โดยหลักการทั่วไปแล้วกัสัมภาษณ์งานนั้น อย่างน้อยๆผู้สมัครพึงที่จะต้องศึกษาข้อมูลประวัติความเป็นมาขององค์กร สินค้าและบริการของกิจการที่ตนเองมาสมัครเป็นเบื้องต้นไว้ด้วย สมัยนี้ข้อมูงเหล่านี้หาได้ไม่ยาก เพียงเสิร์ชเข้าไปดูในเว็บไซต์หรือโซเชียลมีเดียของบริษัท ก็เข้าถึงได้แล้ว
แต่ผู้สมัครงานที่มาสัมภาษณ์งานในโลกของความเป็นจริงก็มีอยู่ด้วยกันหลายประเภท กล่าวไปก็มีทั้งที่ได้รับการเรียดมากรอกใบสมัคร ทำแบบทดสอบและสัมภาษณ์แล้วก็ตระเตรียมความพร้อมสำหรับการสัมภาษณ์งานนั้นไว้เป็นอย่างดี สอบถามอะไรที่ควรทราบก็ตอบได้หมด
แล้วก็ผู้สมัครงานบางรายที่เวลาสัมภาษณ์ก็อาจจะมีความพร้อมในด้านข้อมูลระดับหนึ่ง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับดังว่านี่พอรู้ แต่จะให้ลึกลงไปก็จะไม่ทราบ ตรงนี้เปรียบก็คล้ายกับเปิดไปดูข้อมูลหน้าเว็บไซต์ของบริษัทแล้ว แต่ก็อาจจมีข้อมูลแสดงอยู่อย่างผิวเผิน ไม่ก็มีข้อมูลมากพอแต่ไม่ได้อ่านละเอียดหรือคลิกลงลึกเข้าไปดูที่เนื้อหาที่ซ่อนอยู่ภายใน
มีทั้งผู้สมัครที่เตรียมตัวมาดีและเตรียมตัวมาปานกลางแล้วก็แน่นอนว่าย่อมที่จะมีผู้สมัครงานจำนวนหนึ่่งที่มักจะไม่ได้เตรียมความพร้อมทางด้านข้อมูลอะไรกันมาเลย เป็นประเภทที่สมัครเผื่อเอาไว้ และเมื่อถูกเชิญเข้ามาสมัครสัมภาษณ์งานก็มา ซึ่งตรงนี้เมื่อถูกสัมภาษณ์คำถามที่เกี่ยวข้องในประเด็นมูลมูลพื้นฐานเข้าไปแล้ว ก็มักจะตอบไม่ได้ หรือตอบได้ก็แต่เพียงผิวเผินมากๆ เช่นว่าคิดว่าบริษัทน่าจะทำธุรกิจแบบนี้เพราะดูจากชื่อบริษัทมีคำๆนี้อยู่ด้วยเป็นต้น
การปราศจากข้อมูลโดยสิ้นเชิงหรือเกือบสิ้นเชิงแบบนี้สะท้อนถึงระดับความสนใจในงานนั้นๆของผู้สมัครว่ามีอยู่มากน้อยเพียงใด ทั้งยังอาจสะท้อนถึงลักษณะนิสัยในคอของผู้สมัครรายนั้นๆ ได้ด้วยว่าเป็นผู้ที่กระตือรืล้นและสนใจสิ่งรอบตัวหรือความรู้ทั่วไปมากน้อยแค่ไหน เพราะจริงอยู่ว่าเขหรือเธออาจไม่ได้สนใจงานนั้นอย่างจริงจัง แต่กระไรเลยการมาสมัครสัมภาษณ์งานทั้งที จะสละเวลาศึกษาข้อมูลบริษัทและงานมาบ้างสักหน่อยก็ไม่ได้เลยหรืออย่างไร
