ผู้เขียน หัวข้อ: การเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน  (อ่าน 808 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ Master

  • [color=Turquoise][i]"อาจจะเหนื่อยล้าและมีผิดหวัง แต่ยังมีพรุ่งนี้ให้เราได้เริ่มกันใหม่ ทุกชีวิตที่อยู่ในเมืองนี้ สักวันก็คงได้สมดังใจ ... "[/i][/color]
  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 487
  • พอยท์: 0
    • ดูรายละเอียด
การเตรียมความพร้อมในการสมัครงาน
« เมื่อ: 23 ตุลาคม 2016, 13:14:34 »
การสมัครงานเหมือนกับการไปเสนอขายสินค้าซึ่งจำเป็นจะ ต้องเตรียมตัวให้ดี  และการเตรียมตัว ก่อนสมัครงานเป็นสิ่งจำเป็น จะต้องเริ่มตั้งแต่ก่อนจบ การศึกษา  ซึ่งในแต่ละปี แต่ละสถาบันจะมีผู้จบ การศึกษาทั่วประเทศ รวมกันแล้วประมาณแสน ๆ คน และรวมกับผู้ที่ตกค้างจากปีก่อน ๆ ที่ยังไม่ได้งานทำ มีอีกมาก และความเชื่อที่ว่าเรียนเก่งหรือเรียนดีแล้วจะหางานง่ายนั้นอาจจะไม่เป็น จริงเสมอไป  ซึ่งในยุค ปัจจุบันการรับคนเข้าทำงานในทุกวันนี้จะพิจารณา สิ่งอื่น ๆ ประกอบด้วย  เช่น บุคลิกภาพ ความคล่องตัว ความอดทน ความเป็นคนมีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นต้น  การเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องราวต่างๆ ในการหางาน ทำหรือสมัครงาน  จึงเป็นการเตรียมความพร้อมที่ดี และควรทำ เข้าทำนองที่ว่า "ฟอร์มดี  มีชัยไปกว่าครึ่ง" ซึ่งการไปหางานหรือการไปสมัครงานเปรียบ  เสมือนกับคุณเป็นเซลล์แมน หรือเซลล์วูแมน  ที่จำเป็นจะต้อง เตรียมความพร้อมในการสมัครงาน โดย คุณจำเป็นจะต้องมีเทคนิค  วิธีการต่างๆ ที่ทำให้ผู้ซื้อ สินค้า (นายจ้าง) พร้อมที่อยากจะได้สินค้า (ตัวคุณ)  เอาไว้ ถ้าคุณทำได้ โอกาสที่คุณจะประสบความสำเร็จในการ หางานทำมีมาก ดังนั้นถ้าท่านเป็นผู้หนึ่งที่ไม่ต้องการตกอยู่ในสถานการณ์ว่า "ตกงาน" ก่อนหางานทำ ควรเตรียมความพร้อมดังนี้
 
           1.  ค้นพบตัวเองให้ชัดเจน
           2.  ติดตามข่าวสาร
           3.  การมองหาแหล่งงาน
           4.  การเขียนเอกสารประวัติย่อ เช่น Resume, จดหมายสมัครงาน,  การเขียนใบสมัคร
           5. การสัมภาษณ์
 
           ซึ่งเมื่อคุณทราบในประเด็นหัวข้อใหญ่ๆ แล้วเรามาดูในแต่ละหัวข้อมีวิธีการเทคนิคอย่างไรบ้าง


            ทำไมจึงต้องมีการรู้จักตนเอง ก็เพราะการหางานคือการ "ขาย" ตนเองชนิดหนึ่งเป็นการเสนอขาย ความรู้ ความสามารถของตัวเราเองให้แก่บริษัท หรือองค์กรใด องค์กรหนึ่งนั่นเอง ใครขายเก่งหรือมี ศิลปะในการขายสามารถทำให้ผู้ ซื้อเกิดความรู้สึกอยากได้ "สินค้า" ชนิดนี้ก็จะได้งานไปทำ
