ผู้เขียน หัวข้อ: ข้อคิด พิชิตงานใหม่  (อ่าน 814 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
ข้อคิด พิชิตงานใหม่
« เมื่อ: 23 ตุลาคม 2016, 21:55:50 »

     1. ยอมรับข้อด้อยในการ “อ่อนประสบการณ์” ของตัวเอง  แต่ก็อย่าไปคิดว่าเป็นข้อจำกัดเพราะยังมีทางเลี่ยงอื่นให้เราอีกมาก อาทิ การฝึกงาน ฝึกวิชาชีพ ฯลฯ ที่เป็นกลไกสำคัญในการเตรียมความพร้อมให้กับตัวเรา ประสบการณ์ในการฝึกงานจึงเป็นใบเบิกทางที่ดีที่แม้จะไม่ใช่อายุงานจริงๆ เพราะอย่างน้อยก็น่าจะผ่านการทำงานร่วมกับผู้อื่น หรือการทำงานเป็นทีมมาบ้างแล้ว จึงถือว่าพอจะชดเชยกันได้ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับคู่แข่งส่วนใหญ่ที่ยังไม่เคยผ่านการฝึกงานมาก่อน

 

     2.อย่าพลาดเข้าร่วมกิจกรรมหรือชมรมต่างๆ ในมหาวิทยาลัย  เพราะ ทุกวันนี้องค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ ไม่ได้ต้องการเฉพาะคนที่เก่งในด้านวิชาการ แต่ยังต้องเป็นคนที่เข้ากับคนอื่นได้ และมีความคล่องตัวในการทำงานสูง นอกจากนั้น คนที่ผ่านการทำงานร่วมกับชมรมต่างๆ มาก่อน ย่อมมีประสบการณ์หลากหลายกว่า จึงสามารถเอามาประยุกต์ใช้ได้หลายแนวทาง จึงกลายเป็นที่ต้องการขององค์กรสมัยใหม่ เพราะประสบการณ์จากกิจกรรมนอกหลักสูตรเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าเราเป็นคน สนใจใฝ่รู้ และชอบทำงานเป็นทีม


     3.เรื่องของสปิริต ที่ต้องรู้แพ้ รู้ชนะเพราะโลกแห่งการเรียนในทุกวันนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับโลกธุรกิจที่มีการแข่งขันรุนแรง มากขึ้น นักเรียน นิสิต นักศึกษา แต่ละคนจึงต้องแข่งขันกันอย่างเต็มที่ในการเรียน แข่งกันทำกิจกรรม แข่งกันกันประกวดความสามารถต่าง ๆ ในเมื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันไปไม่ได้ สปิริตในการแข่งขันจึงเป็นเรื่องจำเป็น เช่นเดียวกับโลกธุรกิจที่เราต้องแยกบทบาทของผู้แพ้และผู้ชนะให้ออก รวมถึงต้องเรียนรู้ว่าในบางสถานการณ์เราก็ต้องรู้จักยอมแพ้ เพื่อชัยชนะในอนาคต หรือจะเป็นการชื่นชมชัยชนะของตัวเอง ที่อาจทำให้เราฮึกเหิม มีกำลังใจต่อสู้ แต่หากมากเกินไปก็อาจทำให้เราเหลิง หรือหลงตัวเองจนอาจทำให้เราสำคัญตัวเองผิด จึงต้องหาทางสมดุลความรู้สึกทั้งสองส่วนให้ดี


     4.ต้องหาจุดแข็งของเราให้เจอ  และต้องเป็นจุดแข็งที่ตรงกับตำแหน่งงานที่เราสนใจด้วย เช่น ตำแหน่ง วิศวกร บัญชี การบริหาร สิ่งที่องค์กรต้องการคือ ความแม่นยำ ความละเอียดรอบคอบ ที่สำคัญ จุดแข็งเหล่านี้ไม่มีสูตรสำเร็จตายตัว ไม่ว่าจะเป็นความมีชื่อเสียงของสถาบัน คะแนนการศึกษา ภาษาต่างประเทศ ฯลฯ เพราะจุดแข็งของเรา จะเป็นประโยชน์ได้ก็ต่อเมื่อ เป็นจุดแข็งที่สะท้อนถึงตัวตนของเราจริงๆ ซึ่งตรงกับที่องค์กรต้องการ และเป็นจุดแข็งที่แตกต่างจากคนอื่น และจุดที่มองเห็นได้ง่าย นับตั้งแต่เห็นใบสมัครก็เข้าใจได้อย่างชัดเจนแล้ว

 

     5.สร้างความแตกต่างด้วย “ทัศนคติ”  เพราะในการสัมภาษณ์งานกับฝ่ายทรัพยากรบุคคล ซึ่งถือเป็นด่านแรก ต้องเข้าใจว่าแต่ละองค์กรย่อมต้องมีใบสมัครรอให้คัดเลือกมากมาย และผู้สมัครแต่ละคนก็ไม่น่าจะมีความแตกต่างกันมากนัก การสร้างความแตกต่างจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะการสัมภาษณ์งานที่ เราสามารถอาศัยทัศนคติของเราเป็นตัวสร้างความประทับใจได้ เพราะทุกองค์กรต่างก็ต้องการบุคลากรที่กระตือรือร้น และมีความคิดเชิงบวก ซึ่งทำงานด้วยได้ง่ายกว่า ขั้นต่อมา คือการสัมภาษณ์งานกับ ผู้บังคับบัญชา หรือผู้บริหารของหน่วยงานที่เราต้องทำงานกับเขา ซึ่งต้องใช้หลักเดียวกันคือการสร้างความประทับใจ และอย่าลืมขอบคุณเขาด้วยคำพูดหรือจดหมายสั้น ๆ ที่ระบุความประทับใจที่เขาให้โอกาสกับเรา


     6.ลดการตื่นเต้น ด้วยการเตรียมพร้อมให้มากที่สุดก่อนการสัมภาษณ์  ไม่ว่าจะเป็นการหาข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรที่เราจะไปสัมภาษณ์งานด้วย ซึ่งในอินเทอร์เน็ตมีข้อมูลทั้งหมดอยู่แล้ว รวมถึงลักษณะของงานในหน่วยงานที่เราสนใจสมัครไปร่วมงาน สินค้าและบริการของเขา ฯลฯ การมีข้อมูลในมือมาก จะช่วยเสริมความมั่นใจให้กับเราได้อย่างเต็มที่ และแสดงให้ผู้สัมภาษณ์งานได้ เห็นถึงความตั้งใจจริงของเรา ซึ่งช่วยเสริมให้เราดูมีความพร้อมมากกว่าผู้สมัครคนอื่นๆ ทั้งที่แต่ละคนอาจมีจุดเด่นจุดด้อยไม่ต่างกันมากนัก ความเก่ง และความดีของแต่ละคนจึงไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเราจะมีโอกาสได้งานสูง กว่าผู้สมัครคนอื่น แต่การเตรียมพร้อม นับตั้งแต่การเขียนใบสมัครและการสัมภาษณ์ต่างหากที่จะทำให้เรามีความโดดเด่น และแตกต่างจนสร้างความประทับใจให้กับองค์กรที่เราสนใจจะทำงานด้วยได้


 

ที่มา : http://tpa.or.th
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ตุลาคม 2016, 22:00:33 โดย Master »