหน


บางครั้งเคล็ดลับด้านบนอาจไม่เพียงพอที่จะช่วยให้คุณตัดสินใจได้วางจะเลือกทางไหน โอกาสที่ดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงอาจบดบังไม่ให้คุณเห็นสัญญานเตือนได้ ลองใช้หลักการประเมินเหล่านี้เพื่อช่วยให้คุณตระหนักว่าเมื่อไหร่ที่คุณควรปฏิเสธ
 
  • สังเกตสัญญาณ ที่บ่งบอกว่าเป็นโอกาสที่ไม่ดีสำหรับธุรกิจของคุณ (คุณไม่มีพนักงานแบบที่ต้องการ คุณมีข้อผูกมัดมากเกินไป ลูกค้าไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วตนเองต้องการอะไร เป็นต้น)
  • เต็มใจที่จะยอมรับว่าความคิดนั้นมันไม่สมจริง หรือไม่น่าสนใจสำหรับคุณอีกต่อไป
  • ตระหนักว่า สวัสดิภาพของคุณนั้นสำคัญกว่า งานที่คุณรู้ว่าคุณไม่สามารถทำให้ดีที่สุดได้
  • ยอมรับให้ได้เมื่อคุณ ไม่สามารถปรับปรุงโครงการให้ดีขึ้นได้มากกว่านี้แล้ว หรือเมื่อคุณกำลังทำให้โครงการหันเหไปในทางที่ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับแผนเดิมเลย
  • ซื่อสัตย์กับตัวคุณเอง: โครงการที่คุณกำลังจะทำอาจไปรบกวนคุณภาพของงานที่คุณกำลังทำให้กับลูกค้าปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณไม่ได้รู้สึกตื่นเต้นกับงานใหม่
  • ต้องรู้ตัวไม่ว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ คุณให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ส่วนตัวที่มีต่อธุรกิจหรือผลิตภัณฑ์ของตนเอง มากกว่าผลกำไรที่คุณอาจจะได้มาจากการขายมัน
นอกจากนี้ ถามที่ปรึกษาของคุณหรือผู้ใหญ่ในชุมชนที่คุณนับถือเกี่ยวกับการตัดสินใจทางธุรกิจที่ทำให้พวกเขาต้องเสียใจหรือขอคำแนะนำจากพวกเขา ข้อคิดที่ได้จากประสบการณ์ของพวกเขาจะช่วยป้องกันไม่ให้คุณทำผิดแบบเดียวกันซ้ำอีก


ปฏิเสธอย่างไรโดยไม่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างกัน

ในบางครั้ง คุณอาจจำเป็นต้องตัดสินใจปล่อยโอกาสให้หลุดมือไป อย่างไรก็ตาม คุณก็รู้สึกกลัวปฏิกิริยาของคนที่คาดหวังให้คุณยอมรับโอกาสนั้น ตอนนี้ถึงเวลาที่คุณต้องเรียนรู้วิธีที่จะปฎิเสธพวกเขาอย่างสุภาพโดยไม่เป็นการกีดกันพวกเขาไปตลอดกาล เพราะการปฏิเสธโอกาสที่คนอื่นเสนอให้อาจทำให้คุณรู้สึกว่ากำลังจะเกิดความขัดแย้งขึ้นตามมาแต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันจะเป็นเช่นนั้นเสมอไป ถึงแม้ว่าคนอื่นอาจไม่ยินดีนักที่คุณตอบ “ปฏิเสธ” พวกเขา แต่พวกเขาจะเคารพคุณมากขึ้นถ้าคุณพูดอย่างตรงไปตรงมาดีกว่าพูดอ้อมค้อมเพื่อพยายามทำให้พวกเขาไม่โกรธ

เมื่อเจรจาต่อรองเพื่อตอบ “ปฏิเสธ” คุณคงไม่ต้องการทำให้คนอื่นรู้สึกเหมือนกับว่าคุณกำลังผลักดันพวกเขาให้ออกไปจากคุณตลอดกาล หรือปฏิเสธเพราะเหตุผลส่วนตัว ทำให้ชัดเจนต่อหน้าคนอื่นๆ เลยว่าคุณปฏิเสธข้อเสนอของพวกเขาเพียงเพราะว่า การยอมรับโอกาสนั้นเป็นสิ่งที่กระทบต่อความรับผิดชอบหลักในปัจจุบันของคุณเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าพวกเขาจะยืนกรานจนทำให้คุณหงุดหงิด จงอย่าลืมว่าเป้าหมายของคุณคือการประนีประนอมเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อแสดงให้พวกเขาเห็นว่าคุณยังเคารพความสัมพันธ์ในการทำงานที่มีต่อกันอยู่

อย่าแค่ตอบปฏิเสธแล้วเดินจากไป ถ้าจะให้ดีคุณต้องบอกด้วยว่า ข้อเสนอของพวกเขาก็สามารถยอมรับได้บางส่วนในสถานการณ์ปัจจุบันของคุณหรือบอกว่าคุณสนใจที่จะทำงานกับพวกเขาในอนาคต ไม่ว่าการตอบรับของคุณจะจบอย่างไร อย่าพูดอย่างคลุมเครือหรือโกหกพวกเขา ให้พูดว่า “ไม่ครับ/ค่ะ ขอบคุณ” อย่างสุภาพแต่ไม่ปล่อยให้มีช่องว่างให้พวกเขาพยายามมาชักชวนคุณอีกได้


Reference: http://www.entrepreneur.com
ที่มา: http://www.centralsmartjobs.com/th/Home/KnowledgeDetail/86_%E0%B9%81%E0%B8%99%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%87%20%E0%B8%88%E0%B8%B0%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B9%84%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B9%84%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%20%E2%80%9C%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%98%E2%80%9D%20%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%83%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B9%88
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ตุลาคม 2016, 22:57:54 โดย Master »