           แต่การที่จะขายของอะไรได้นั้น เราจำเป็นจะต้องรู้คุณภาพสินค้าเสียก่อน  (รู้จักตัวเราเอง)เราจึง จะขายให้ใครเขา ได้ ถ้าเราไม่รู้แม้กระทั่งสินค้านั้นมี  คุณภาพอย่างไร มีจุดเด่นอะไร อยู่ตรงไหน ใช้แล้วได้ประโยชน์อะไร ใครเขาจะมาซื้อ (นายจ้าง)
           ดังนั้น การสมัครงานก็เช่นกัน ถ้าคุณไม่รู้แม้กระทั่งว่าในตัวคุณมีจุดเด่น  ความรู้ ความสามารถ ฯลฯ หรือพูดง่าย ๆ ว่าคุณเก่งทางด้านไหน และคุณจะไป โน้มน้าว ให้คนอื่นเขามาชื่นชม  และต้องการ คุณได้อย่างไร

ขั้นตอนแห่งค้นพบตัวเอง
 
           1. การค้นหาทักษะ (Skills)
               เป็นความสามารถที่ต้องมีและเป็นรากฐานในการทำงานทุกชนิด ไม่มีงานชนิดไหนที่ไม่ต้อง ใช้ทักษะ โดยทักษะ จะแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ
               (1)  ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ เช่น ทักษะในการขับรถ พูดภาษาต่างประเทศ
               (2)  ทักษะที่ติดตัวที่ติดตัวเรามาและสามารถพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่น  การวาดรูป ร้องเพลง
               (3)  ทักษะที่ได้จากสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นบ้าน ที่ทำงาน โรงเรียน เช่น  ทักษะการเข้ากลุ่มเพื่อน ทักษะการเป็นผู้นำ
           ซึ่งในงานแต่ละชนิดเมื่อจำแนกหน้าที่ของงานออกแล้วจะต้องประกอบ ด้วย กิจกรรมหลายอย่าง  ซึ่งแต่ละ กิจกรรมก็จะประกอบไปด้วยทักษะมากมาย เช่น อาชีพครู มีกิจกรรมทางด้านการสอน  บริหาร ค้นคว้า ทักษะมีทั้งการพูด การออกคำสั่ง การฟัง การแสดงออก และการเขียน  เป็นต้น
          2. การสำรวจจุดเด่นของตนเอง
               จุดเด่นของคุณมีผลต่อการหางานมากพอๆ กับทักษะ จุดเด่นนี้เป็นลักษณะทางบุคลิกภาพ ที่ทุกคนมี งานทุกชนิดต้องการคนที่มีบุคลิกบางอย่างที่เด่น เป็นเฉพาะ เช่น งานประชาสัมพันธ์ คุณควรมี บุคลิกภาพที่เขากับคนง่าย รู้จักจัดการเกี่ยวกับคน หรือพนักงานบัญชี คุณก็ควรมีบุคลิกภาพที่ละเอียด รอบคอบ  เป็นต้น
          3.สำรวจความสัมฤทธิ์ผลทั่วไป
              ความสัมฤทธิ์ผลนี้คือ เป็นความรู้สึกประทับใจความสำเร็จไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใด  ๆ ก็ตาม โดยให้นึกถึงสิ่งที่คุณทำแล้วสำเร็จ และประทับใจเหล่า นั้นมาสัก 4  - 5 เรื่อง และเหตุการณ์เหล่านั้น เป็นผลสัมฤทธิ์ของคุณ และนำมาเขียนเป็นผลสรุปของคุณเก็บไว้เป็นข้อมูลไว้เป็นองค์ประกอบในการ สมัครงาน  ด้านหนึ่ง
          4.สำรวจความชอบ และ ไม่ชอบ