ในฟากบริษัทเอง การที่ผู้สัมภาษณ์พบกับให้ผู้ถูกสัมภาษณ์ในลักษณะนี้ ก็ย่อมเป็นธรรมดาที่ระดับความสนใจในตัวบุคคลนั้นๆจะลดน้อยลงลงไปมากโข คำถามที่ว่าคุณพอทราบหรือไม่ว่าบริษัทของเราทำธุรกิจอะไรและมีสินค้าบริการอะไร เป็นคำถามเบสิคที่สุดแล้วสำหรับการสัมภาษณ์งาน ถ้าผู้สมัครหรือถูกสัมภาษณ์ไม่สามารถตอบได้ตอบว่าไม่แน่ใจ ไม่ทราบ ก็อยากเหลือเกินที่จะได้งานนั้นๆไปครอบครอง เว้นแต่บางรายที่มีไหวพริบปฏิภานดี ซึ่งแรกๆมาก็ไม่ได้เตรียมตัวอะไร แต่พอมาถึงแล้วเกิดรู้สึกว่าควรจะทำผลงานการสมัครออกมาให้ได้ดี ดังนั้นเมื่อเจอคำถามแบบนี้ หรือแม้แต่ยังไม่ทันเจอ ก็รีบชิงเลียบเคียงถามผู้ที่มาสัมภาษณ์ก่อนเองอย่าง ทั้งประเด็นบริษัท สินค้า บริการ แนวทางการทำงาน การตลาด ฯลฯ ซึ่งตรงนี้แม้ดูจะไม่ใคร่จะเป้นการเตรียมการเท่าไหร่ แต่ถ้าหากตั้งถามถามได้ดี แสดงออกได้ดี ก็สื่อได้ถึงทักษะทางอีคิวและความสามารถได้อีกแบบหนึ่งเช่นกัน
ย้อนกลับมาที่การเข้าไปศึกษาข้อมูลบริษัทอีกครั้ง ผู้สัมภาษณ์ผู้ที่มาสมัครงานเดี๋ยวนี้บางคนอาจจะตั้งคำถามกับู้สมัครเพิ่มเติมด้วยว่า คุณเคยเข้าไปดูเว็บไซต์ของบริษัทหรือไม่? ซึ่งตรงนี้เป็นคำถามพี่มีนัยยะเหมือนกันนะ เนื่องจากจะเป็นการบอกว่าการเข้าถึงเว็บไซต์ ของกิจการซึ่งยากลำบากเพียงยกมือกระแทกคีย์บอร์ดผู้สมัครยังไม่มีความสนใจก็เป็นที่คาดการณ์ได้แล้วว่าผู้สมัครขาดความสนใจงานมันอย่างจริงจังจังหรือเป็นผู้ที่ไม่ใฝ่รู้ จึงมีแนวโน้มความเป็นได้มากว่า เมื่อถึงเวลาทำงานจริงจังๆๆแล้ว ยากนักที่จะเป็นผู้ที่พัฒนางาน พัฒนาการทำงานและพัฒนาตนเองได้
สัญญาณถึงการพัฒนาตนเองของผู้สมัครงานนั้น มีความสำคัญมากต่อองค์กรยุคใหม่ครับ เพราะปัจจุบันองค์กรมีความต้องการคนที่จะสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้มากขึ้น เนื่องจากปัจจัยแวดล้อมในยุคปัจจุบัน ธุรกิจมีความต้องการคนที่เตรียมพร้อมเสมอสำหรับการที่จะรับมือกับความเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปของสิ่งแวดล้อมต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงมักจะมีคำถามในการสัมภาษณ์เพื่อทดสอบการใฝ่รู้ของผู้สมัครอยู่หลายส่วนหลายตอน เช่นอาจจะถามว่าคุณชอบอ่านหนังสืออะไรบ้าง? เคยเข้าอบรมสัมมนาในเรื่องอะไรบ้างและเมื่อไหร่ ฟรือหากไม่เคยเข้าอบรมสัมมนา ปกติชอบหาความรู้ทางไหน และเรื่องอะไร? ฯลฯ หรือไม่ก็พาผู้สมัครไปทัวร์เรื่องความรู้ที่ไกลงานไกลตัวไปโน่นเลยก็มี ซึ่งถ้าคุณเป็นผู้สมัครในตำแหน่งงานด้านการขาย แน่นอนหากถามว่าหนังสือที่คุณชอบอ่านคืออะไร และมีคำตอบที่บอกว่าเป็นหนังสือด้านการตลาด การขาย