              เป็นขั้นตอนของการลองกลับไปคิดทบทวนใหม่อีกครั้งถึงประสบการณ์ สมัยอยู่โรงเรียน  หรือมหาวิทยาลัย หรือช่วงชีวิตที่ผ่านมามีอะไรที่เกิดขึ้นใน ช่วงเหล่า นั้น ที่คุณชอบและไม่ชอบใจบ้างไหม เช่น คุณอาจจะจำครูที่ดุอย่างขาดเหตุผล คุณแม่ที่เคร่งครัดและเจ้าระเบียบ  เพื่อนที่เจ้าอารมณ์ ขอให้จำ บุคลิก ลักษณะ ของบุคคลที่คุณไม่ชอบนี้ไว้ด้วย คุณจะได้รู้ว่าบุคคลประเภทใดที่คุณอยู่ด้วยแล้วไม่มี ความสุข
          5. สำรวจขีดจำกัด
               คนเราทุกคนไม่มีความสมบูรณ์ดีพร้อมไปเสียทุกอย่าง ทุกคนต้องมีข้อบกพร่อง ซึ่งมันอาจเป็น จุดอ่อนที่ยังแฝงอยู่ในบุคลิกภาพของคุณในปัจจุบัน  จุดอ่อนที่จะ เป็นตัวขัดขวางทำให้คุณไม่ประสบ ความสำเร็จเท่าที่ควร โดยคุณจะต้องพยายามทำความรู้จักกับทุกส่วนของบุคลิกคุณอย่างแท้จริง และนำมา เป็น จุดแก้ไข ปรับปรุง หรือเป็นข้อควรระวัง เพื่อคุณจะไปสู่เป้าหมายแห่งความสำเร็จได้  เช่น คุณอาจ เป็นคนที่มีความคิดอ่านที่ดีสมัยอยู่โรงเรียนมัธยม แต่ คุณมักไม่กล้า แสดงตัวหรือแสดงความคิดเห็นให้  ปรากฏ ทำให้คนอื่นรับหน้าที่แทนคุณไป แสดงว่าคุณมีจุดอ่อน คือ ขาดความกล้า  หรือไม่มีลักษณะเป็น ผู้นำ คุณก็นำข้อ นี้ไปปรับปรุงและพัฒนา หรือถ้าไม่ไหวจะเป็นผู้นำก็ต้องหางานในตำแหน่งที่ไม่ ต้อง แสดงความเป็นผู้นำ  ดังกล่าว
           6. สำรวจค่านิยม
               ค่านิยม คือสิ่งที่เรายึดถือว่า ดี งาม สมควรปฏิบัติ เช่น ค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความมั่นคง ความปลอดภัย ความเสียสละ ซึ่งถ้าคุณคิดเพียงว่าแต่ขอ  ให้ได้งาน โดยไม่ตระหนักถึงค่านิยมของตัวเอง และธรรมชาติของงาน  การทำงานนั้นก็จะไม่ได้รับความสุขกับการทำงาน และทำให้ต้องเข้า ๆ ออก ๆ หางาน  ใหม่อยู่ ตลอดเวลา ดังนั้น การรู้จักค่านิยมของตัวเองจึงเป็นหัวใจสำคัญอีกด้านหนึ่งในการ ทำงานเพื่อความสุขของชีวิต
          7. สำรวจความสัมพันธ์ที่มีต่อบุคคลอื่น
               การทำงานทุกชนิดต้องสัมพันธ์กับคน จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละตำแหน่งงาน  ดังนั้น สิ่งที่คุณต้องเข้าใจคือ เราต้องอยู่กับคนไปตลอดชีวิต การ เข้าใจความสัมพันธ์ที่มีต่อกันจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในการอยู่ร่วมกัน และทำงานด้วยกันอย่างมีประสิทธิภาพ
          8. สำรวจสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
               สิ่งแวดล้อมในการทำงานที่นี้ก็คือ สถานที่ตั้งของหน่วยงาน เช่น ใกล้  - ไกล การคมนาคม ต่างจังหวัด หรือกรุงเทพฯ สภาพมลภาวะต่างๆ ลักษณะงาน ซึ่งคุณจะต้องมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับ ความต้องการให้เข้ากับสิ่งที่คุณได้ตามสมควร
          9. ความต้องการเกี่ยวกับเงินเดือน
               ไม่ว่าตัวผู้สมัครงานจะมีประสบการณ์หรือไม่มีประสบการณ์ก็ตาม  การเรียกร้องเงินเดือน เท่าใดนั้น คุณควรจะต้องไปทำการค้นคว้าว่าโดยทั่ว ๆ ไป บุคคลที่จบการศึกษาระดับเดียวกันกับคุณ หรือผู้ที่ทาง บริษัทที่รับเข้ามาในตำแหน่งที่คล้ายกับที่คุณสมัครนั้นเขาได้รับเงินเดือนประมาณเท่าใด  ซึ่งส่วนใหญ่  ถ้าเป็นงานราชการเงินเดือนจะต้องเป็นไปตามวุฒิที่ทางการกำหนด  ไม่มีการต่อรอง แต่ถ้าเป็นบริษัทเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจอาจมีอัตราการจ่ายเงินที่ต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับขนาดความมั่นคงของบริษัท และระบบการบริหารของบริษัท
 
 
            สิ่งที่คนหางานจะต้องตระหนักก่อนสิ่งอื่นใดก็ คือ  คุณจะต้องมีความกระตือรือร้นขวนขวายหา ข่าวสารด้วยความสนใจอย่างจริงจัง เพราะช่วงเวลา ของการโฆษณารับสมัครงานของแต่ละองค์กร ล้วนมีระยะเวลาจำกัด บางองค์กรก็จะระบุวันหมด  เขตรับสมัครเอาไว้ ทำให้เมื่อวันเวลาผ่านไปโอกาส ในการ สมัครงานแล้วได้รับการคัดเลือกไปสัมภาษณ์ย่อมน้อยลงด้วย เนื่องจากในแต่ละปีมีบัณฑิตจบใหม่ จากสถานศึกษา ที่ผลิตออกมาอย่างไม่ขาดสาย ด้วยเหตุนี้  คุณจึงต้องขวนขวายที่จะหาข้อมูลข่าวสาร การรับสมัครงานให้มากที่สุด
          เมื่อคุณได้ข่าวสารการรับสมัครงานและคุณสมบัติ ครบถ้วนที่จะสมัครได้  รวมทั้งคุณพอใจที่จะ ทำงานใน ตำแหน่งนั้น ๆ คุณก็ควรจะสมัครให้เร็วที่สุด  เท่าที่จะทำได้ ไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องรีรอทั้ง ๆ ที่คุณ  มีความพร้อม ในเรื่องเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่ต้องใช้ในการสมัครงานตามที่ระบุไว้ ตรงกันข้ามกลับ เป็นผล ดีกับตัวคุณเสียอีก เพราะองค์กรที่รับ สมัครงานจะเห็นความกระตือรือร้น ความมุ่งมั่น และความ ต้องการทำงานของคุณอย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้รับ สมัครพึงพอใจที่คุณให้ความสนใจกับองค์กรนั้นมากกว่า ผู้สมัครรายอื่น ๆ ที่รอจนเกือบ หมดเขต รับสมัครแล้ว จึงค่อยไปสมัคร นอกจากนั้น การส่งใบสมัคร ไปตั้งแต่เนิ่น ๆ  ทำให้คุณมีข้อ ได้เปรียบกว่าคนอื่นในกรณีที่คุณส่งใบสมัครไปทางไปรษณีย์แล้วเกิดความ ล่าช้าก็อาจเป็นไปได้ว่า  ใบสมัครงานหรือจดหมาย สมัครงาน ของคุณไปถึงที่หมายภายหลังหมดเขครับ สมัครงาน โอกาสที่คุณจะได้งานก็จะลดลงตามไปด้วย
          คุณทราบหรือไม่ว่ามีผู้เชี่ยวชาญในเรื่องการ สมัครงานแนะนำว่า  คนเราถ้าทำงานออฟฟิศเราจะ ต้อง ใช้ เวลาทำงานอยู่ในออฟฟิศถึงวันละ 7 - 8 ชั่วโมง เพราะฉะนั้นคุณก็ควรจะสมัครงานด้วยจดหมาย สมัครงาน หรือกรอกแบบฟอร์มการสมัครงานและส่งใบสมัครงานให้ได้อย่างน้อยชั่วโมงละ  1 ราย หรือวัน ละ 7 - 8 ราย  ในตำแหน่งงานที่คุณมีคุณสมบัติ ครบถ้วน และมั่นใจว่าคุณพอใจจะทำงานในตำแหน่งนั้นๆ  ถ้าคุณได้รับการคัดเลือก