รองมาก็เป็นความรู้ทั่วไปตามที่ชอบ ก็ฟังดูจะน่าสนใจและมาถูกทาง แต่ย้ำนะครับว่า ข้อมูลที่ให้นั้นต้องเป็นข้อมูลจริงๆ เพราะหากมีคำถามย้ำลงไปอีกว่าชอบเพราะอะไร หรือให้เล่าสรุุปหนังสือที่ว่า แต่คุณไม่เคยอ่านจจริง หรือมีแต่ไม่ได้อ่าน จากได้ก็จะกลายเป็นเสียหายหนักไป เพราะถ้าคุณชอบจริงๆคุณก็ควรจะสามารถบอกได้ว่า หนังชื่ออะไรบ้าง ผู้เขียนเป็นใคร และดีอย่างไร ลองเปรียบเทียบดูสิครับกับการที่บอกว่าผมไม่ชอบอ่านหนังสือหรือไม่ค่อยมีโอกาศเวลาอ่านหนังสือสักเท่าไหร่ ผลจะแตกต่างกันอย่างไรเมื่อเทียบเคียงกับผู้สมัครรายอื่นเขาให้คำตอบำถามและอธิบายความได้เป็นอย่างดี
ครับที่กล่าวมาเป็นเรื่องของคำถามในการสัมภาษณ์ในมุมเล็กๆมุมหนึ่ง แต่ก็มีความสำคัญและผู้สมัครก็ไม่ควรมองข้าม เพราะสามารถสะท้อนถึงตัวตนของผู้สมัครได้อยู่เหมือนกัน โดยเฉพาะในแง่ของโอกาสในการพัฒนาตนเองในอนาคต แต่การสัมภาษณ์งานโดยรวมก็ยังมีอีกหลายแง่มุม หลายข้อคำถามที่จะเป็นตัววัดผลและตัดสินที่สำคัญ ซึ่งจะขออนุญาตกล่าวในบทความครั้งต่อๆไป
ส่วนท้ายนี้จะพูดถึงเกร็ดการสมัครงานส่งท้ายซึ่งเป็นเรื่องที่ผู้สมัครหรือถูกสัมภาษณ์งานจะต้องระมัดระวังมาก็คือการบอกกล่าวแก่พูดสัมภาษณ์ว่าตนเองมีความสนใจที่จะมาทำงานด้วยเหตุผลที่ว่า "ต้องการหาประสบการณ์" คำกล่าวนี้ฟังดูคนผิวเผินเหมือนจะดีนะครับ แต่ในบางแง่มุม และต่อผู้สัมภาษณ์บางคนอาจจะเข้าใจไม่เหมือนกับที่ผู้สมัครคิด เพราะอาจคิดไปว่าผู้สมัครอาจมองบริษัทเป็นแค่เพียงทางผ่านมาเพื่ออยู่อาศัยทำงานเพียงชั่วครู่ชั่วคราวเพื่อหาประสบประกาศ สมใจแล้วก็จะบินจากไปก็เป็นได้ ยิ่งถ้าไปขยายความด้วยว่าเหตุผลที่อยากมาทำงานที่นี่เพราะอยากหาประสบการณ์สัก 1-2 ปี ด้วยแล้ว การสัมภาษณ์นั้นคงจบลงโดยเร็วครับ ยากเหลือเกินที่กิจการในปัจจุบันหรือผู้สัมภาษณ์เขาจะเห็นพ้องไปด้วยกับคุณ ทั้งที่จริงๆแล้วผู้สมัครเองก็อาจไม่ได้คิดเช่นนั้นจริงๆแต่เป็นการกรอกใบสมัครโโยไม่ทันนึก หรือเผลอพูดออกไปโดยเพราะเป็นคำที่เคยได้ยินกันมา จึงติดปากนำมาใช้ตอบโดยไม่ทันนึกถึงผล
ครับสำหรับฉบับหน้าเราจะมาดูกันเรื่องของในเรื่องอื่นๆที่กิจการกิจการส่วนใหญ่ในปัจจุบันให้ความสำคัญกันจะดูว่าจะมีประเด็นอะไรที่น่าสนใจอีกบ้าง สำหรับฉบับนี้สวัสดีครับ
ที่มา:
http://www.jobdst.com/index.php?option=com_content&view=article&id=333&Itemid=135