          ถ้าทำแบบนี้ได้ โอกาสที่จะได้งานของคุณย่อมมีสูงกว่าคนที่สมัครงานนาน ๆ ครั้งหนึ่ง แล้วก็คอย อยู่เฉยๆ จนกว่าจะรู้ว่าไม่มีหวังเสียแล้ว จึงค่อยลุกขึ้น แสวงหาข่าวสารรับสมัครงาน แล้วก็เริ่มหาหลักฐาน ใหม่ ส่งใบสมัครหรือจดหมายสมัครงานไปอีกครั้งแล้วก็รอคอยการเรียกไปสัมภาษณ์ คุณจะต้องไม่ลืมว่า คู่แข่งของ คุณมีมากขึ้นทุกวัน แม้แต่วันเดียวก็เถอะถ้าคิดเป็นชั่วโมงอีกล่ะ  และอย่าลืมว่าคู่แข่งขันของ คุณจำนวนมากมีคุณสมบัติทุกอย่างเหมือนที่คุณมีตาม เอกสารหลักฐานด้วยกันทั้งนั้น
          ดังนั้นในระหว่างที่กำลังหางานทำ คุณจึงควรมีเอกสารที่ใช้สำหรับการสมัครงานไว้ให้พร้อม และทำสำเนาเอาไว้หลายชุดจะได้ไม่ต้องเสีย  เวลาหา หลักฐาน ถ้าใครขยันแสวงหาแหล่งรับสมัครงาน ได้มากกว่าคนอื่น ๆ เอาแค่ขยันสมัครงานได้วันละ 4 - 5 แห่งเท่านั้น โอกาสที่จะประสบความสำเร็จ ในการ หางานของคุณก็มีมากยิ่งขึ้น
 
 
            โดยทั่ว ๆ ไป หนทางที่จะเริ่มมองหาแหล่งงานได้นั้นมีหลายวิธี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในจุดที่สื่อ มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรงนี้ไม่ใช่เรื่องยากเลย  ที่คุณจะ หาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับองค์กรที่เปิดรับ สมัครงาน ซึ่งคุณอาจจะเลือกดูได้จากแหล่งต่าง  ๆ เหล่านี้ คือ
 1.  สื่อสิ่งพิมพ์
            สื่อสิ่งพิมพ์ทั้งรายวันและรายสัปดาห์ เป็นสื่อที่คนต้องการหางานทำมักจะมองหาเป็นอันดับแรก โดยสื่อดังกล่าวอาจจะมาในรูปของนิตยสาร รายสัปดาห์ที่ลงข่าวสารเกี่ยวกับการรับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น นิตยสารงานวันนี้  Smart Job หางานหาง่าย หรือมาในรูปของหนังสือพิมพ์ที่ลงโฆษณา  รับสมัครงานโดยเฉพาะ เช่น หนังสือพิมพ์แหล่งงาน งานทั่วไทย  นอกจากนี้ยังมีในรูปแบบของ Section Classified ที่แทรกอยู่ในหนังสือพิมพ์รายวัน  เช่น โลกวันนี้ The Nation Bangkok Post เป็นต้น  โดยสื่อเหล่านี้จะมีข่าวสารเกี่ยวกับการ เปิดรับสมัครงานใหม่ ๆ อยู่เสมอ  ซึ่งนอกจากโฆษณา รับสมัครงาน แล้ว ยังมีบทความต่างๆ ที่ให้ความรู้เกี่ยวข้องกับการสมัครงานที่น่าสนใจอีกด้วย เรียกว่าถ้าคุณต้อง การหางานล่ะก็ สื่อสิ่งพิมพ์มีประโยชน์ต่อ คุณมากทีเดียว
2. สื่ออินเตอร์เน็ต
           ในโลกยุคปัจจุบัน สื่ออินเตอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากในการหางาน โดยผู้สมัครงาน สามารถเข้าไปค้นหาตำแหน่งงานที่  ต้องการได้ จากเว็บไซต์หางานต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมาย  นอกจากจะ ได้ปริมาณตำแหน่งงานที่มากแล้ว เว็บไซต์เหล่านี้ยังให้ประโยชน์ในเรื่องอื่น  ๆ อีก เช่น มีบทความเกี่ยว กับเทคนิคการ สมัครงาน  มีคำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนใบสมัคร และ Resume แถมยังส่งใบสมัครและ  Resume ไปให้กับองค์กรทางอีเมล์ได้ทันทีอีก ด้วย นับว่าเป็นวิธีการที่สะดวกและได้ผลดีไม่แพ้วิธีการ อื่นเลย แต่ก็มีข้อเสียอยู่บ้างว่าในประเทศไทยนั้น สื่ออินเตอร์เน็ตยังไม่ใช่สื่อหลักที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย การสมัครงานทางเว็บไซต์นั้นจึงมีข้อจำกัดที่ว่าข้อมูลของคุณอาจไปไม่ถึง ผู้รับสมัคร เพราะว่าบางบริษัท แม้ว่าจะลงรับสมัครทางอินเตอร์เน็ต แต่อาจ จะไม่ได้นำข้อมูลของผู้ที่สมัครงานทางอินเตอร์เน็ตมาพิจารณา หรือบางครั้งก็มีความผิดพลาดทางเทคนิค ทำให้ใบสมัคร ของคุณไม่สามารถส่งไปถึงผู้รับ  ปลายทางได้ แต่อย่างไรก็ดี สื่ออินเตอร์เน็ตก็ถือเป็นสิ่งที่มีคุณประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบัน 
3. ติดต่อผ่านทางสำนักงานจัดหางาน  ซึ่งมีวิธีการสมัครงานทั้ง  2 แบบ คือ
             - แบบตั้งรับอยู่ที่สำนักงาน โดยมีตำแหน่งงานว่างไว้ให้ดู หรือลงทะเบียนไว้  พร้อมทั้งมี นายจ้าง มาขอคัดรายชื่อ และเรียกตัวสัมภาษณ์ในภายหลัง
            -  แบบเชิงรุกนอกสถานที่ โดยมีการจัด "วันนัดพบแรงงาน" ซึ่งข้อดีของการจัดวันนัดพบ  แรงงาน คือ คุณสามารถยื่นใบสมัครได้กับนายจ้าง โดย ตรงและมีการสัมภาษณ์พูดคุย ศึกษาบุคลิกภาพและ ความสามารถของคุณ ทำให้คุณสามารถแสดงคุณสมบัติของคุณได้เต็มที่ ทำให้คุณมีโอกาสได้งานที่เร็ว กว่าวิธีอื่นๆ
           ซึ่งคุณสามารถใช้บริการของกรมการจัดหางานได้ทั่วประเทศ โดยในกรุงเทพฯ  มีที่ส่วนกลาง E-Job Center และ 10 เขตพื้นที่บริการให้กับคุณ ส่วนต่างจังหวัดติดต่อได้ที่สำนักงานจัดหางานจังหวัด ทั่วประเทศ
4. หน่วยจัดหางานของมหาวิทยาลัย
           แทบทุกมหาวิทยาลัย จะมีหน่วยงานจัดหางานที่สังกัดอยู่ในกองกิจการนิสิต  นักศึกษา ซึ่งหน่วยงาน ที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางหาแหล่งงานให้นิสิต นักศึกษาทั้ง ในระหว่างฤดูร้อน และเมื่อสำเร็จการศึกษา
5. สำนักงาน  ก.พ. สำหรับคุณซึ่งมุ่งเข็มมาว่าจะเป็นข้าราชการ
6. ถามจากญาติสนิทมิตรสหาย
            คุณต้องประกาศให้พี่น้องญาติมิตรเพื่อนฝูงทุกคนรู้ให้ทั่วไปว่า "คุณกำลังต้องการงาน" และถ้าเขา รู้ว่าที่ไหนกำลังเปิดรับสมัคร เขาก็จะได้แจ้งใน  คุณทราบโดยด่วน
7. WALK IN
           WALK IN คือ  การเข้าไปสมัครงานในองค์การที่คุณสนใจโดยตรง โดยไม่สนใจว่าองค์กรนั้น จะเปิดรับพนักงานหรือไม่  วิธีการนี้อาจเป็นทาง เลือกที่ใช้ได้ในบางโอกาส  ในกรณีที่คุณมีความต้องการ ทำงานในองค์กรนั้นจริง ๆ เพราะว่าองค์กรนั้นมีชื่อเสียง  มีความมั่นคง สวัสดิการดี หรือคุณเป็นคน ที่มี โอกาสเลือกงานได้มากกว่าคนอื่น เพราะไม่เดือดร้อนเรื่องเงิน  แต่ก็มีข้อเสียที่ว่าใบสมัครของคุณอาจจะ ไม่ได้รับการพิจารณา ถ้าองค์กรนั้น ๆ มีนโยบายที่ จะไม่รับคนในตำแหน่งที่คุณสมัครเป็นเวลานาน แต่ก็มีข้อดีคือ ถ้าคุณได้รับคัดเลือกให้มาสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์งาน แล้วคุณผ่านการพิจารณา คุณก็ จะได้ ทำงานในตำแหน่งและองค์กรที่คุณต้องการจริง ๆ  แต่การ WALK IN นี้ในความเป็นจริงอาจเป็นทาง เลือกที่ไม่ประสบผลสำเร็จมากนัก
 
   
 1. การวิเคราะห์เกี่ยวกับตนเอง
      1.1 ย้อนไปดูทักษะตัวเราเองและเรื่องอื่น  ๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น และนำมาดูว่าคุณสมบัติต่าง ๆ นั้น คุณสามารถใช้ได้มากในงานชนิดใดบ้าง
      1.2  เมื่อเลือกอาชีพได้ตรงทักษะและคุณสมบัติของคุณแล้วต้องมาดูว่า
               -  คุณอยากทำงานกับหน่วยงานใด (รัฐบาล เอกชน รัฐวิสาหกิจ) ขนาดอะไร  (ใหญ่ กลาง เล็ก)
               -  สถาบันตั้งใหม่หรือดำเนินกิจการมานานแล้ว
               -  มีความก้าวหน้า (เร็ว ช้า)
               -  สถานที่ตั้ง (ในเมือง ต่างจังหวัด)
          2. การวิเคราะห์หน่วยงานที่คุณสนใจ
               สิ่งที่คุณควรรู้เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาเกี่ยวกับบริษัทเหล่านั้นก่อนการก้าวไปสู่ขั้นตอน สมัครงานคือ
                     -  ความมั่นคงของบริษัท
                     -  สวัสดิการและรายได้
                     -  สิ่งแวดล้อมในการทำงาน
                     -  บรรยากาศของการทำงาน
                     -  ค่านิยมและเป้าหมายในการทำงาน
                     -  ความก้าวหน้า
         ซึ่งคุณจะเห็นแล้วว่า การศึกษาเกี่ยวกับบริษัทที่คุณสนใจสมัครเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการได้งาน ของคุณ  เป็นขบวนการที่คุณจะต้องค้นคว้าสืบหา ข้อมูลให้ได้มากที่สุด ไม่แพ้การวิเคราะห์ตนเองเลย ก่อนที่คุณจะตกลงใจสมัครงาน
 

ที่มา: http://province.doe.go.th/chanthaburi/L5-1.htmlhttp://province.doe.go.th/chanthaburi/L5-1.html
       
 
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ตุลาคม 2016, 13:47:53 โดย Master »